ถ้าลองใช้มือลูบคลำบริเวณหลังข้อเท้าเราจะมีอะไรนูนๆออกมานั่นคือ “เอ็นร้อยหวาย” เป็นเส้นเอ็นที่แข็งแรงและหนาที่สุด เอาไว้ยึดระหว่างกล้ามเนื้อน่องขากับกล้ามเนื้อที่ติดกับกระดูกส้นเท้าที่ช่วยให้ร่างกายเดิน วิ่งหรือกระโดดได้สะดวก แต่!! ถ้าเอ็นร้อยหวายขาดขึ้นมาละ? จะกลับมาเดินได้ไหม? เกิดจาก อะไร? มีโอกาสกลับมาเดินได้อีกแน่นอนขึ้นอยู่กับวิธีรักษา และการดูแลของแต่ละคนครับ
สารบัญเนื้อหา
เอ็นร้อยหวายขาดเกิดจากอะไร
พฤติกรรมของตนเอง
เกิดจาก การทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงหนักจนเกินไป เช่น ทำงานหนักหรือยกของหนัก และจะพบได้บ่อยกับผู้ที่ไม่อบอุ่นร่างกายหรือยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายและเล่นกีฬา ทำให้ร่างกายยังไม่ได้ปรับตัวหรือเกิดความเคยชิน
การออกกำลังกายส่งผลดีให้ร่างกายเช่นกัน แต่หากออกกำลังกายหนักเกินไปจะกลายเป็นผลเสียแทน เช่น การวิ่งระยะทางไกลๆ
เกิดอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาที่ต้องวิ่งอย่างรวดเร็วแล้วหยุดกะทันหัน เช่น แบดมินตัน เทนนิส บาสเก็ตบอล เป็นต้น
หรือเกิดจาก ใส่รองเท้าที่ไม่พอดีหรือรองเท้าส้นสูงติดต่อกันเป็นเวลานานก็เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งเหมือนกัน พฤติกรรมพวกนี้มีโอกาสเสี่ยง ทำให้เอ็นร้อยหวายขาดจนเดินไม่ได้
ปัจจัยภายใน
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเก๊าต์ โรคไทรอยด์ โรครูมาตอยด์มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนปกติ หรือผู้ป่วยที่มีหินปูนเกาะอยู่หลังส้นเท้าหรือกระดูกงอกบริเวณส้นเท้าจะทำให้เกิดการเสียดสีกับเอ็นร้อยหวายทำให้ปวดหรืออักเสบได้เช่นกัน
สังเกตุอาการ
จะรู้ตัวได้อย่างไรว่าเอ็นร้อยหวายขาด?
สัญญาณเตือน
- บวมแดงบริเวณหลังเท้า
- งอเท้า หรือเดินไม่ค่อยได้
- มีเสียงดัง “กร๊อบ” เมื่อเดินลงส้นเท้า
เริ่มแรกจะรู้สึกปวด บวมแดงบริเวณด้านหลังส้นเท้ามากกว่าปกติและจะเริ่มลุกลามไปถึงน่องขา ทำให้เดินลำบากหรือไม่สามารถเดินได้ปกติ
ในขณะที่เดินหรือเล่นกีฬาแล้วรู้สึกเจ็บบริเวณหลังข้อเท้า หรือบวมขึ้นตลอดเวลา ยืดงอเท้าไม่ค่อยได้หรือเดินไม่ได้ และมันจะแย่ลงเมื่อมีเคลื่อนไหวมากๆ
บางคนอาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันในจังหวะที่ลงส้นเท้าจะได้ยินเสียงดัง “กร๊อบ” เหมือนเอ็นร้อยหวายขาด ลงน้ำหนักที่เท้าได้ไม่เต็มที่เพราะจะรู้สึกปวดและเจ็บมากถึงขั้นเดินไม่ไหวกันเลยทีเดียว
หากมีอาการ แบบนี้ตอนเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมอะไรอยู่ก็ตามให้หยุดเล่นทันทีเลยนะครับ เพราะอาจจะรุนแรงขึ้น บางครั้งเอ็นร้อยหวายค่อยฉีกขาดทีละน้อยๆจนเส้นเอ็นขาดหมดหรือขาดแบบกะทันหัน
” แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน แค่รู้สึกปวดก็ต้องหยุดทำกิจกรรมนั้นทันทีครับ แล้วรีบไปพบแพทย์ทำกายภาพบำบัด และไม่ปล่อยให้เรื้อรัง”
วิธีการรักษาเอ็นร้อยหวายขาด
การรักษา เอ็นร้อยหวายขาดนั้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับบุคคล สำหรับผู้ป่วยที่เป็นแบบเฉียบพลันเพียงเล็กน้อยไม่รุนแรงสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ที่บ้านเบื้องต้นได้ดังนี้
- ใช้น้ำแข็งประกบบริเวณที่ปวดประมาณ 15-20 นาที ทุกๆ 1-2 ชั่วโมงจนค่อยๆปวดลดลง น้ำแข็งจะช่วยลดการบาดเจ็บ การปวดให้ดีขึ้น
