เมื่อเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นค่ารักษาพยาบาลในแต่ละครั้งใช้เงินเยอะ ดังนั้น การวางแผนค่าใช้จ่ายทั้งค่ารักษาพยาบาลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เนื่องจากตอนที่ยังทำงานอยู่เราใช้สวัสดิการรักษาพยาบาลของบริษัท แต่เมื่อลาออกหรือเกษียณแล้ว เราจะมีสิทธิใช้สวัสดิการค่ารักษาอะไรบ้างนอกจากการซื้อประกัน นั่นก็คือสิทธิประกันสังคมและบัตรทอง ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ไปได้
แล้วระหว่าง 2 สิทธินี้มีข้อแตกต่างกันอย่างไร แต่ละสิทธิมีข้อดี ข้อเสียอย่างไรกันบ้าง วันนี้ cruisemate จะมาตอบข้อสงสัยเหล่านี้กัน
สารบัญเนื้อหา
ความแตกต่างระหว่างสิทธิรักษาพยาบาล
ความหมาย
ประกันสังคม คือ เป็นการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยที่ผู้ประกันตนจ่ายเอง หรือจ่ายรวมกับนายจ้างและภาครัฐ ขึ้นอยู่ตามมาตรา 33 39 และ40 ที่ผู้ประกันเลือกลงทะเบียนไว้
บัตรทอง คือ สวัสดิการที่รัฐมอบให้กับคนไทยทุกคนที่ไม่มีสิทธิประกันสังคม หรือสิทธิข้าราชการ แต่เมื่อมีสิทธิการรักษาอย่าใดอย่างหนึ่ง สิทธิประกันสุขภาพจะถูกยกเลิกอัตโนมัติ
ใครสามารถลงทะเบียนได้บ้าง
ประกันสังคม ให้สิทธิ์กับคนที่เป็นลูกจ้างที่บริษัทได้ส่งเงินสมทบกองทุนให้โดยที่ไม่ต้องสมัครเอง (ตามมาตรา 33)
หรือผู้ที่ลาออกจากงาน อยากสมัครเองก็สามารถทำได้เช่นกัน (ตามมาตรา 39)
ผู้ที่ทำอาชีพอิสระ สามารถลงทะเบียนได้อายุตั้งแต่ 15-60 ปี (ตามมาตรา 40)
บัตร 30 บาท ให้สิทธิ์กับคนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิด ไม่ได้เป็นข้าราชการ ไม่ใช่บุตรของข้าราชการ หรือไม่มีสวัสดิการอะไรเลย
ความแตกต่างระหว่างสิทธิรักษาพยาบาล
สิทธิรักษาพยาบาล
ประกันสังคม
บัตรทอง
เจ็บป่วย
ใช้สิทธิ์ได้ในโรงพยาบาลที่เลือกลงทะเบียนไว้ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ไม่จำกัดจำนวนครั้งและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาล
ส่วนในกรณีที่ต้องหยุดงานพักรักษาตัวมีสิทธิได้รับเงินชดเชยรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง
ใช้สิทธิ์ได้กับโรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสปสช.
