บ้านสำหรับผู้สูงอายุ

บ้านสำหรับผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจ

บ้านไม่ได้เป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นที่ที่สร้างความสุขระหว่างคนในครอบครัวเพื่อจะใช้ชีวิตร่วมกันให้ความรัก ความอบอุ่นและความปลอดภัย ดังนั้นการออกแบบบ้านสำหรับผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้อง ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัย”

ดังนั้นเรามาดูกันว่าบ้านที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นอย่างไร?

สารบัญเนื้อหา

บ้านสำหรับผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง

การเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์

การออกแบบห้องภายในบ้าน

การจัดพื้นที่รอบบ้าน

บ้านปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ต้องมีอะไรบ้าง

  • พื้นเรียบเสมอกัน ไม่ลื่น
  • มีแสงสว่างเพียงพอ
  • สวิสต์ไฟใหญ่ เห็นได้ชัด
  • ติดตั้งปุ่มสัญญาณขอความช่วยเหลือ
  • เลือกใช้ประตูบานเลื่อน
  • ติดตั้งราวจับ
  • เก้าอี้ต้องมีพนักแขนทุกตัว

กลับสู่สารบัญ

การเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์

พื้นบ้าน

พื้นบ้าน

พื้นบ้านควรเลือกเป็นพื้นเท่ากันทั้งบ้าน ใช้วัสดุกันลื่น ไม่ควรขัดให้มันวาว มีลวดลายให้ผิวสัมผัสรู้สึกหยาบ เลือกสีพื้นที่มองเห็นน้ำชัดเพื่อป้องกันเหยียบพื้นที่เปียกน้ำป้องกันลื่น พื้นจะต้องไม่ลื่นหรือแข็งจนเกินไป ถ้าเป็นพื้นนุ่มๆยิ่งดีเลย เผื่อไว้ป้องกันลื่นหกล้ม

บนพื้นไม่ควรวางพรมเพราะนอกจากจะมีฝุ่นแล้วผู้สูงอายุอาจจะสะดุดล้มได้ แต่ถ้าอยากมีพรมไว้ตกแต่งแนะนำให้ใช้พรมแบบกันลื่นหรือต้องติดเทปกันลื่นไว้ที่ติดขอบและมุมให้แน่นของพรมไม่ให้มันเคลื่อนไหว

แต่ควรหลีกเลี่ยงพื้นต่างระดับและไม่ควรมีธรณีประตูมากั้น เพราะจะทำให้ลื่นล้มได้ง่าย หากมีพื้นต่างระดับควรแยกสีจากกันให้ชัดเจนและต้องทำเครื่องหมายชัดเจน

กลับสู่สารบัญ

นอกจากการหลีกเลี่ยงพื้นต่างระดับเพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุหกล้มแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่เป็นสาเหตุอีกด้วย

ผนังห้อง

เลือกผนังห้องที่ป้องกันเสียงไม่ให้เสียงจากภายนอกเข้ามาข้างในมากเกินไป ทาผนังห้องให้เหมาะกับสไตล์ผู้สูงอายุและช่วยให้ห้องนอนสว่าง เช่น สีขาว สีเหลืองอ่อน สีครีม สีน้ำตาลอ่อน สีเขียว เป็นต้น ควรใช้สีที่ตัดกันระหว่างพื้นต่างระดับ

กลับสู่สารบัญ

ทางลาด

มีความกว้าง 90-150 เซนติเมตร ความยาวตั้งแต่ 2.5 เมตร และต้องมีราวจับทั้งสองด้านและสูงจากพื้นทางลาด 80 เซนติเมตร หากจำเป็นต้องทำพื้นต่างระดับต้องทำทางลาดควบคู่กัน อัตราส่วนของพื้นยกระดับต่อทางลาดเท่ากับ 1:12 เช่นพื้นยกระดับ1เมตร ต้องมีทางลาดยาว12เมตร

