อัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์ อายุน้อยก็เป็นได้

หลายคนเคยมีอาการ หลงๆ ลืมๆบ้าง เป็นจุดสังเกตแรกของโรคอัลไซเมอร์ ที่หลายคนคิดว่าเกิดขึ้นเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น  แต่ไม่ใช่อย่างที่คิด เด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ก็มีโอกาสเป็นได้เหมือนกัน เพราะโรคนี้เกิดจาก หลายปัจจัย อาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน มาดูกันดีกว่าว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เป็นโรคนี้ เพื่อจะได้หาทางป้องกันและวิธีรักษาไม่ให้เกิดขึ้น

สารบัญเนื้อหา

สัญญาณเตือนอัลไซเมอร์

เกิดจาก

อาการเป็นอย่างไร

วิธีการรักษา

วิธีป้องกันอัลไซเมอร์

วิธีรับมือเมื่อเป็นอัลไซเมอร์

สัญญาณเตือนของอัลไซเมอร์

  • หลงลืมบ่อยๆ
  • นึกคำพูดไม่ออก
  • วางแผน แก้ปัญหาไม่ค่อยได้
  • สับสนวัน เวลา สถานที่
  • หาของไม่เจอ
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง ก้าวร้าว

กลับสู่สารบัญ

https://www.youtube.com/watch?v=z4pTyTDAabg

อัลไซเมอร์เกิดจาก

การสะสมของเบต้าอะไมลอยด์(beta-amyloid) มันเข้าไปจับเกาะตามจุดต่างๆที่เซลล์สมองและการลดลงของสารอะซีติลโคลีนที่ทำหน้าที่การรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ร้อน หนาว จะส่งผลให้การเสื่อมถอยการทำงานของเนื้อเยื่อหรือโครงสร้างในสมอง สมองเริ่มสูญเสียหน้าที่หลายด้านพร้อมกันทำงานแย่ลงหรือหยุดทำงาน

แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจาก อะไร ส่วนหนึ่งอาจมาจากพันธุกรรมแต่ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่ของคุณเป็นอัลไซเมอร์แล้วคุณต้องเป็นอัลไซเมอร์ 100% เพราะอาจมีปัจจัยอื่นเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ เช่นอาหาร สิ่งแวดล้ม สารพิษ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการติดเชื้อเป็นต้น

กลับสู่สารบัญ

อาการเป็นอย่างไร

อัลไซเมอร์จะมีเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป แสดงให้เห็นขึ้นในเวลาหลายปีในระยะแรก จะไม่รู้สึกตัวว่าเป็นอยู่ส่วนใหญ่ที่พบจะมีความเครียด เข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองตามอายุ เมื่อเป็นไปสักพักคนรอบข้างจะเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติว่า ทำอะไรแปลกไป เรื่องที่เคยทำกลับทำไม่ได้ ไม่ค่อยเข้าใจสิ่งที่จะสื่อ และจะเริ่มเป็นมากขึ้นหากปล่อยไว้นาน

แต่โดยทั่วไปโรคอัลไซเมอร์จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะหลัก ๆ ได้แก่

อาการอัลไซเมอร์

 

ระยะแรก

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะเริ่มขี้หลงขี้ลืมมากขึ้น ชอบถามซ้ำๆ พูดซ้ำเรื่องเดิม ชอบย้ำคิดย้ำทำ เริ่มสับสนทิศทาง จำทางกลับบ้านหรือไปที่ที่เคยไปบ่อยๆไม่ได้ อารมแปรปรวน หงุดหงิดง่าย วิตกกังวลง่ายกว่าปกติ ไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องเล็กๆ ไม่กล้าปรับตัว แต่ยังสามารถสื่อสารและใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ

กลับสู่สารบัญ

ระยะปานกลาง

ผู้ป่วยจะมีอาการ ชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงกว่าเดิม สับสนว่าวันนี้วันอะไร จู่ๆก็เดินออกจากบ้านแบบไม่มีจุดหมายแล้วหาทางกลับบ้านไม่เจอ เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับการพูด พูดไม่รู้เรื่อง คนรอบข้างไม่เข้าใจที่ผู้ป่วยต้องการจะสื่อถึง