อุบัติเหตุ
เข้ารักษาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
ในกรณีฉุกเฉินเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอนใช้ได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี
ใช้สิทธิ์ที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ไม่จำกัดจำนวนครั้งทั้งในกรณีฉุกเฉินและอุบัติเหตุ (เฉพาะสถานพยาบาลของสปสช. จะไม่มีค่าใช้จ่าย)
หากเป็นสถานพยาบาลที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสปสช. (ผู้ป่วยต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด)
คลอดบุตร
เหมาจ่ายค่าคลอดบุตรต่อครั้ง ไม่เกิน 2 ครั้ง และได้เงินสงเคราะห์บุตรเพิ่มอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือน เป็นเวลา 90 วัน
ใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
ทุพพลภาพ
รักษาที่โรงพยาบาลรัฐได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
สามารถเข้าโรงพยาบาลเอกชนได้ แต่เบิกจ่ายได้ตามที่กำหนดเท่านั้น
ได้รับเงินทดแทนรายได้ 50%ของค่าจ้าง จ่ายให้ตลอดชีวิต
เข้ารักษาที่โรงพยาบาลรัฐได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และค่าพาหนะรับส่งกรณีฉุกเฉินเพื่อส่งตัวรักษาอาการต่อ
ทำฟัน
ใช้สิทธิถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนได้ไม่เกิน 900 บาท/ปี ฟันเทียมได้ทั้งในสถานพยาบาลและคลินิกทันตกรรมที่ร่วมรายการ
ใช้สิทธิถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ฟันทียม รักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม เฉพาะสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น สามารถใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งและไม่มีวงเงิน
โรคไต
ไม่คุ้มครองกรณีไตวาย การปลูกถ่ายไตรวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังมาก่อน
แต่มีสิทธิรักษามีสิทธิรักษาได้ไม่เกิน 60 วัน
คุ้มครองไตวายรักษาได้ตลอด และการปลูกถ่ายไต ทั้งกรณีที่เป็นและไม่ได้เป็นไตวายมาก่อน
ยา
เบิกได้ทั้งยาใน-นอกบัญชี
เบิกได้เฉพาะยาในบัญชีเท่านั้น
ยาต้านไวรัสเอดส์
ไม่คุ้มครอง
ให้ยาต้านไวรัสเอดส์
การรักษาและบริการที่ไม่คุ้มครอง
การรักษาและบริการของทั้ง 2 สิทธิจะไม่คุ้มครองในกรณี ดังนี้
- การทำศัลยกรรม เพื่อความสวยงาม
- การรักษาที่อยู่ในช่วงทดลอง
- มีบุตรยาก
- ตรวจและรักษาที่เกินความจำเป็น
- เปลี่ยนแปลงเพศ
- ผสมเทียม
- การรักษาโรคเดียวกันโดยเป็นผู้ป่วยในเกิน 180 วันในระยะเวลา 1 ปี
นอกเหนือจากนั้นประกันสังคมยังไม่คุ้มครองโรค อุบัติเหตุที่เกิดจากสารเสพติด และปลูกถ่ายอวัยวะ ปลูกถ่ายไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ไขกระดูกสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะตา
ส่วนสิทธิประกันสุขภาพ ไม่คุ้มครองโรคหรืออุบัติเหตุที่เกิดจากสารเสพติด การปลูกถ่ายอวัยวะ ยกเว้นสิทธิเฉพาะผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย หากเป็นผู้ป่วยใน สามารถใช้สิทธิรักษาเกิน 180 วัน เฉพาะที่โรคเกิดจากภาวะแทรกซ้อน
กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
ทั้งประกันสังคมและบัตรทอง “สามารถเข้ารักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลใกล้ที่สุดทั้งรพ.รัฐและเอกชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและไม่ต้องสำรองจ่าย รัฐจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดภายใน 72 ชั่วโมง”
หากหลังจาก 72 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะถูกย้ายไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์ที่ตนเลือกไว้ ยกเว้นกรณีที่โรงพยาบาลต้นสังกัดที่เลือกลงทะเบียนไว้ที่มีสิทธิ์ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยเพิ่มได้ ไม่มีเตียง หรืออาการผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้น กองทุนจะจ่ายให้ หากย้ายได้ แต่ผู้ป่วยไม่ย้าย จะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลังจากนั้นเองทั้งหมด
กรณีส่งต่อผู้ป่วย
หากต้องรับหรือส่งตัวผู้ป่วยไปวินิจฉัยต่อสถานพยาบาลอื่น ที่ไม่ใช่สถานพยาบาลตามสิทธิที่ลงทะเบียนไว้ สามารถเบิกค่าพาหนะภายในจังหวัดเดียวกันไม่เกิน 500 บาทต่อครั้ง กรณีข้ามเขตจังหวัดคิดระยะทางกิโลเมตรละ 6 บาท หากส่งต่อผู้ป่วยทางเฮลิคอปเตอร์ สิทธิประกันสังคมจะไม่คุ้มครองค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
ส่วนในกรณีของบัตรทอง สามารถเบิกจ่ายค่าพาหนะโดยขึ้นอยู่กับในแต่ละประเภทของพาหนะ
- ทางรถยนต์ ระยะทางไม่เกิน 50 กม.เบิกได้ตามจริงไม่เกิน 500 บาท หากระยะทางเกิน 50 กม. เบิกได้ครั้งละ 500 บาท และได้รับเงินชดเชยเพิ่มอีก 4 บาทต่อกม.
