สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไตเรื้อรัง ระยะสุดท้าย จะต้องเข้ารับการบำบัดฟอกเลือดด้วยไตเทียม หรือที่เรียกว่า “ฟอกไต” ในระหว่างฟอกไตจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร สูญเสียโปรตีน วิตามิน เกลือแร่บางอย่าง ดังนั้นผู้ป่วยต้องควบคุมอาหาร และรับประทานอาหารตามโภชนาการ แล้วอาหารผู้ป่วยโรคไตต้องทานอะไรบ้าง อาหารแบบไหนกินได้ หรือห้ามกินมีอะไรบ้าง
สารบัญเนื้อหา
ทำไมถึงเป็นโรคไต
ปกติแล้วไตจะทำหน้าที่กรองของเสียรวมถึงโซเดียมออกทางปัสสาวะ การกินเค็มมมากจะทำให้ไตทำงานหนัก เพราะต้องขับส่วนที่โซเดียมเกินออก เมื่อไตทำงานหนัก จึงกำจัดของเสียออกทางปัสสาวะได้น้อยลง จนทำให้มีอาการตัวบวม จนกลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เป็นโรคไต
อาหารผู้ป่วยโรคไต
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังหรือระยะสุดท้าย เป็นโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงวิธีที่ช่วงชะลอความเสื่อมของไตเท่านั้น โดยจะใช้การบำบัดด้วยยา การควบคุมอาหารผู้ป่วยโรคไต และการฟอกเลือดด้วยไตเทียม หากอยู่ในช่วงที่ฟอกไตอยู่ ร่างกายจะขาดสารอาหาร ดังนั้นเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอและลดอาการแทรกซ้อนของโรคต่างๆ มาดูกันว่า อาหารผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่กินได้ มีอะไรบ้าง
โภชนาการอาหารผู้ป่วยโรคไตที่กินได้
- เนื้อสัตว์ จำพวกเนื้อปลา ปลาทะเลน้ำลึกที่มีไขมันต่ำและโอเมก้า3 หรือเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง
- อาหารจำพวกแป้ง ข้าว ก๋วยเตี๋ยวทุกมื้อ เพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อร่างกาย
- ไข่ขาววันละ 2-3 ฟอง
- เลือกใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า แทนน้ำมันหมูและน้ำมันจากสัตว์ในการประกอบอาหาร
- เลือกทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ ผักและผลไม้ที่มีสีอ่อน เช่น แอปเปิ้ล องุ่น ชมพู่ แตงโม ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา เป็นต้น
- น้ำเปล่าเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคไตต้องการมากที่สุด สามารถดื่มได้ตามปกติ แต่หากว่าผู้ป่วยที่มีอาการบวมน้ำ ให้ดื่มน้ำไม่เกินวันละ 700-1,000 cc.
- น้ำสมุนไพรไม่หวานจัด เช่น น้ำใบเตย น้ำอัญชัน น้ำกระเจี๊ยบ เป็นต้น
การเลือกรับประทานอาหารผู้ป่วยโรคไตได้ที่ถูกหลักโภชนาการตามข้างต้นแล้ว ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่และรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ส่วนอาหารผู้ป่วยโรคไตที่เป็นเบาหวานด้วย ควรใช้น้ำตาลเทียม หรือหญ้าหวานแทนน้ำตาล
อาหารผู้ป่วยโรคไตที่ควรหลีกเลี่ยง ห้ามกิน
- อาหารรสเค็ม ไม่ควรปรุงรสอาหารด้วยเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว เต้าเจี้ยว กะปิ น้ำปลาร้า ผงชูรส ซอสหอยนางรม ซอสมะเขือเทศ ซอมพริก(ถึงแม้ว่าซอสพวกนี้จะมีปริมาณโซเดียมไม่เท่าเกลือ แต่เมนูอาหารผู้ป่วยโรคไตต้องควบคุมปริมาณโซเดียมด้วยเช่นกัน)
- งดของหมักดอง เพราะของหมักดองส่วนใหญ่มีรสเค็ม เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักกาดดอง
- อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง แฮม เบคอน
- อาหารกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋อง เพราะจะมีสารกันบูดและปริมาณโซเดียมที่สูงมาก