กลับสู่สารบัญ

บันได

บันได

ถ้าเป็นบันไดแบบทางเดียวมีความกว้างอย่างน้อย 0.9 เมตร แต่ถ้าเป็นบันไดแบบเดินสวนกันไดให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า1.5เมตร และมีชานพักทุกๆไม่เกิน2เมตร

ความสูงราวจับประมาณ 0.8 เมตรตลอดทั้งสองข้าง ลูกตั้ง(ความสูงของแต่ละขั้น)ไม่เกิน15เซนติเมตร ลูกนอน(ความกว้างของขั้นบันได)ไม่น้อยกว่า 28 เซนติเมตร และมีจมูกบันไดยื่น 2 เซนติเมตรและมองเห็นสีได้ชัดเจน

กลับสู่สารบัญ

ราวจับ

ติดตั้งราวจับรอบห้องเพื่อใช้ยึดจับและช่วยเดิน ความสูงจากพื้นประมาณ 80-90 เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร

กลับสู่สารบัญ

ประตู

ประตูทุกห้องควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร ไว้สำหรับให้รถเข็นเข้าสามารถเข้า-ออกได้สะดวก ควรเลือกใช้ประตูบานเลื่อนเปิด-ปิดง่าย นอกจากจะช่วยประหยัดพื้นที่แล้วหากเกิดอะไรขึ้นระหว่างที่ผู้สูงอายุอยู่คนเดียว คนในบ้านจะได้เปิดประตูเข้าไปช่วยเหลือไดทันและไม่โดนตัวผู้สูงอายุอีกด้วย

ประตูทุกบานไม่ควรเป็นลูกบิดให้เลือกด้ามจับแบบบานประตูหน้าต่างหรือเป็นคันโยกที่เปิดง่าย เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีแรงบิดลูกบิด ถ้าใช้เป็นคานจับไม่ต้องออกแรงมากแค่ลงน้ำหนักมือประตูก็จะเปิด

กลับสู่สารบัญ

หน้าต่าง

เลือกหน้าต่างขนาดกว้างและไม่ควรอยู่สูงจากพื้นมากนัก เพื่อให้ผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นมองเห็นวิวภายนอกชัดเจน

กลับสู่สารบัญ

แสงไฟ

เพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอทุกจุดทั้งภายใน-ภายนอกบ้าน โดยเฉพาะบริเวณทางเดิน บันไดและในห้องน้ำ เช่น หลอดไฟใหญ่กลางหก โคมไฟตั้งโต๊ะ ไฟระหว่างทางเดิน เลือกใช้ไฟแสงนวลไม่จ้าจนเกินไป และมีความสว่างใกล้เคียงกัน หรือเลือกใช้หน้าต่างเพิ่มเพื่อให้แสงจากธรรมชาติช่วยให้บ้านสว่างขึ้น

กลับสู่สารบัญ

ปุ่มฉุกเฉินหรือเครื่องมือสื่อสาร

ควรติดตั้งปุ่มฉุกเฉินหรือเครื่องมือสื่อสารในจุดต่างๆทั่วทั้งบ้านในห้องนอน ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น แต่ต้องอยู่ในจุดที่ผู้สูงอายุสามารถเอื้อมมือถึงได้ และมีปุ่มขนาดใหญ่เพื่อขอความช่วยเหลือในยามฉุกเฉินและให้ผู้ดูแลสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ทันที ส่วนในห้องครัวควรเพิ่มเครื่องตรวจจับสัญญาณไฟไปด้วย

กลับสู่สารบัญ

สวิตซ์ไฟและปลั๊กไฟ

ปุ่มสวิตซ์ไฟควรมีขนาดใหญ่ สีขาวเรืองแสงมองเห็นในที่มืด วางตำแหน่งให้อยู่พอดีกับผู้สูงอายุกดได้สะดวกไม่ต้องเอื้อม ตำแหน่งที่พอเหมาะจากพื้น120เซนติเมตร ติดตั้งสวิตซ์ไฟ พัดลม แอร์ ไว้ในตำแหน่งเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น ที่หัวเตียง มุมประตู เป็นต้น

