เมื่อความผิดปกติจากสมองไม่ได้ทำให้เป็นสมองเสื่อมอย่างเดียว ยังมีภาวะแทรกซ้อนตามมานั่นคือ โรคพาร์กินสัน ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกะทันหันเหมือนโรคอื่นมันจะค่อยแสดงอาการ ออกมากอย่างช้าๆและส่งผลในการใช้ชีวิตประจำวันเคลื่อนไหวร่างกายได้ลำบาก
สารบัญเนื้อหา
พาร์กินสันเทียมต่างจากพาร์กินสันแท้ยังไง
โรคพาร์กินสันคืออะไร
คือความผิดปกติที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลางหรือเซลล์สมอง จนเกิดทำให้ร่างกายเกิดการสั่น เกร็งหรือเคลื่อนไหวได้ไม่ปกติเหมือนเดิม สูญเสียการทรงตัว ไม่ได้เกิดขึ้นกะทันหันแต่สมองจะค่อยเสื่อมลงช้าอย่างน้อย4-10ปี
สังเกตอาการของโรคพาร์กินสัน
- นิ้วมือ นิ้วเท้าสั่น
- แขน ขาสั่น
- เคลื่อนไหวช้า
- เสียงพูดแผ่วเบา
โดยทั่วไปโรคพาร์กินสันจะไม่แสดงออกอย่างทันที จะค่อยๆแสดงออกมาทีละน้อย ส่วนจะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีโรคประจำตัว รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
แต่ลักษณะที่สังเกตเห็นได้ชัดที่สุดคือ การสั่น สั่นที่นิ้ว มือ แขน ขา ในขณะที่ไม่ได้เคลื่อนไหว โดยเฉพาะนิ้วโป้งและนิ้วชี้สั่นจนควบคุมไม่ได้และยิ่งสั่นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว
เคลื่อนไหวช้า ทำอะไรก็ช้าลงไปหมด ไม่รู้สึกคล่องแคล่วเหมือนเดิมและกล้ามเนื้อเกร็ง โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อแขน ขา ในขณะที่ไม่ได้เคลื่อนไหวอะไร ทำให้การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันได้ลำบาก ทรงตัวไม่ค่อยอยู่ ยืนตัวงอ หลังค่อม ท่าเดินจะแปลกไป เดินได้แค่ก้าวสั้นๆหรือเดินลากเท้าทำให้มีโอกาสหกล้มมากขึ้น
เวลาพูดจะรู้สึกว่าเสียงพูดเบาแผ่วลงหรือพูดเร็วจนเกินไป และจะมีปัญหาด้านการเขียนปัญหาเนื่องจากมือหรือแขนสั่นทำให้เขียนอะไรได้ค่อนข้างลำบาก
หรืออาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ท้องผูก ท้องอืด ความจำไม่ค่อยดี ปัสสาวะบ่อย เวียนหัวบ้างเป็นบางเวลา ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ซึมเศร้า วิตกกังวลตามมา
พาร์กินสันเทียมต่างจากพาร์กินสันแท้ยังไง
พาร์กินสันเทียม จะคล้ายกับโรคพาร์กินสัน แตกต่างกันที่สาเหตุ เพราะพาร์กินสันเทียม จะเป็นมาจากการรับประทานยานอนหลับ ยารักษาโรคเส้นเลือกในสมอง ไทรอยด์ต่ำ เป็นต้น
หากวินิจฉัยจริงๆแล้วจะพบว่า พาร์กินสันเทียม นั้นจะแสดงออกมาชัดเจนว่ามีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวเป็นหลัก เกร็ง กระตุก แต่จะมีรู้สึกสั่นเพียงเล็กน้อย ซึ่งต่างจากพาร์กินสันแท้ที่มีอาการสั่นและจะหยุดสั่นเมื่อไม่เคลื่อนไหว
สาเหตุ
ยังไม่สามารถระบุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไรกันแน่ แต่มี 4 ปัจจัยเสี่ยง ที่มีโอกาสทำให้เป็นโรคพาร์กินสันได้ ได้แก่
ปัจจัยเสี่ยง ทางร่างกาย
- ความเสื่อมของสมองลดลง เนื่องจากเซลล์สมองที่เป็นตัวสร้างโดพามีนซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายมันตายหรือลดลง จึงไม่สามารถสร้างโดปามีนได้เพียงพอ (โดยปัจจัยเสี่ยงนี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุตั้งแต่65ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง) ซึ่งสาเหตุ ที่ทำให้เซลล์สมองเสื่อมหรือลดลงเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
