การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ต้องรับมืออย่างไร

        ตั้งแต่เกิดร่างกาย ของทุกคนมีการพัฒนาและเติบโตขึ้นตลอดเวลา แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้วการทำงานทุกอย่างกลับเริ่มเสื่อมลงและจะไม่มีพัฒนาการเกิดขึ้น ลักษณะ การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ทั้งด้านจิตใจ สังคม โดยจะขึ้นอยู่กับบุคคลและปัจจัยหลายอย่างโดยเฉพาะโรคประจำตัว ความเครียด ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวเป็นต้น ดังนั้นเรามาเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุกันดีกว่าครับ

สารบัญเนื้อหา

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุทางด้านร่างกาย

การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์

การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม

สรุป

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุทางด้านร่างกาย

        ทั้งอวัยวะภายนอกและภายในระบบต่างๆเริ่มเสื่อมถอยลง มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุที่เห็นได้ชัดที่สุดโดยเฉพาะ ทางด้านร่างกาย ความแตกต่างจะขึ้นอยู่กับบุคคล

จะรู้ได้อย่างไร? เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ สังเกตุได้ง่ายดังนี้

  • เส้นผม ขนแขน-ขา เปลี่ยนเป็นสีขาว
  • ผิวหนังเหี่ยวย่น
  • สายตาไม่ดี
  • หูตึง
  • ฟักโยก หรือผุง่าย
  • พูดเสียงเบา เหมือนไม่มีแรง
  • กระดูกเปราะบาง
  • กล้ามเนือไม่มีแรง
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ

ลักษณะ ภายนอก

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุลักษณะ ภายนอก มีดังนี้

  • เส้นผมและขนแขนจะบางและกลายเป็นสีขาวหรือเทา หรือเรียกว่า ผมหงอก
  • ผิวหนังเหี่ยวย่น บาง แตก แห้ง มีจุดด่างสีขาว ดำ น้ำตาล เนื่องจากน้ำและไขมันลดลงจึงทำให้เกิดแผลได้ง่าย รวมถึงการรับรู้ความรู้สึกต่อสภาพอากาศน้อยลง รู้สึกร้อนๆหนาวๆ ต่อมเหงื่อมีขนาดแลจำนวนน้อยลงทำให้การขับเหงื่อไม่ดี มักเป็นลมแดด
  • การมองเห็นไม่ดี ลูกตามีขนาดเล็กลง ตาลึก หนังตาตก สายตายาวขึ้น มองภาพใกล้ไม่ชัด ความสามารถในการแยกสีลดลงทำให้มองในที่มืดหรือเวลากลางคืนได้ไม่ดี ต่อมผลิตน้ำตาลดลงทำให้ตามแห้งหรือระคายเคืองได้
  • หู การได้ยินลดลงตั้งแต่อายุ 40 ปี แต่อาการหูตึงจะพบมากอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากความเสื่อมสภาพของหูชั้นใน กระดูกหูชั้นกลางแข็งขึ้นทำให้ได้ยินไม่ค่อยชัด
  • ฟัน เป็นปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้สูงอายุต้องเจอ ฟันโยก ผุ แตกหักง่ายไม่แข็งแรง จำเป็นต้องใส่ฟันปลอมเพื่อช่วยในการเคี้ยวอาหาร หรือเลือกอาหารที่เคี้ยวง่ายทำให้ขาดสารอาหารบางประเภทที่จำเป็น
  • การพูด พูดเบา ไม่มีแรง
  • กระดูก เปราะบาง พรุน แตกหักง่าย น้ำหนักกระดูกลดลงเกิดจากการขาดวิตามินดีและแคลเซียม หลังค่อม หมอนรองกระดูกบางลง กร่อน อาการเจ็บปวดกระดูกบ่อย อาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้
  • กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง เหี่ยว เล็ก ลีบ ไม่มีแรง ถ้าทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากจะรู้สึกล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยหอบง่าย

