สภาพจิตใจผู้ดูแล

8 วิธีการดูแลสภาพจิตใจของผู้ดูแล

หลังจากที่ได้อ่านวิธีดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุไปแล้ว ผู้ดูแลก็มีจิตใจและมีความกังวลเช่นเดียวกันเพราะต้องใช้เวลาทั้งวันเพื่อดูแลผู้สูงอายุซึ่งผู้สูงอายุแต่ละคนไม่เหมือนกัน อาจส่งผลให้ผู้ดูแลมีกังวลและมีความเครียด ถ้าปล่อยไส้สะสมเป็นเวลานานอาจจะทำให้รู้สึกแย่หรือกลายเป็นโรคซึมเศร้าไปเลยก็ได้ ดังนั้นเราควรเอาใส่ใจดูแลทั้งผู้ดูแลและผู้สูงอายุเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทั้งคู่

สารบัญเนื้อหา

ปัญหาส่วนใหญ่ของผู้ดูแล

วิธีดูแลสภาพจิตใจของผู้ดูแล

สรุป

ปัญหาส่วนใหญ่สำหรับผู้ดูแล

  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีความเครียด
  • ความสัมพันธ์ขัดแย้งกัน
  • ไม่มีเวลาส่วนตัว
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะผู้ดูแลต้องคอยดูแลผู้สูงอายุตลอดเวลาแม้กระทั่งตอนกลางคืน เหมือนว่าต้องคอยดูแล 24 ชั่วโมง
  • มีความเครียด เพราต้องดูแลผู้สูงอายุและเกรงว่าอาจจะดูแลไม่ดีหรือไม่ทั่วถึงอาจจะกลัวโดนตำหนิได้
  • ความสัมพันธ์ขัดแย้งกับครอบครัวของผู้สูงอายุ อาจจะมีความคิดเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับวิธีการดูแลหรือไม่พอใจกับพฤติกรรมของกันและกัน ทำให้ต่างฝ่ายต่างรู้สึกอึดอัดต่อกัน
  • ไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง รู้สึกขาดความอิสระ การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไป อยากจะไปไหน ทำอะไรหรืออยากจะลาหยุดก็ไม่กล้าเพราะรู้สึกว่าอาจจะดูแลผู้สูงอายุได้ไม่เต็มที่

เพราะผู้ดูแลต้องคอยทำหน้าที่ดูแลทั้งร่างกาย จิตใจและอารมณ์ทั้งตัวผู้สูงอายุและครอบครัวของผู้สูงอายุ และยังต้องเจอกับผู้สูงอายุหลายรูปแบบทั้ง “ผู้สูงอายุปกติหรือมีร่างกายอ่อนแอ ผู้ป่วยที่ต้องทำการsuction(การดูดเสมหะ)รวมถึงผู้ป่วยติดเตียง” ซึ่งจะมี วิธีการดูแลที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงผู้ดูแลต้องคอยดูแลอยู่ตลอดเวลาเพราะต้องคอยพลิกตัวทุกๆ2ชั่วโมงเพื่อไม่ให้เป็นแผลกดทับ จึงไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน

กลับสู่สารบัญ

วิธีดูแลสภาพจิตใจผู้ดูแล

 

วิธีดูแลสภาพจิตใจของผู้ดูแล

ปัญหาที่กล่าวมามีผลต่อกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ดูแล ทำให้มีความคิดที่ “อยากลาออก ไม่อยากมาทำงาน” เราจึงมีวิธีที่ทำผู้ดูแลไม่มีความคิดเหล่านั้นมาฝาก โดยต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

ต้องการพักผ่อนให้เพียงพอ

หลังจากที่ต้องดูแลผู้สูงอายุตลอดเวลาทำให้เวลานอนเหลือน้อยหรือแทบจะไม่ได้นอนเลย(สำหรับเคสดูแลผู้ป่วยติดเตียง) อีกทั้งยังใช้พลังงานมาทั้งสัปดาห์ ร่างกายจึงเริ่มอ่อนล้า ดังนั้นการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ “การนอนหลับ” ไม่ได้ให้นอนทั้งวันนะครับ! เพราะจะทำให้รู้สึกไม่สดชื่น แต่ให้นอนเพิ่มมากกว่าปกติ 2-3 ชั่วโมงเหมือนได้ชาจพลังงานเต็มที่ทำให้ร่างกายแจ่มใส สมองปลอดโปร่งเตรียมพร้อมไปทำงาน

ให้เวลาส่วนตัวหรือวันหยุด

ทุกคนต้องการเวลาส่วนตัวและพักผ่อน ไม่ควรให้ผู้ดูแลทำงานตลอดทั้งวัน 24 ชั่วโมง สำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะต้องคอยดูแลตลอดเวลาดังนั้นควรมีผู้ดูแลสับเปลี่ยนเวรกัน เพื่อไม่ให้ผู้ดูแลทำงานหนักเกินไปและมีเวลาส่วนตัวมากขึ้น และควรมีวันหยุดอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 วัน โดยผลัดเปลี่ยนให้ผู้ดูแลคนอื่นหรือญาติของผู้สูงอายุมาดูแลแทน