- ใช้ผ้าพันแผลรัดบริเวณเส้นเอ็นจะช่วยลดแรงกระแทกเพื่อให้ข้อเท้าเคลื่อนไหวน้อยลงแต่ไม่ควรรัดแน่เกินไปเพราะอาจทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก
- ต้องให้ยกเท้าขึ้นเหนือบริเวณหน้าอก โดยอาจจะเอาหมอนมาหนุนเท้า จะช่วยให้เลือดไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจและลดบวมได้
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวที่มีแรงกระแทกโดยตรงต่อเส้นเอ็นและไม่ควรกดบริเวณนั้นจนกว่าจะดีขึ้น
หากยังไม่ดีขึ้นให้ทานยาสามัญประจำบ้าน เช่น พาราเซลตามอลก็ช่วยได้ชั่วคราว
แต่ไม่ควรรับประทานมากเพราะอาจจะมีผลข้างเคียงตามมาแนะนำให้รีบไปพบแพทย์และทานยาตามที่แพทย์สั่งดีกว่าครับ
ผู้ป่วยบางคนที่มีอาการ เอ็นร้อยหวายขาดมานานหรือเป็นแบบเอ็นร้อยหวายค่อยๆฉีกขาดต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อใส่เฝือก ถ้าถอดเฝือกแล้วต้องทำกายภาพบำบัด ต่ออีก 4-6 เดือน
ด้วยการออกกำลังกายเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเอ็นร้อยหวายหรือใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เช่น ใส่อุปกรณ์ในรองเท้าหรือบริเวณส้นเท้า มาช่วยป้องกันไม่ให้เอ็นร้อยหวายขาดกว่าเดิม
หากใช้วิธีนี้เมื่อหายแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นได้อีกครั้ง
หากทำทุกวิธีแล้วยังไม่ดีขึ้นอีก ต้องทำการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน แต่หลังจากการผ่าตัดไม่ต้องรีบเดินทันทีนะครับ ให้พักผ่อนและห้ามใช้งาน เคลื่อนไหวเท้าหรือลงน้ำหนักประมาณ 2 เดือนแรก จากนั้นอีก 2 เดือนค่อยลงน้ำหนักได้บ้างส่วนแล้วค่อยๆลงแรงเรื่อยๆ
วิธีป้องกันเอ็นร้อยหวายขาด
- อบอุ่นร่างกายในตอนเช้าหรือก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง เพื่อให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นและปรับตัว
- ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป เริ่มจากเบาๆแล้วค่อยเพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ
- ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหลายๆชนิดสลับกันไปหรือทำกายภาพบำบัด เน้นสร้างกล้ามเนื้อส่วนน่อง เพื่อลดความตึงและแรงกระทบที่ส่งผลต่อเส้นเอ็นบริเวณหลังข้อเท้าโดยตรงทำให้เอ็นร้อยหวายขาด
- หากมีอาการ ปวดบริเวณหลังข้อเท้าระหว่างที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมบางอย่างควรหยุดพักทันที
- เลือกรองเท้าให้เหมาะสมพอดีกับเท้า ส่วนผู้ที่ใส่รองเท้าส้นสูงอาจจะค่อยๆลดระดับความสูงลงมาและไม่ควรใส่ติดกันนาน ให้ใส่สลับแบบอื่นด้วย
- ถ้าจำเป็นต้องทำกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อตรงส่วนตรงส้นเท้าให้ใส่เครื่องป้องกันอย่างเหมาะสม เช่น แผ่นรองส้นเท้า อุปกรณ์พยุงข้อเท้า หมอนรองเท้า เป็นต้น
วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และป้องกันไม่ให้เกิดโอากาสเสี่ยงเอ็นร้อยหวายขาดด้วย
สรุปสาเหตุที่ทำให้เอ็นร้อยหวายขาด
การทำงานกิจกรรมหรือออกกำลังกายหนักเกินไปเป็นเหตุทำให้เอ็นร้อยหวายขาด ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 แบบ จะค่อยๆขาดหรือขาดแบบเฉียบพลัน ถ้าเป็นขึ้นมาจะรู้สึกปวด บวม ไม่มีแรงกระดกข้อเท้าและจะเดินลำบาก แล้ววิธีการรักษาทำกายภาพบำบััด ซึ่งขึ้นอยู่กับบุคคลและการดูแลเอาใจใส่เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นอีกครั้งคือสิ่งที่สำคัญที่สุด