- ผู้ป่วยที่เป็นหลอดเลือดสมองอุดตันก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินเหมือนกันเพราะเซลล์สมองที่สร้างโดปามีนมีจำนวนน้อยหรือหายไปหมด
- สมองขาดออกซิเจน เช่น การจบน้ำ ถูกบีบคอ มีการอุดตันในระบบทางเดินหายใจ
- ได้รับอุบัติเหตุทางสมองที่มาจากศีรษะถูกกระทบกระเทือน หรือมีภาวะสมองอักเสบ
ปัจจัยเสี่ยง ทางสภาพแวดล้อม
สัมผัสและได้รับสารเคมีหรือสารพิษบางอย่างที่ไปทำลายเซลล์สมองส่วนที่โดปามีนอยู่ ไม่ว่าจะมาจากการสูดดมหรือรับประทานเข้าไป เช่น ดื่มน้ำที่ไม่สะอาดหรือจากบ่อน้ำ ได้รับสารแมงกานีส พิษจากสารคาร์บอนมอนนอกไซด์ รวมถึงสัมผัสยาฆ่าแมลง เป็นต้น หรืออาศัยอยู่ในเขตธุรกันดาร
ปัจจัยเสี่ยง จากยา
การรับประทานยากล่อมประสาท ยานอนหลับหรือยาลดความดันโลหิตที่ออกฤทธิ์ต่อต้านการสร้างโดปามีน ทำให้จำนวนโดปามีนลดลง
สาเหตุ หลักๆที่ทำให้เป็นโรคพาร์กินสันคือ โดปามีน มีจำนวนลดลงหรือหายไปหมด เพราะตัวนี้จะอยู่ในเซลล์สมองและเป็นตัวคอยทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวหลายอย่างในร่างกาย หากโดปามีนลดลงการควบคุมร่างกายก็จะลดลงไปด้วย
ระยะของโรคพาร์กินสัน
มีทั้งหมด 5 ระยะได้แก่
ระยะที่1 เริ่มสั่นเล็กน้อย เพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ
ระยะที่2 เริ่มสั่นทั้ง 2 ข้าง ลำตัวเริ่มโค้งงอเล็กน้อย
ระยะที่3 สั่นทั้ง 2 ข้าง ทรงตัวลำบากต้องมีคนช่วยดูแลหรือพยุงเป็นบางครั้ง
ระยะที่4 สั่นทั้ง 2 ข้างหนักมากจนเริ่มช่วยเหลือตัวไม่ได้ และจำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะสั่นทั้ง 2 ข้างอย่างรุนแรง ไม่สมารถช่วยเหลือตนเองหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ จนต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงโดยที่ไม่มีการขยับเขยื้อนทำให้ร่างกายอ่อนแอและมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา
การรักษาโรคพาร์กินสัน
มีวิธีการรักษา 3 ประเภท ได้แก่
การรักษาด้วยยา
จะได้ผลกับผู้ป่วยที่เป็นระยะเริ่มต้นหรือระยะกลาง(ระยะที่1-3) รับประทานยาเพื่อรักษาด้วยการทดแทนโดปามีนที่ขาดไปให้เพียงกับปริมาณความต้องการของร่างกาย ซึ่งการใช้ยาแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับบุคคล อาการ และการวินิจฉัยของแพทย์
หลังจากที่รับประทานยาในช่วงแรกจะเริ่มให้ยาตัวใดตัวหนึ่งรับประทานก่อน แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานจะเกิดการดื้อยา จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้นและต้องใช้ยาตัวอื่นร่วมด้วย หากใช้ไปนานแล้วผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ซึมเศร้า ประสาทหลอน ต้องหยุดให้ยาแล้วเปลี่ยนไปใช้วิธีการรักษาอื่นช่วย
การรักษาด้วยการบำบัด
นอกจากการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว ผู้ป่วยควรต้องได้รับการฝึกฝนร่างกาย ได้ใช้กล้ามเนื้อทำกิจกรรมเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้และยังช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีกด้วย แต่กายภาพบำบัดจำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด วิธีการบำบัดได้แก่
- ฝึกจัดท่าทางการยืนของตัวเอง ต้องยืนตัวตรง คอไม่เอียง ไหลไม่งอ
- การฝึกเดิน ยืนตัวตรงแล้วค่อยๆก้าวขาให้พอดี(ไม่สั้นหรือยาวเกินไป) เอาส้นเท้าลงเต็มฝ่าเท้า(อย่าเดินแค่ปลายเท้า) ถ้าผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ไม่เท้า แนะนำให้แกว่งมือขึ้น-ลงเล็กน้อยไปด้วย เพื่อช่วยควบคุมการทรงตัว
การรักษาด้วยการผ่าตัด
หากทำการบำบัดแล้วไม่ได้ผลหรือผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันระยะสุดท้ายแล้ว จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด แต่จะผ่าตัดแบบไหนละ? นั่นขึ้นอยู่แพทย์วินิจฉัยออกมา ใช้วิธีการผ่าตัดโดยใช้วิธีการกระตุ้นไฟฟ้าที่สมอง หรือผ่าตัดโดยการเอาขั้วไฟฟ้าเข้าไปอยู่ในสมอง ซึ่งการผ่าตัดจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และเป็นเพียงแค่หยุดอาการ ของโรคพาร์กินสันชั่วคราวเท่านั้น แต่ไม่สามารถให้หายขาดได้
วิธีดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
- ออกกำลังกายหรือบริหารร่างกายเพื่อป้องกันข้อติด เช่น แกว่งแขน เดินก้าวเท้ายาว ถ้าเป็นระยะเริ่มต้นผู้ป่วยยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ แนะนำให้ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นรำ รำไทเก็ก เป็นต้น อ่านวิธีการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
- จัดบ้านให้ปลอดภัยเพื่อระมัดระวังอุบัติเหตุภายในบ้านต้องไม่มีของวางเกะกะ พื้นไม่ลื่นหรือเปียกน้ำ อ่านวิธีการจัดบ้านสำหรับผู้สูงอายุ
- เลือกรับประทานอาหาร ในปริมาณที่พอเหมาะเน้นจำพวกผัก ผลไม้ที่มีกากใยและดื่มน้ำให้มากอย่างน้อย6-8แก้ว เพื่อแก้ปัญหาท้องผูก หลีกเลี่ยงประเภทโปรตีน อาหารมันๆที่มีคอลเลสเตตอรอลสูง ชา กาแฟ บุหรี่รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นระยะสุดท้ายจะมีปัญหาเรื่องการกลืนจึงเลือกอาหาร ที่เคี้ยวง่าย และเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน อ่านอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
- ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจและคอยดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่เพียงลำพัง เพราะนอกจากสภาพจิตใจแย่ลงแล้ว ผู้ป่วยยังเคลื่อนไหวไม่สะดวกอีกด้วย
สรุปปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุหรือผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุกระทบกระเทือนทางสมอง ทำให้โดปามีนที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อร่างกาย และโรคนี้ไมใช่โรคติดต่อ อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาเพียงเล็กน้อย ดังนั้นควรดูแลเอาใส่ใจผู้ป่วยเพราะผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ปกติ หากปล่อยไว้นานอาจจะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงเลยก็ได้ครับ