ทำกิจกรรมที่ชอบ

เมื่อมีเวลาว่างหลังจากทำงานหนัก ลองนัดกับเพื่อนไปทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น เล่นกีฬา ออกกำลังกายหรือไปทานอาหารที่ชอบ ยิ่งถ้าได้ทำกิจกรรมที่ชอบกับกลุ่มเพื่อนจะรู้สึกสบายใจและสนุกมากขึ้น หรือจะเลือกไปนวดให้ร่างกายผ่อนคลายและสบายก็ได้

ให้ความรัก ความจริงใจ

ไม่ควรคิดว่าผู้ดูแลคือคนใช้ที่ให้ทำงานอย่างเดียว ผู้ดูแลก็ต้องการความรัก ความจริงใจจากผู้สูงอายุและครอบครัวของเขา คอยให้ความช่วยเหลือเมื่อผู้ดูแลมีปัญหา ทำให้ผู้ดูแลรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้อยู่คนเดียว แต่รู้สึกว่ายังมีคนอื่นคอยช่วยเหลืออยู่ตลอด

ให้เกียรติซึ่งกันและกัน

การให้เกียรติถือเป็นมารยาทพื้นฐานที่ควรมี ต่างฝ่ายต่างไม่ควรดูถูก เหยียดหยามไม่ว่าจะด้วยท่าทางหรือคำพูด เพราะจะทำให้คนฟังรู้สึกไม่ดีและไม่นับถืออีกด้วย เราต้องไม่เห็นแก่ตัวและรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ดูแลเคารพและรับถือต่อครอบครัวของผู้สูงอายุ ถ้าเราเป็นฝ่ายให้เกียรติก่อน แน่นอนว่าอีกฝ่ายก็จะปฏิบัติกับเราอย่างดีเช่นกัน

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

เป็นสร้างบรรยายการที่ดีเพราะไม่ว่าเป็นผู้ดูแล ผู้สูงอายุหรือญาติของผู้สูงอายุควรพูดจาดีๆกับอีกฝ่ายมันแสดงถึงความมีน้ำใจและอัธยาศัยที่ดี เพราะผู้ดูแลก็เปรียบเสมือนส่วนหนึ่งในครอบครัวหากได้ฟังคำพูดดีๆจะรู้สึกสบายใจ ถ้าได้ยินคำพูดไม่ดีจากผู้สูงอายุหรือครอบครัวของเขา อาจจะรู้สึกไม่ดีทำให้ไม่อยากมาทำงานหรือดูแลผู้สูงอายได้ไม่ดี

รับฟังปัญหา

การรับฟังปัญหา ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบจะช่วยให้ผู้ดูแลรู้สึกว่าไม่ได้อยู่คนเดียว และเมื่อมีปัญหาผู้ดูแลจะกล้าพูด เล่าความรู้สึกในใจ ระบายความเครียดหรือปัญหาต่างๆเพื่อจะได้รู้สึกดีขึ้น และอยากขอคำปรึกษาโดยตรงเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและผ่อนคลายความเครียดลงได้ ช่วยให้ผู้ดูแลรู้สึกว่าไม่ได้อยู่คนเดียว

ให้กำลังใจ

ถ้าผู้ดูแลทำงานผิดพลาดเราไม่ควรด่าว่าผู้ดูแลรุนแรงเกินไปจะทำให้เขารู้สึกไม่สบายใจ เพราะใครก็ทำผิดพลาดได้เช่นกัน ให้ลองพูดคุย ให้กำลังใจและปรับความเข้าใจกันจะดีกว่า และให้คิดซะว่าความผิดพลาดตรงนั้นเป็นจุดบกพร่องและแก้ไขเพื่อที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้นอีกในอนาคต

หากได้ลองทำตามวิธีเบื้องต้นจะช่วยให้รักษาเยียวยาจิตใจ สุขภาพจิตดีขึ้นเป็นตัวช่วยเพิ่มพลังให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกดีต่อกันด้วย

กลับสู่สารบัญ

เพราะจิตใจและความรู้สึกเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับทุกคนต้องเคยเผชิญกับปัญหาและมีความเครียดกันบ้าง ทั้งผู้ดูแลและผู้สูงอายุ ก็ต้องรักษาสุภาพจิตเช่นกัน ดังนั้นควรดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุด้วย

สรุปวิธีการดูแลสภาพจิตใจของผู้ดูแล

ถ้าผู้ดูแลก็มีความเครียดหรือรู้สึกไม่สบายใจอาจจะทำให้ดูแลผู้สูงอายุได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นหากต้องการให้ผู้ดูแลมีสุขภาพจิตที่ดีสามารถเข้ากับผู้สูงอายุหรือครอบครัวได้ ต้องให้ความรัก ความเอาใจใส่เปรียบเสมือนครอบครัวของตนเองคนหนึ่ง เมื่อผู้ดูแลมีความสุขจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกดีไปด้วย

กลับสู่สารบัญ