ส่วนปลั๊กไฟติดอยู่ความสูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร ไม่ต่ำจนเกินไฟเพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุก้มลงไปมาก

กลับสู่สารบัญ

เฟอร์นิเจอร์

เลือกเฟอร์นิเจอร์ที่แข็งแรงไว้เป็นตัวช่วยยึดเกาะมากกว่าเน้นตกแต่ง เลือกใช้แต่เฟอร์นิเจอร์หลักๆ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง ลิ้นชักใส่ของ เก้าอี้ โซฟา เป็นต้น ไม่เน้นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งเยอะจนเกินไป

กลับสู่สารบัญ

เก้าอี้

เลือกเก้าอี้ที่นั่งสบาย เมื่อนั่งแล้วให้เข่าทำมุม 90 องศา เท้าต้องแนบกับพื้นพอดี ไม่ปวดหลังหรือปวดเข่าเมื่อนั่งนานๆ ควรมีหลายขนาดและหลายระดับ หรือเลือกเก้าอี้ที่สามารถปรับระดับความสูงได้ เก้าอี้หรือโซฟาทุกตัวต้องมีที่วางแขน นอกจากจะช่วยให้นั่งสบายแล้วยังช่วยพยุงผู้สูงอายุเวลาลุกหรือนั่ง

กลับสู่สารบัญ

การออกแบบห้องภายในบ้าน

ห้องนั่งเล่น

ห้องนั่งเล่นมีพื้นที่ระยะทางให้เดิน-รถเข็นที่กว้าง เลือกใช้สีโทนสว่าง พื้นที่ใช้เป็นวัสดุนุ่ม และควรตั้งอยู่ในทิศตะวันออกและมีหน้าต่างรับแสงเพียงพอเพื่อให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า

จัดวางเฟอร์นิเจอร์อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นระเบียบ ไม่ตั้งเฟอร์นิเจอร์กีดขวางทางเดินหรือเบียดกันจนเกินไป มี ที่สำคัญของตกแต่งไม่ควรเป็นวัสดุแก้วที่หล่นแตกได้ง่าย ส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าควรใช้กับปลั๊กติดผนัง ถ้าใช้ปลั๊กพ่วงไม่ควรลากสายไฟยาวหรือกลางทางเดินห้องเพื่อป้องกันการสะดุดล้ม

กลับสู่สารบัญ

ห้องครัว

จัดวางโต๊ะอาหาร เคาน์เตอร์และตู้เย็นอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม อ่างล่างมือควรตั้งอยู่ในมุมที่ไม่ใช่บริเวณเดินไปเดินมา เพื่อป้องกันการลื่นล้มหากมีหยดน้ำบนพื้น

เลือกโต๊ะและเคาน์เตอร์ที่มีขอบมนและต้องมีความสูงจากพื้น 80 เซนติเมตร ด้านล่างของโต๊ะ เคาน์เตอร์ และอ่างล้างมือควรเป็นที่โล่งเพื่อสะดวกในการสอดขาหรือรถเข็นเข้าไปนั่งได้สะดวก ตู้วางสิ่งของเลือกต่ำกว่าปกติเพื่อให้ผู้สูงอายุที่นั่งวีลแชร์สามารถหยิบจับใช้งานได้ถนัด ส่วนเตาทำอาหารควรเลือกเป็นเตาไฟฟ้ามากกว่าเตาแก๊ส

