เคยได้ยินหลายคนพูดว่า “ปวดหัวหรือปวดไมเกรน” กันบ่อยๆ หากใครเป็นอาการ นี้จะต้องทุกข์ทนทรมานจากความปวดเพราะถือเป็นโรคร้ายแรงอย่างมาก บางรายปวดข้ามวันข้ามคืนจนนอนหลับไม่สนิท ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย หากเป็นบ่อยขึ้นจะทำให้เสียสุขภาพจิตได้ ดังนั้นควรศึกษาวิธีและทำความเข้าใจรับมือป้องกันดีกว่าครับ
สารบัญเนื้อหา
ไมเกรนคืออะไร
เป็นโรคที่ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดจาก ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าในสมอง ทำให้สมองถูกกระตุ้นไวกว่าปกติ คลื่นไฟฟ้าจะถูกส่งต่อไปทั่วสมองอย่างช้าๆ ทำให้การไหลเวียนของหลอดเลือดในสมองเปลี่ยนแปลงไป จนหลั่งสารบางชนิดส่งผลให้หลอดเลือดแดงในสมองมีการบีบและขยายตัวทำให้มีรู้สึกปวดศีรษะ
อาการ
จุดสังเกตเด่นๆของโรคไมเกรนคือ จะเริ่มปวดหัวข้างเดียว ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะแรก
จะเกิดขึ้นก่อนภาวะปวดศีรษะประมาณ 1-2 วัน สังเกตจากท้องผูก อารมณ์แปรปรวน รู้สึกหิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย หาวบ่อย หรืออาจจะมีความผิดปกติเพิ่มเติมด้านการเคลื่อนไหว พูดลำบาก กล้ามเนื้อรู้สึกอ่อนแรง มือชา เท้าชา
ระยะที่2 หรือระยะออร่า
จะเกิดก่อนช่วงที่เป็นไมเกรนแต่ไม่ได้เป็นกันทุกคน สังเกตจากสายตาเริ่มแย่ลง มองเห็นแสงวาบ มองแสงจ้าไม่ได้ สายตาพร่ามัว เริ่มปวดตาหรือบริเวณเบ้าตา แต่จะมาเป็นช่วงสั้นๆประมาณ 5-20 นาทีและมันจะเป็นๆหายๆ
ระยะที่3
รู้สึกปวดศีรษะข้างเดียวแล้วค่อยๆลุกลามไปทั้ง 2 ข้างเหมือนมีการบีบรัด หรือบางรายอาจจะมีความรู้สึกอยากคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเหมือนจะเป็นลมและจะแย่ลงอย่างมากเมื่อร่างกายมีการเคลื่อนไหว โดยส่วนใหญ่จะรู้สึกปวดศีรษะประมาณ 8-12 ชั่วโมง หากไม่รีบรักษาแล้วปล่อยให้เป็นระยะรุนแรงจะปวดนานถึง 2-3วัน
ระยะสุดท้าย
เป็นอาการ หลังจากหายจากการปวดหัวแล้ว แต่จะยังรู้สึกมึนงง อ่อนเพลีย หมดแรง อารมณ์แปรปรวน การได้ยินและการมองเห็นผิดเพี้ยน
แต่อาการ ปวดหัวข้างเดียวไม่จำเป็นจะต้องเป็นไมเกรนไปซะหมดทีเดียว
บางทีอาจจะเกิดจาก สาเหตุอื่น เช่น คอตกหมอน เนื้องอก เป็นต้น
ใครมีโอกาสเสี่ยงเป็นไมเกรน
โดยเฉลี่ยผู้ชายจะพบน้อยกว่าผู้หญิงแต่เมื่อเป็นขึ้นมาจะรุนแรง มากกว่า ส่วนใหญ่พบบ่อยในผู้หญิงช่วงวัยสาวหรือช่วงที่มีประจำเดือน อายุประมาณ 15-40 ปีที่มีความเครียด วิตกกังวลหรือต้องใช้ความคิดเป็นอย่างมาก
เมื่ออายุมากขึ้นความเสี่ยงจะลดน้อยลง และไมเกรนจะไม่พบในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ หากผู้สูงอายุที่มีอาการ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง มักจะมีเกิดจาก โรคประจำตัวหรืออย่างอื่น
ไม่เกรนเกิดจากอะไร
- ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเพศหญิงที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือนหรือหมดประจำเดือน ระหว่างตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิดจะมีความรุนแรง และปวดมากกว่าในช่วงปกติ
- รับประทานอาหาร ไม่ตรงเวลา หรือทานของบางชนิด เช่น ชีส ไวน์แดง ผงชูรส สารกันบูด ชา กาแฟ ช็อคโกแลต รวมถึงแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- ร่างกายขาดน้ำ ดื่มน้ำน้อย
- ออกกำลังกายหักโหมเกินไป
- สภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้า เสียงดัง กลิ่นฉุนต่างๆ ความชื้น อากาศร้อน ตากแดด ฝุ่นควัน อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
- นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ อดนอน นอนน้อยหรือนอนมากเกินไป