อารมณ์อัลไซเมอร์ขึ้นๆลงๆเปลี่ยนแปลงรุนแรงกว่าเดิม กระวนกระวาย หงุดหงิด ก้าวร้าว หรืออารมเปลี่ยนแปลงเหมือนเป็นคนละคนเช่น ปกติเป็นคนอารมณ์ร้อนแต่หลายเป็นคนเงียบขรึม

เริ่มใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่ปกติ เช่น กินข้าว อาบน้ำ แต่งตัวเองไม่ได้ เปิดโทรทัศน์หรือโทรศัพท์ไม่เป็น เป็นต้น อาจจะเกิดภาพหลอน คิดถึงเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น ไม่เป็นความจริง เช่น คิดว่าจะมีคนมาฆ่า มีโจรขึ้นบ้าน ทั้งๆที่เหตุการณ์เหล่านั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย

กลับสู่สารบัญ

ระยะสุดท้าย 

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง ประสาทหลอนเกิดภาพลวงตา เกิดขึ้นเป็นๆหายๆ เคี้ยวหรือกลืนลำบากทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง น้ำหนักตัวลดลง นิสัยก้าวร้าว ชอบเรียกร้องความสนใจ เริ่มสูญเสียความสามารถในการสื่อสาร 

ภูมิต้านทานเริ่มอ่อนแอนำไปสู่การติดเชื้อ ถ้าแย่ลงหนักอาจจะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงและเสียชีวิตในที่สุด

กลับสู่สารบัญ

วิธีการรักษา

โรคอัลไซเมอร์ยังไม่มีวิธีให้หายขาดได้ แต่ถ้าผู้ป่วยมาพบแพทย์ตั้งแต่ที่เป็นระยะแรก และเพิ่มการป้องกันที่อาจจะเกิดจาก สาเหตุต่างๆ สำหรับวิธีการรักษา ผู้ป่วยมี 3 รูปแบบเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้บ้างและมีชีวิตที่ดีขึ้น

เบื้องต้นเป็นเพียงแค่ช่วยบรรเทาอาการ ได้ชั่วคราว และขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคนว่าต้องเลือกใช้วิธีแบบไหน

ใช้การรักษาด้วยยา

เป็นวิธีที่ช่วยควบคุมอัลไซเมอร์ชั่วคราวผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แต่ไม่ได้ช่วยให้ความจำดีขึ้น ถ้าเป็นผู้ป่วยระยะแรก-ระยะกลางแพทย์จะสั่งยากลุ่มโคลีนเอสเทอเรส ผู้ป่วยบางคนอาจจะได้รับผลข้างเคียงมาก-น้อยขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคน ส่วนผู้ป่วยแต่เป็นระยะสุดท้ายจะใช้ยากลุ่มเมแมนทีนแทน

กลับสู่สารบัญ

ใช้การรักษาโดยการไม่ใช้ยา

  • พักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนและตื่นนอนตรงเวลา ปรับความสว่างในห้องนอนให้มืดพอดี
  • ดื่มน้ำให้พอเพียง เพื่อให้สมองสดชื่น สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจด้วยควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรเป็นอย่างน้อย

กลับสู่สารบัญ

วิธีบำบัดทางจิต

วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นสมองของโรคอัลไซเมอร์ ด้านความทรงจำ ความสามารถทางภาษา และเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาได้อีกด้วย นักบำบัดจะใช้การบำบัดโดยการเปลี่ยนแนวคิด ทัศนคติ ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับความเครียด วิตกกังวล การเกิดภาพหลอน การหลงผิว รวมถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