**ที่สำคัญไม่ควรเก็บของมีคมและแก้วไว้ที่สูง และมีหน้าต่างที่สามารถระบายอากาศได้เร็ว หากเกิดควันหรือไฟไหม้**

กลับสู่สารบัญ

ห้องนอน

ตั้งอยู่ชั้นล่างในตำแหน่งที่สามารถเชื่อมโยงไปกับห้องอื่นๆได้ง่าย มีหน้าต่างสูงจากพื้น 50 เซนติเมตร ไม่ว่างเตียงในมุมอับและควรอยู่ใกล้ห้องน้ำ

วางเตียงในตำแหน่งที่โล่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เตียงนอนควรยาวไม่น้อยกว่า 180 เซนติเมตร เตียงนอนต้องเดินได้ทั้ง 3 ด้านและเว้นพื้นที่รอบเตียงด้านละ 90 เซนติเมตร เพื่อสะดวกต่อการขึ้น-ลงรถเข็น แต่ต้องระวังเรื่องการตกเตียงคือการเลือกเตียงไม่สูงเกินไป ให้พอดีกับความสูงของผู้สูงอายุวัดจากการนั่งข้างเตียงแล้วสามารถวางขากับพื้นให้ตั้งฉากได้พอดี ถ้ายังกลัวผู้สูงอายุอาจจะนอนดิ้นให้เลือกเตียงที่มีราวกันตกและสามารถปรับระดับได้

**บนหัวเตียงควรมีโทรศัพท์หรือสัญญาณฉุกเฉิน**

กลับสู่สารบัญ

ห้องน้ำ

พื้นที่ในห้องน้ำควรมีความกว้าง 1.5-2เมตร ขยับตัวได้สะดวกสามารถนำรถเข็นเข้าไปได้ ประตูเป็นบานเลื่อนและต้องมีความกว้าง 90เซนติเมตร วัสดุพื้นผิวในห้องน้ำมีผิวสัมผัสที่หยาบ เพื่อป้องกันความปลอดภัยและกันลื่น

ภายในห้องน้ำมีราวจับเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เซนติเมตรรอบห้อง ไม่ควรมีพื้นต่างระดับและควรแยกส่วนระหว่างส่วนที่อาบน้ำและส่วนแห้งออกจากกัน มีเก้าอี้พลาสติกหรือที่นั่งสำหรับอาบน้ำ และต้องวางสุขภัณฑ์ควรอยู่ในตำแหน่งที่ใช้งานง่านไม่สูงเกินไป

และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือสัญญาณฉุกเฉิน และไม่ควรให้ผู้สูงอายุล็อคประตูในห้องน้ำเด็ดขาดหรือไม่ต้องต้องมีกลอนประตูเผื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินคนในบ้านจะเข้าไปช่วยได้ทัน

กลับสู่สารบัญ

การจัดพื้นที่รอบบ้าน

ควรมีพื้นที่ให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมเช่น จัดสวนหย่อม ปลูกต้นไม้เพื่อช่วยเพิ่มบรรยากาศสร้างความร่วมรื่น ให้ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลาย หรือทำเป็นทางเดินออกกำลังกาย ถ้ามีสระน้ำไม่ควรลึกเกิน1เมตรและควรมีบันไดลงสระ ตำแหน่งของสระไม่ควรอยู่ติดกับทางเดิน เพราะอาจจะสะดุดล้มแล้วทำให้ผลัดตกสระน้ำก็ได้

หากมีผู้ดูแลควรจัดห้องของผู้ดูแลไว้ในห้องเดียวกับผู้สูงอายุหรือห้องที่เปิดประตูถึงกันได้

กลับสู่สารบัญ

หากยังไม่เข้าใจ สามารถดูวีดีโอเพิ่มเติม
ปรับเปลี่ยนบ้านให้น่าอยู่และปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุกันครับ

สรุป

ในปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นต้องเลือกบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุและไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน เพื่อให้บ้านเป็นที่พักผ่อนและมีความสุขได้อย่างเต็มที่ ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดควรมีปุ่มฉุกเฉินไว้รอบบ้านเผื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะได้เข้าช่วยเหลือทันที

กลับสู่สารบัญ