กลับสู่สารบัญ

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายในผู้สูงอายุ

ระบบภายในร่างกาย

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุระบบภายใน มีดังนี้

  • ระบบประสาท เกิดจากเซลล์ประสาทตายแล้วไม่มีการเกิดขึ้นใหม่อีก ทำให้ความจำแย่ ความสามารถการเรียนรู้ลดลง ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆลดลง ความรู้สึกและการเคลื่อนไหวช้าไปด้วย
  • ระบบการไหลเวียนเลือด หลอดเลือดฝอยเปราะส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะลดลงและทำให้อวัยวะตาย ประสิทธิภาพการทำงาน อัตราการเต้นของหัวใจลดลง มีโอกาสเสี่ยงหัวใจวายได้ง่าย ไขมันเกาะอยู่ตามผนังเส้นเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจมีพังผืดขึ้น มีโอกาสความดันสูงมากกว่าคนปกติ
  • ระบบทางเดินหายใจ หายใจลำบาก รู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ ถ้าทำกิจกรรมที่ใช้กำลังมากจะรู้สึกหายไม่ทันเกิดจากความแข็งแรงกล้ามเนื้อช่วยหายใจลดลง การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ความจุและจำนวนถุงลมมีขนาดใหญ่ขึ้นมีโอกาสที่ถุงลมแตกง่าย เยื้อหุ้มปอดแห้งปอดไม่ขยายทำให้เกิดน้ำคั่งในปอด
  • ระบบทางเดินอาหาร ฟันของผู้สูงอายุไม่ค่อยดีจึงเคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียดส่งผลให้กระเพราะทำงานหนัก น้ำย่อยในกระเพาะอาหารน้อยลงทำให้อาหารต้องอยู่ในกระเพาะนานขึ้นและทำให้ท้องอืดง่าย
  • ระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะมีขนาดเล็กลง ทำให้ต้องปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะผู้ชายมีปัญหาต่อมลูกหมากโตทำให้ช่วงกลางคืนต้องลุกมาปัสสาวะบ่อยและต้องเบ่งปัสสาวะนาน
  • ระบบต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนต่าง แต่การทำงานของต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์น้อยลง ทำให้ผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง ตับอ่อนก็ผลิตอินซูลินน้อยลงทำให้น้ำตาลในเลือดสูง มีโอกาสเป็นเบาหวานมากขึ้น

กลับสู่สารบัญ

มาออกกำลังกายเพื่อเตรียมความพร้อมร่างกาย สำหรับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุกันดีกว่าครับ

การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ อารมณ์ในผู้สูงอายุ

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุทางด้านจิตใจและอารมณ์

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ไม่เพียงแต่ทางร่างกาย เท่านั้น แต่ความรู้สึก การรับรู้ จิตใจ อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ลักษณะ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ยึดติดกับความคิดของตัวเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ยากเพราะขาดความมั่นใจและการเรียนรู้เริ่มเสื่อมลง
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ซึมเศร้า หงุดหงิด โกรธง่าย ใจร้อน ฉุนเฉียว เบื่อหน่าย คิดว่าตนเองเป็นภาระต่อผู้อื่น
  • ชอบอยู่คนเดียว เก็บตัวไม่เข้าสังคม
  • มกมุ่น อาลัยอาวรณ์คิดถึงเรื่องในอดีต
  • กลัวความตาย กลัวการสูญเสียอวัยวะ สูญเสียบุคคลในครอบครัว
  • ไม่ยอมรับความสามารถของตนเอง กลัวไม่เป็นที่ยอมรับ
  • รู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่ เพราะลูกหลานต่างแยกย้ายไปมีครอบครัวหรือทำงาน
  • จำเหตุการณ์ปัจจุบันไม่ได้ หลงๆลืมๆ ชอบย้ำคิดย้ำทำ
  • สนใจเฉพาะเรื่องตนเองมากกว่าเรื่องผู้อื่น

กลับสู่สารบัญ

 

อ่านวิธีดูแลสภาพจิตใจ ของผู้สูงอายุเพิ่มเติมที่บทความนี้เลยครับ

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุทางด้านสังคม

        วัยผู้สูงอายุเป็นเวลาของการเกษียณที่ไม่จำเป็นต้องทำงานแล้ว รู้สึกไม่ได้รับการยกย่อง ไม่มีคนเคารพเหมือนที่ผ่านมา ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง

        แต่มีผลดีทำให้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้นหลังจากที่ทำงานมานาน เปิดโอกาสได้ลองทำสิ่งต่างๆที่อยากลองและยังไม่ได้ลอง เช่น ท่องเที่ยว ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ ถักไหมพรม ปฏิบัติธรรมเป็นต้น นอกจากใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์แล้วยังมีโอกาสได้พูดคุยพบปะผู้อื่นเพื่อสร้างความสัมพันธ์และไม่รู้สึกโดดเดี่ยว

        สำหรับบางคนอยากอยู่คนเดียว เบื่อกับสังคม วุ่นวายที่มีคนเยอะและรถพลุกพล่าน อยากย้ายที่อยู่ไปอยู่ที่ไกลๆ สงบตามชนบทกับลูก หรือย้ายไปอยู่สถานสงเคราะห์คนชราเพราะคิดว่าตนเองไม่ใช่หัวหน้าครอบครัวอีกแล้ว กลายเป็นแค่สมาชิกในครอบครัวที่ไม่มีภาระอะไร

กลับสู่สารบัญ

เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลายความเครียด พบปะและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสถานที่ใหม่ๆ แนะนำ 10 สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
ที่สำหรับผู้สูงอายุ

 

ฟังคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อเตรียมพร้อมรับมื่อเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ สามารถได้ดังนี้

สรุปการลักษณะการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

        สูงอายุเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นควรยอมรับและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในทุกๆด้าน ควรหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย ทางด้านจิตใจ ก็สำคัญเช่นกัน หางานหรือกิจกรรมให้ทำเพื่อเกิดความเพลิดเพลิน คลายเครียดและที่สำคัญไม่ควรปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่คนเดียว

กลับสู่สารบัญ