กลับสู่สารบัญ

วิธีป้องกันอัลไซเมอร์

เนื่องจากอัลไซเมอร์มีสาเหตุไม่แน่ชัดว่าเกิดจาก อะไร และไม่มีใครอยากเป็นโรคนี้ อย่างไรก็ตามควรศึกษาวิธีป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ โดยต้องปฏิบัติตนต่อไปนี้

วิธีป้องกันอัลไซเมอร์

 

  • รับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  • หมั่นออกกำลังกายสัปดาห์ละ3-4วัน อย่างน้อยวันละ 30นาที เน้นออกกำลังกายแบบแอโรบิคหรือการเดิน จะช่วยให้สมองสดชื่น มาดูกันครับการออกกำลังกายแบบไหนที่เหมาะกับผู้สูงอายุกันบ้าง
  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่และสารเสพติดทุกชนิด
  • หากมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ให้ควบคุมระดับน้ำตาลเลือกรับประทานอาหาร ที่มีน้ำตาลน้อย หรือผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตต้องคอยควบคุมความดันไม่ให้เกินค่าที่กำหนด
  • หางานอดิเรก เช่น อ่านหนังสือ วาดรูป เล่นดนตรี เล่นกีฬา เป็นต้น

กลับสู่สารบัญ

วิธีรับมือเมื่อเป็นอัลไซเมอร์

  • เก็บสิ่งของมีค่า กระเป๋าตัง กุญแจ โทรศัพท์มือถือ เอกสารสำคัญไว้ในที่เดียวกันเพื่อป้องกันการสูญหายหรือหาไม่เจอ
  • ใช้วิธีจดบันทึกช่วยเตือนความจำ เช่น ตารางงาน วันนี้ต้องทำอะไรบ้าง เมื่อทำกิจกรรมใดเรียบร้อยแล้วให้ขีดออกเพื่อให้เกิดการหลงลืมหรือทำกิจกรรมเดิมซ้ำๆ
  • ตั้งนาฬิกาปลุกเตือนเวลาที่ต้องทำกิจกรรมนั้นๆ
  • จัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟให้จ่ายโดยระบบอัตโนมัติ
  • ใส่สายรัดข้อมือหรือนาฬิกาที่สามารถจับสัญญาณ GPS ได้
  • พกโทรศัพท์และบันทึกหรือจดเบอร์โทรศัพท์คนในครอบครัว เผื่อไว้ใช้ในกรณีหลงทาง
  • ติดตั้งราวจับตามทางเดิน บันได และในห้องน้ำ
  • ติดตั้งอุปกรณ์ช่วยป้องกันอันตราย เช่น เครื่องตรวจจับควัน เครื่องตรวจแก๊สรั่ว เป็นต้น
  • เก็บรูปถ่ายหรือสิ่งของที่มีความหมายกับผู้ป่วยไว้ทั่วบ้าน เมื่อผู้ป่วยเห็นอาจจะช่วยให้พอจำได้บ้าง
  • จัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้เป็นระเบียบ ไม่วางเกะกะ
  • ไปพบแพทย์ตามที่นัดหมายเป็นประจำ
  • เก็บสิ่งของอันตราย เช่น ของมีคม ปืน อาวุธ น้ำยาทำความสะอาด เก็บไว้ในที่ปลอดภัยหรือล็อคกุญแจไว้เสมอ

กลับสู่สารบัญ

สรุปสัญญาณของโรคอัลไซเมอร์

ดังนั้นเราควรสังเกตผู้สูงอายุหรือคนรอบข้างว่าเริ่มหลงๆลืมๆหรือไม่ เช่นนึกชื่อคนในครอบครัวไม่ออก ลืมกุญแจ ลืมปิดประตู ลืมปิดไฟ ลืมในสิ่งที่เคยทำหรือมีปัญหาด้านการสื่อสาร พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ชอบย้ำคิดย้ำทำ พวกนี้เป็นจุดสังเกตให้เห็นว่าเริ่มมีความผิดปกติของสมองที่เสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ ให้รีบไปตรวจอย่างละเอียดเพื่อที่จะทำการรักษา ได้ทันที

กลับสู่สารบัญ