โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง เช็คก่อนป้องกันอย่างไรให้ห่างไกล

      ยิ่งอายุมากร่างกายก็เสื่อมตามวัย แต่โรคหลอดเลือดสมองไม่ได้ขึ้นกับคนสูงอายุเท่านั้น คนทุกเพศทุกวัยมีความเสี่ยงเป็นได้เช่นกัน เกิดจากสาเหตุที่เลือดไม่เลี้ยงสมองไม่ทันเพราะมีการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้สมองเสียหายหรือตายอย่างรวดเร็ว เกิดขึ้นหลายแบบทั้งหลอดเลือดสมองตีบ-ตัน แตกที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือจากอุบัติเหตุ ต้องศึกษาวิธีรักษา และมีวิธีการป้องกันสำหรับโรคนี้อย่างไรบ้าง

สารบัญเนื้อหา

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง

อาการเตือนเบื้องต้น

การป้องกันความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดสมอง

วิธีรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

สรุป

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง

        การที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอจนทำให้สมองหยุดทำงานเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง แต่โรคนี้สามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีสาเหตุ แตกต่างกันไปดังนี้

       กลุ่มสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) พบได้ถึง 80% เกิดจากหลอดเลือดเสื่อมสภาพและมีคราบไขมันและหินปูนที่เกาะผนังหลอดเลือดจนหนาหรืออุดรูของเลือดทำให้เส้นเลือกค่อยๆตีบแคบลงไม่สามารถลำเลียงเลือดได้ แบ่งออกได้เป็น2ชนิดย่อย หลอดเลือดสมองตีบและสมองขาดเลือดจากการอุดตัน

      หลอดเลือดในสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) เกิดจากความผิดปกติหรือเซลล์สมองได้รับบาดเจ็บจากการมีเลือดคั่ง ทำให้เลือดออกในสมอง มักพบในผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง การแข็งของเลือดผิดปกติ เกิดจากโรคเลือด โรคตับ การได้รับสารพิษ การใช้สารเสพติด แบ่งออกได้2ชนิด หลอดเลือดสมองโป่งพองและหลอดเลือดสมองผิดปกติ

       ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient ischemic attack) คล้ายกับสมองขาดเลือด เลือกไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ชั่วคราวแต่ไม่เกิน 24 ชม. และจะหายภายใน 30 นาที

        การเกิดอุบัติเหตุที่ได้รับการกระทบการเทือนสมองอย่างรุนแรง รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองด้วยเช่นกัน

กลับสู่สารบัญ

อาการเตือนเบื้องต้น

         ความรุนแรงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่สมองถูกทำลาย และภาวะที่เกิดขึ้นจากโรคหลอดเลือดสมองแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน และมีความรู้สึกอื่นร่วมด้วยซึ่งเกิดจากโรคประจำตัว เช่น

  • รู้สึกอ่อนแรงหรือชา คล้ายอัมพฤกษ์-อัมพาต แต่เกิดขึ้นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
  • มุมปากตก ใบหน้า-ปากเบี้ยวอมน้ำไม่อยู่ น้ำไหลออกจากมุมปาก
  • ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ พูดไม่เข้าใจ
  • ปวดหัว วิงเวียนศีรษะอย่างเฉียบพลัน
  • ทรงตัวได้ไม่ค่อยดี เช่น เดินโคลงเคลง เดินเซ หกล้มง่าย
  • สูญเสียการมองเห็น ตาบอดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เห็นภาพซ้อน มองเห็นภาพครึ่งเดียว

อย่างไรก็ตามหากมีอาการ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นไม่อยากให้ปล่อยทิ้งไว้ แต่ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะหากมาถึงโรงพยาบาลแล้วจะได้รับดูแล และลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ความพิการและเสียชีวิตได้ทันที

กลับสู่สารบัญ

ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองเป็นสัญญาณอย่างหนึ่ง หากปล่อยไว้นานเป็นโอกาสเสี่ยงเป็นอัมพาตได้

การป้องกันความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดสมอง

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง

  • รับประทานอาหารที่มีระโยชน์ครบ5หมู่ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีกากใยและวิตามินสูง เช่น แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ องุ่น มะเขือเทศ ช็อคโกแลต ปลา ชา ข้าวโอ๊ต ฯลฯ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารหวานจัด เค็มจัด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-4 วัน ครั้งละ 30นาที ช่วยควบคุมน้ำหนัก ความดันโลหิต คอลเลสเตอรอลอีกด้วย
  • งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  • หมั่นไปพบแพทย์และเข้าการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดสมอง

  • ควบคุมระดับคอลเลสเตอรอล ตรวจไขมันในเลือดทุก 6-12 เดือน
  • ควบคุมความดันโลหิต ควรตรวจความดันอย่างสม่ำเสมอ ความดันปกติต้องน้อยกว่า 120/80
  • ควบคุมน้ำตาลในเลือด ถ้าผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย ควรมีค่าน้ำตาลในเลือดไม่เกิน60-100ในขณะที่ไม่ได้รับประทานอาหาร

         การป้องกัน ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองเริ่มต้นที่ตัวเอง รู้จักควบคุมไขมัน น้ำตาล ความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลตนเองเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่ดี

กลับสู่สารบัญ

วิธีรักษาเบื้องต้น

         ระดับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ดังนั้นควรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการ แล้วรีบเข้ารับคำแนะนำวิธีรักษา จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพราะนี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้นานสมองจะเกิดความเสียหายมากจนพิการหรือเสียชีวิตได้

           เกิดภาวะสมองขาดเลือด ใช้ยาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์และรับประทานยาที่แพทย์สั่งเท่านั้นไม่ควรซื้อยาเอง เพราะยาบางชนิดใช้ในระยะสั้นและยาบางชนิดต้องใช้อย่างต่อเนื่อง เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านตัวแข็งของเลือด เป็นต้น ถ้ายังไม่หายดี จะใช้การผ่าตัดเปิดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ หรือผ่าตัดเพื่อกำจัดลิ่มเลือด

         หากเกิดภาวะเลือดออกในสมอง ต้องรีบเข้ารับการผ่าตัดเพื่อกำจัดลิ่มเลือดในสมองและซ่อมแซมเส้นเลือกที่แตกในสมอง หลังจากผ่าตัดเสร็จ ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแล เช่นการให้อาหารทางสายยาง ให้อาหารเสริม ใช้เครื่องช่วยหายใจ แล้วแต่ผู้ป่วย

         ระหว่างที่ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองต้องเข้ารับการรักษาก็ต้องทำกายภาพบำบัดร่วมด้วยเพื่อฟื้นฟูความบกพร่อง ไม่ให้ทรุดหนักลงไปมากกว่านี้ นอกจากฟื้นฟูแขนขาแล้ว การฝึกพูด ฝึกกลืนอาหาร ก็เป็นส่วนหนึ่งเพื่อให้ผู้ป่วยได้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิมที่สุด

กลับสู่สารบัญ

สรุปสาเหตุและอาการของหลอดเลือดสมอง

         เพราะโรคหลอดเลือดสมองไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในผู้สูงอายุเท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งในร่างกาย ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

สิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือ ห้ามซื้อยามารับประทานเอง ซึ่งยาบางชนิดอาจจะไม่มีขายตามร้านค้าทั่วไป และควรกินยาอย่างต่อเนื่องหรือหยุดกินยาเพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มการป้องกัน ไม่ให้กลับมาเป็นอีกครั้ง

กลับสู่สารบัญ