- อาหารที่มีไขมัน โคเลสเตอรอลสูง ที่ได้จากไขมันอิ่มตัวของพืชและสัตว์ เช่น กะทิ น้ำมันปาล์ม มันหมู มันไก่ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ที่ติดมัน หมูสามชั้น ไข่พะโล้
- อาหารที่มีพิวรินสูง เครื่องในสัตว์ทุกชนิด ตับ ไต หัวใจ กึ๋น ยอดผักอ่อนๆ ยอดตำลึง ยอดฟักทอง
- อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ไตจะมีหน้าที่ช่วยเอาโพแทสเซียมออกจากร่างกายให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อช่วยปรับสมดุลของน้ำในร่างกายปกติ ลดการบวมน้ำของผู้ป่วย เพราะเมื่อเป็นโรคไตเรื้อรัง ไตจะเสื่อมหรือทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเหมือนเดิม หากอาหารผู้ป่วยโรคไตมีโพแทสเซียมสูง การทำงานของไทจะไม่ดีหรือเสื่อมลง เพราะไตจะเอาโพแทสเซียมออกจากร่างกายได้น้อยลง จะเกิดการสะสมของโพแทสเซียมร่างกายในปริมาณมาก จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตะคริวจนทำให้มีอาการเหนื่อย หอบ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ใจสั่น หรือรุนแรงถึงขั้นหัวใจหยุดเต้น เช่น ผลไม้แห้ง ทุเรียน มะขาม มะเขือเทศ น้ำลูกยอ ผักใบเขียว ผักสด ผักและผลไม้โดยเฉพาะสีเข้มๆ หากอยากทานผักและผลไม้ที่มีสีเข้ม ให้นำผักไปลวกในน้ำร้อนก่อนทาน ทานเป็นผัดลวกแทน
- ของหวาน ขนมหวานจำพวกใส่กะทิ เบเกอรี่ เค้ก คุกกี้ ขนมปัง มัฟฟิน เบเกอรี่ต่างๆเพราะการทำเบเกอรี่จำเป็นต้องใช้ผงฟู และในผงฟูนั้นมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ
อย่างที่รู้ๆกันว่าอาหารผู้ป่วยโรคไต ห้ามกินอาหารที่มีรสเค็ม หรือมีโซเดียมที่มากเกินไป เพราะไตไม่สามารถกำจัดของเสียและน้ำส่วนที่เกินของในร่างกายได้ทัน จนเกิดการคั่งในอวัยวะต่างๆ เช่น แขนขาบวม เหนื่อย หอบง่าย เพราะฉะนั้นเมนูอาหารผู้ป่วยโรคไตแต่มื้อที่ผู้ป่วยทาน ต้องใส่ใจและควบคุมอาหารผู้ป่วยโรคไตเป็นพิเศษ
การรับประทานอาหารผู้ป่วยโรคไตให้ถูกหลักโภชนาการ
- ทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
- รับประทานเนื้อสัตว์อย่างน้อย 4-5 ช้อนโต๊ะ
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ลดของหวาน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมและคอลเรสตอรอลสูง
- งดอาหารรสเค็ม อาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป
- รับประทานผักสุกมื้อละ 1 ทัพพี และผลไม้ 6-8 ชิ้น
นอกจากการควบคุมอาหารผู้ป่วยโรคไตตามที่กล่าวมาแล้ว การงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล คาเฟอีน รวมถึงการสูบบุหรี่ ให้หันมาเปลี่ยนเป็นการออกกำลังหายอย่างสม่ำเสมอก็เป็นส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น
เมนูอาหารผู้ป่วยโรคไต
พะแนงหมู ราดหน้าทะเล ไก่ผัดพริกขิง ผัดเขียวหวานไก่ ผัดเปรี้ยวหวานหมู ผัดบวมใส่ไข่ แกงจืดเต้าหู้หมูสับ ลาบไก่ ผัดมะกะโรนี ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ ข้าวต้มข่า ไก่ทอดกระเทียมพริกไทย ผัดถั่วงอก ปลาอบสมุนไพร
สรุปอาหารผู้ป่วยโรคไตต้องกินอะไร
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรบริโภคอาหารให้เพียงพอต่อร่างกาย หากทานน้อยเกินไป ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน อาจทำให้น้ำหนักตัวลดลง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา ดังนั้นอาหารผู้ป่วยโรคไตต้องใส่ใจการบริโภคอาหารเป็นอย่างมาก ห้ามกินของเค็ม อาหารแปรรูป ของหมักดองเป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น