- พันธุกรรมมีความเสี่ยงมากกว่า
- ความเครียด วิตกกังวล ความโกรธรวมถึงภาวะซึมเศร้าจะมีโอกาสปวดไมเกรนมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพจิตดี
โดยปัจจัยสิ่งกระตุ้นเหล่านี้จะส่งผลในแต่ละคนไม่เหมือนกัน ให้ลองสังเกตและจดบันทึกตนเองว่าก่อนเป็นไมเกรน
วิธีการรักษาไมเกรน
หลักๆคือ การให้ยา เพราะโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังยังไม่มีวิธีทำให้หายขาด จึงมีเพียงวิธีที่ทำให้ทุเลาลงเท่านั้น ด้วยการใช้ยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสม ดังนี้
ไม่ต้องใช้ยา เช่น การนวดบำบัด กดจุด ประคบเย็น ประคบร้อน หรือการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นตัวกระตุ้นให้เป็นไมเกรน
สำหรับคนที่เป็นระยะเริ่มต้นหรือเป็นไม่มาก นานๆเป็นที ให้ซื้อยาแก้ปวดพวกยาแอสไพริน พาราเซตามอล ซึ่งยาพวกนี้อาจจะไม่ได้ผลกับคนที่เป็นบ่อยๆจึงต้องใช้ยาที่แรงขึ้น ถ้าหากรับประทานมากเกินไปอาจจะกัดกระเพาะได้
ส่วนคนที่เป็นบ่อย(มากกว่า 2 ครั้ง/เดือน) เช่นยากลุ่ม beta-blockers ยากลุ่ม antidepressants ยากลุ่ม Calcium Channel blocker และยาแก้ไมเกรนโดยเฉพาะ เช่น sumatriptan แพทย์จะจัดยากลุ่มพวกนี้ให้และต้องรับประทานต่อเนื่องเพื่อช่วยบรรเทาได้
**แต่หากรับประทานยาพวกนี้อาจจะมีผลข้างเคียงร่วมด้วย ซึ่งยาแก้ไมเกรนแต่ละชนิดจะมีผลข้างเคียงแตกต่างกันไป เช่น ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน กัดกระเพาะ เป็นต้น**
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่อยากทานยาทุกวัน ให้ทานเฉพาะตอนรู้สึกปวดหัวแล้วเน้นเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันตนเองดีกว่าครับ เพราะเนื่องจากแต่ละคนจะมีความรู้สึกแตกต่างกันไปดังนั้นจึงต้องเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมแต่ละบุคคล
วิธีป้องกันเตรียมรับมือ
- รับประทานอาหาร ให้ตรงเวลา
- หลีกเลี่ยงอาหาร ประเภทยีสต์ ผ่านการปรุงแต่ง ใส่ผงชูรสหรือสารกันบูด รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีนด้วย
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
- ดื่มน้ำบ่อยๆ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ3-4 วัน
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น มีแสงจ้า เสียงดัง อากาศร้อน อบอ้าว มีฝุ่นควัน กลิ่นบุหรี่ เป็นต้น
- ควรละสายตาจากจอคอมพิวเตอร์เมื่อรู้สึกปวดตาหรือทุกๆครึ่งชั่วโมง
- ทำกิจกรรมที่ชอบเพื่อผ่อนคลายความเครียด
- เมื่อรู้สึกว่าจะเป็นไมเกรน ให้นอนพักพร้อมกับประคบน้ำเย็นและนวดบริเวณต้นคอ จะช่วยบรรเทาลงได้
**สำหรับคนที่เป็นบ่อยๆควรพกยาแก้ไมเกรนติดตัวไว้อย่างน้อย 1 ชุด**
เป็นไมเกรนห้ามกินอะไร
เน้นทานผัก ผลไม้ ถั่ว ปลา ขิง ธัญพืชที่ไม่ขัดสี
ควรหลีกเลี่ยง ขนมปังจากแป้งโฮลวีต พิซซ่าที่มียีสต์ ผงชูรส น้ำตาลเทียม และห้ามกินผลไม้บางชนิด เช่น องุ่น ส้ม พลัม มะละกอ กล้วยสุกงอม เนื้อวัว เนื้อไก่เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ช็อคโกแลต กาแฟ โกโก้ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สรุปวิธีบรรเทาไมเกรน
การรับประทานยาแก้ไมเกรนเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ทุเลาลง ถ้าหากรู้จักวิธีป้องกันและรับมือเตรียมพร้อมเมื่อเป็นขึ้นมาจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงมากขึ้น อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีไหนควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งและไม่ทานยาสุ่มสี่สุ่มห้าเองนะครับ