อวัยวะที่สำคัญที่สุดคือ“หัวใจ” เป็นอวัยวะสิ่งเดียวที่ทำงานตลอด แต่ในปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โอกาสที่จะป่วยเป็นโรคนี้สามารถเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย เพราะไม่คอยสังเกตอาการ ดูแลรักษา หรือแม้กระทั้งบางชนิด ก็มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อยู่แล้วอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือโรคทีเกี่ยวข้องกับตามมาทีหลัง
สารบัญเนื้อหา
ความผิดปกติของโรคหัวใจแต่ละชนิด
วิธีป้องกัน ห่างไกลจากโรคหัวใจ
โรคหัวใจคืออะไร?
หัวใจของมนุษย์มี4ห้อง เป็นอวัยวะที่สูบฉีดเลือดไปส่วนต่างๆของร่างกาย แต่หากหัวใจทำงานผิดปกติขึ้นมาล่ะ มีสาเหตุบางอย่างที่วินิจฉัยว่าเป็น“โรคหัวใจ” หมายความว่ามีผลกระทบต่อร่างกายของเราในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน
ความผิดปกติของโรคหัวใจแต่ละชนิด
หัวใจคนเราไม่ได้ทำงานเป็นปกติทุกวัน อาจจะพบความบกพร่อง ความผิดปกติที่เกิดจาก การทำงานของหัวใจ ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจสามารถแบ่งออกได้หลายอย่าง เรามาทำความรู้จักเพิ่มเติมกันดีกว่าครับ
- หลอดเลือดหัวใจ ไขมันสะสมในหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุหลอดเลือดชั้นในขยายตัวหนาขึ้น หลอดเลือดมีการตีบที่แคบลง จนทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจขาดอาหารและออกซิเจน หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป ซึ่งมีสาเหตุมากจาก ตกใจมากๆ ถูกไฟฟ้าช็อต ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมถึงการใช้สารเสพติด ยาหรืออาหารเสริม
- กล้ามเนื้อหัวใจ ความผิดปกติของการไหลเวียนเลือดสู่หัวใจน้อยลง หรือได้รับยา สารพิษบางอย่าง การติดเชื้อ และพันธุกรรม หัวใจถูกบีบรัดและยืดหยุ่นน้อยลง
- หัวใจพิการแต่กำเนิด มาจากการติดเชื้อ ในขณะที่ตั้งครรภ์ มารดาอาจจะรับประทานยาบางตัวที่ส่งผลต่อทารถในครรภ์ รวมถึงดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือสารเสพติด ทำให้ทารกที่เกิดมามีภาวะหัวใจผิดปกติ รู้สึกเหนื่อยเร็ว หายใจถี่ น้ำหนักขึ้นตัวช้าหรือตัวเล็กกว่ารุ่นเดียวกัน
- ลิ้นหัวใจพิการจากไข้รูห์มาติก มาจากผู้ที่เป็นไข้รูห์มาติก มักเกิดในช่วงอายุ5-12ปี เกิดจาก การติดเชื้อแบคทีเรีย“ เสตปโตคอคคัส” ในช่องปาก ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านเนื้อเยื่อ
สาเหตุที่ทำให้หัวใจผิดปกติ
โดยปกติแล้วหัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือด ส่งออกซิเจนเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ร่างกายจะสามารถเคลื่อนไหวได้ตามที่ต้องการ
หากเกิดความผิดปกติของหัวใจอย่างใดอย่างหนึ่ง การทำงานของร่างกายประสิทธิภาพก็จะลดลงไปด้วย
โดยมีปัจจัยหลักๆอยู่3ข้อ
โรคประจำตัว
บางท่านที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง บวกกับการทำงานผิดปกติของระบบภายในร่างกาย รู้สึกเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติ ใจสั่น เหนื่อยง่าย
พฤติกรรมตนเอง
ปัจจุบันคนไทยนิยมบริโภคอาหารประเภทจานด่วน อาหารที่มีไขมันเยอะๆ หลังจากทานเสร็จก็ไม่ชอบออกกำลังกาย ถ้าทานมากๆอาจจะก่อให้เป็นโรคไขมันอุดตัน ภาวะไขมันในเลือดสูงหรือโรคอื่นๆตามมา ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่จัดก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งไม่เป็นแค่เกิดโรคหัวใจแต่ยังทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ชอบเล่นเครื่องเล่นผาดโผนตกใจ กลัวกะทันหัน หรืออาจมาจากความรู้สึกเครียดหลังการทำงาน
กรรมพันธุ์
ที่ได้รับการถ่ายทอดจากในเครือญาติ คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อนถึงแม้ว่าจะรักษา หายแล้วก็ตาม หรือบางคนเป็นตั้งแต่เกิดเพราะขณะที่แม่ตั้งครรภ์อาจจะดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติด หรือมีการใช้รับประทานยาบางประเภท เด็กที่เกิดออกมาจะทำให้เป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด มีพัฒนาการช้า น้ำหนักตัวน้อยกว่าเด็กรุ่นเดียวกัน