- ทางเรือ ไม่เกิน 35,000 บาทต่อครั้ง
- ทางเฮลิคอปเตอร์ ไม่เกิน 60,000 บาทต่อครั้ง
เงื่อนไขการใช้สิทธิ
ต้องส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมตามเงื่อนไขตามระยะเวลาในแต่ละกรณี ถึงจะสามารถใช้สิทธินั้นๆได้
ส่วนบัตร 30 บาท ลงทะเบียนเรียบร้อย จึงสามารถเข้าใช้สิทธิได้ทันที โดยไม่ต้องมีกำหนดระยะเวลา
สถานที่ใช้รักษาพยาบาล
ประกันสังคม ใช้กับโรงพยาบาลที่เลือกสิทธิ์ไว้ตอนลงทะเบียน ส่วนในกรณีฉุกเฉินสามารถเข้าที่ไหนก่อนก็ได้ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ทั้งในภาครัฐและเอกชน
บัตรทอง ใช้กับโรงพยาบาลในชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ลงทะเบียน หากไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่มีแพทย์เชี่ยวชาญได้
การย้ายสิทธิ์สถานพยาบาล
สามารถแจ้งย้ายสิทธิ์ได้ 3 ช่องทาง หากเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ต้องแจ้งฝ่ายบุคคลที่บริษัทเปลี่ยนให้ ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 เปลี่ยนได้เองที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือแอพพลิเคชั่น ซึ่งสามารถแจ้งย้ายได้ปีละครั้ง ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ทุกปี
บัตรทองสามารถทำได้ 4 ครั้งต่อปี โดยเตรียมเอกสารเหมือนกับที่ใช้ลงทะเบียนตอนแรกเลยครับ
ข้อดี-ข้อเสีย
ประกันสังคม จำเป็นต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน แต่มีสวัสดิการเพิ่มจากบัตร 30 บาท เช่น กรณีเสียชีวิต ชราภาพ เกษียณ รวมถึงชดเชยรายได้
สิทธิประกันสุขภาพ จะไม่มีค่าใช้จ่ายและได้รับสิทธิรักษาฟรีอัตโนมัติโดยทันที มีการรักษาครอบคลุม แต่รอคิวนานมาก การบริการไม่ค่อยดี เพราะบุคลากรมีจำกัด อาจดูแลได้ไม่ทั่วถึง ไม่มีวันหมดอายุและไม่จำเป็นต้องส่งเงินเข้าสมทบกองทุน
หมายเหตุ ไม่สามารถลงทะเบียนทั้ง 2 สิทธิได้พร้อมกัน ต้องเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
หากกรณีไม่ส่งเงินสมทบประกันสังคมเป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน จะหมดใช้สิทธิการรักษาทันที ให้ไปขอลงทะเบียนบัตรทองที่สำนักเขตและใช้สิทธิบัตร 30 บาทแทนได้เลยครับ
สรุปความแตกต่างผลประโยชน์ของประกันสังคมและบัตรทอง
จะเห็นได้ว่าสิทธิในการรักษาพยาบาลของทั้ง 2 สิทธิ ได้สิทธิในการรักษาคล้ายคลึงกัน แต่สิ่งที่ต่างกันคือในกรณีว่างงาน เกษียณ เสียชีวิตและชดเชยรายได้ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างที่ประกันสังคมมอบให้ และสิทธิของบัตร 30 บาทไม่มีให้ในส่วนนี้ ซึ่งโดยรวมแล้วสิทธิประกันสังคมมีประโยชน์และคลอบคลุมมากกว่า อย่างไรก็ตามสิทธิแต่ละอย่างมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเราเองว่าต้องการแบบไหน