ปัจจัยที่มีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุตามที่กล่าวมาข้างต้น หรืออาจจะมีปัจจัยอื่นๆเป็นตัวกระตุ้นเพิ่มก็ได้ครับ
“ถ้ามีสาเหตุตามที่กล่าวมาไม่จำเป็นเสมอไป ว่าจะต้องเป็นโรคหัวใจทุกคน”
ซึ่งบางท่านอาจจะเป็นโรคหอบเกิดขึ้นจากภูมิแพ้ แต่จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับโรคนี้ แต่ไม่ได้มาจากความผิดปกติของหัวใจโดยตรง
อาการเสี่ยงของโรคหัวใจ
- รู้สึกหอบ เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง หรือหายใจไม่ทัน ขณะที่ออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดิน ขึ้นบันได วิ่งเหยาะ ไม่ใช่เหนื่อยเพราะออกกำลังมาก แต่เหนื่อยเพราะรู้สึกหมดแรง มือเท้าเย็นช้า แค่พูดก็รู้สึกเหนื่อย
- หัวใจเต้นผิดปกติ เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ เกิดจากมีอารมณ์โมโห ตกใจ เกิดขึ้นบางครั้งแต่ไม่ได้เป็นนาน สักพักจะกลับมาเป็นปกติไปเอง เมื่อไปพบแพทย์บางครั้งกลับพบว่าหัวใจเต้นปกติ แพทย์ก็ไม่สามารถระบุหาสาเหตุได้ แนะนำว่าควรวัดชีพจรตัวเองก่อนและหลังเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยเบื้องต้นได้
- ขาหรือเท้าบวม ริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ ที่ร่างกายมีเกลือและน้ำคั่งอยู่เป็นจำนวนมาก เลือดจากขาไม่สามารถไหลเข้าสู่หัวใจได้ จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขาและทำให้บวม มีหลายโรคที่มีอาจเป็นเหมือนกัน เช่นโรคไต โรคตับ โรคหลอดเลือดดำ หรือโรคหัวใจ ไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและระบุให้แน่ชัดอีกครั้ง
- บางท่านเป็นขั้นรุนแรงซึ่งอาจจะทำให้หมดสติหรือช็อคไปเลย เบื้องต้นรู้สึกหน้ามืด ตาลาย มองไม่ชัดถ้าไม่รีบน้ำส่งตัวโรงพยาบาลอาจจะถึงแก่ชีวิตได้
เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่เราสามารถสังเกตได้ แต่จะมีอาการ บางอย่างที่คนเราเข้าใจผิดว่าเป็นโรคหัวใจ เช่น เหงื่อออกที่มือและเท้า รู้สึกแปล๊บๆที่หน้าอก เจ็บหน้าอก ลักษณะเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากหัวใจ อาจเกิดจากกล้ามเนื้อทรวงอก
และบางที อาจจะเกิด อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุได้ แนะนำให้อ่านบทความนี้กันครับ
แต่อย่างไรตามเพื่อความถูกต้องแม่นยำ ผมแนะนำให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยให้ถูกต้องดีกว่าครับ
วิธีป้องกันโรคหัวใจ
เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราง่ายๆกันครับ
- งดทานอาหารที่มีไขมัน หวานจัด เค็มจัด ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จำพวกผัก ผลไม้ ล้วนเป็นอาหารที่ดีต่อทุกระบบในร่างกายและยังช่วยควบคุมน้ำหนักอีกด้วยครับ
แนะนำให้อ่าน เพื่อเข้าใจมากขึ้น อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่ถูกหลักตามโภชนาการ5หมู่ - งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงสารเสพติดทุกชนิด เป็นปัจจัยที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงและเกิดโรคต่างๆตามมา
- หากิจกรรมที่ชอบเพื่อผ่อนคลายความเครียด ทำจิตใจให้สงบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬา ออกไปท่องเที่ยวนอกบ้านบ้าง การให้กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
- สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานควรหมั่นไปพบแพทย์บ่อยๆ เพื่อควบคุมไขมันและระดับความดัน พร้อมทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด **ไม่ควรซื้อยามากินเองนะครับ
หวังว่าวิธีป้องกัน เบื้องต้นที่เรานำมาฝาก ทุกท่านจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันกันนะครับ เพื่อรักษา และทำให้ร่างกายเราห่างไกลจากโรคหัวใจไปด้วยกัน
สรุปสาเหตุ ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ
มนุษย์ทุกคนมีหัวใจแค่ดวงเดียวที่ต้องรักษาดูแล โรคหัวใจเป็นโรคที่เกิดจากทำงานผิดปกติของหัวใจ ซึ่งมีหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรม กรรมพันธุ์ รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ยิ่งต้องระมัดระวัง และหันมาดูแลสุขภาพของหัวใจดวงเดียวที่เรามีอยู่กันนะครับ