กล้ามเนื้ออ่อนแรง

กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการที่ไม่ควรมองข้ามเพราะทุกคนมีความเสี่ยง

          หลายคนอาจจะเคยได้ยินแคมเปญ Ice Bucket Challenge ที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกอยู่ช่วงหนึ่ง เพื่อให้คนรู้จักและตระหนักถึงโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย การเคลื่อนไหวได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาการ ของแต่ละคน เป็นโรคที่น่ากลัวเพราะสามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เนื่องจากพันธุกรรม หากไม่รีบรักษาอาจถึงขั้นเสียชีวิต เลยก็ได้ครับ

สารบัญเนื้อหา

กล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจาก

สังเกตอาการ

วิธีรักษา

ท่าบริหารสำหรับผู้ป่วย

สรุป

กล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจาก

          คนไทยที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงส่วนใหญ่จะพบชนิด MG และ ALS ซึ่งทั้ง 2 ชนิดมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการทำงานระบบภูมิคุ้มกันเหมือนกันแต่มีปัจจัยอื่นต่างกัน แล้วแต่ละชนิดเกิดจาก อะไรบ้าง?

กล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด MG (Myasthenia Gravis)

  • การทำงานระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อลายผิดปกติ
  • ต่อมไทมัสมีขนาดใหญ่ผิดปกติ สาเหตุนี้พบได้ในผู้ใหญ่เท่านั้น เนื่องจากตอนเด็กต่อมไทมัสจะมีชนาดใหญ่อยู่แล้ว และจะค่อยๆลงเล็กเมื่อโตขึ้น
  • ร่างกายจะสร้างแอนติบอดี้ต่อโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งโปรตีนชนิดนี้เป็นตัวรับสารอะซิติลโคลีน แต่พบว่าผู้ป่วยมีโปรตีนชนิดนั้นน้อยกว่าคนปกติถึง3เท่า ทำให้สารอะซิติลโคลีนไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากโปรตีนตัวรับถูกทำร้ายโดยแอนติบอดี้
  • กรรมพันธุ์ คนในครอบครัวหรือญาติเคยมีประวัติป่วยเป็นโรคนี้

กลับสู่สารบัญ

กล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด ALS (Amyotrophic Lateral Sclerosis)

  • เซลล์ประสาทสั่งการที่อยู่ในไขสันหลังและสมองค่อยๆเสื่อมหรือตาย ทำให้เกิดความผิดปกติแล้วส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่ทำงานหรืออ่อนแรงลง
  • สารปนเปื้อนจากสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง รังสีหรือติดเชื้อไวรัสบางชนิด ทำให้มีกลูตาเมตในร่างกายสูงเกินไป ไปเป็นตัวกระตุ้นให้เซลล์ประสาททำงานผิดปกติ
  • พันธุกรรม คนในครอบครัวหรือญาติที่เคยป่วยเป็นโรคนี้ และพบในช่วงอายุ 40-60ปีในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

กลับสู่สารบัญ

สังเกตอาการเบื้องต้น

  • หนังตาตก ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง
  • มองเห็นไม่ชัด
  • อ้าปากกว้างไม่ได้
  • ยิ้มไม่ถนัด
  • เคี้ยว กลืนอาหารลำบาก
  • แขน-ขาอ่อนแรง
  • ทรงตัวลำบาก

กล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด MG ถ้าเป็นระยะแรกจะไม่มีความรู้สึกปวด แต่จะแสดงออกมาให้เห็นชัดภายนอกตามร่างกาย เช่น หนังตาตกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง มองไม่ชัดหรือเห็นเป็นภาพซ้อน ยิ้มไม่ถนัด อ้าปากกว้างไม่ได้ ลิ้นขยับไม่ค่อยได้ การพูด เคี้ยวและกลืนอาหารลำบากอาจทำให้สำลักอาหารได้ มีอาการ แค่ชั่วคราวและจะดีขึ้นเมื่อได้พักผ่อน

หากปล่อยไว้นานเกิน จะเริ่มรุนแรงขึ้นและลามไปยังกล้ามเนื้อทั้งตัวเช่น แขนขาอ่อนแรง ลำคอตั้งชันไม่ได้ รู้สึกเหนื่อยง่าย หายใจลำบากเมื่อนอนราบอยู่บนเตียงหรือหลังออกกำลังกาย ส่งผลให้การเคลื่อนไหวลำบาก เช่น ทรงตัวได้ยาก เดินโซเซ

ถ้าเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย จำเป็นต้องให้อาหารทางสายยางและอาจเสียชีวิต เนื่องจากหัวใจล้มเหลว

**ถ้าเราเป็นโรคนี้อยู่ไม่ต้องกลัวการมีบุตรนะครับ เพราะเด็กที่เกิดจาก แม่ที่เป็นโรคนี้ยังไม่ถึงขั้นเสียชีวิต
เพียงแต่รู้สึกว่า กล้ามเนื้ออ่อนแรงตั้งแต่คลอด-ประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากนั้นจะหายไปเอง**

 

ผู้ป่วยที่เป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด ALS จะมีความรุนแรงมากกว่า เริ่มแรกจะรู้สึกอ่อนแรงตามมือ แขน ขาหรือเท้าข้างใดข้างหนึ่ง แล้วค่อยเป็นทั้ง2ข้างกระจายไปส่วนอื่นๆของร่างกาย ทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก เช่น สะดุดล้มบ่อย ขึ้นลงบันไดลำบาก ยกแขนไม่ขึ้น หยิบจับสิ่งของไม่สะดวก เป็นต้น บางคนอาจรู้สึกเนื้อเต้นหรือกล้ามเนื้อกระตุกร่วมด้วย ถ้าเป็นนานเข้าจะทำให้พูดไม่ชัด เคี้ยวหรือกลืนอาหารลำบาก หายใจไม่สะดวกและอาจเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจล้มเหลว

        เห็นมั้ยว่า กล้ามเนื้ออ่อนแรงทั้ง 2 ชนิด หากปล่อยไว้นานไม่รีบดูแลมีโอกาสที่จะทำให้เสียชีวิต เนื่องจากภาวะล้มเหลวได้

กลับสู่สารบัญ

วิธีรักษา

        ปัจจุบันการช่วยเหลือผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับบุคคลและความรุนแรง โดยที่แพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมเน้นให้ผู้ป่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง  ดังนั้นจึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดไม่ให้ผู้ป่วยแย่ลงกว่าเดิม

       ผู้ป่วยที่ยังสามารถช่วยเหลือตนเองได้ เริ่มต้นจะให้ยาเพื่อช่วยประสาทรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ยาไรลูโซลมารับประทานซึ่งเป็นยาที่ช่วยยับยั้งสารกลูตาเมต ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เซลล์ตาย และยาอีดาราโวนลดความเสื่อมของเซลล์ประสาท ถ้าหากรุนแรงขึ้นแพทย์จะค่อยๆปรับเปลี่ยนยาตามการตามสนองของผู้ป่วยแต่ละคน

ข้อระวัง!! ไม่ควรหยุดทานยาหรือซื้อยามาทานเอง เพราะยาแต่ละชนิดอาจมีผลข้างเคียง เช่น
ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

การผ่าตัดต่อมไทมัสเป็นวิธีสำหรับผู้ป่วยที่มีเนื้องอกที่ต่อมไทมัส ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงขั้นรุนแรงจะใช้วิธีเปลี่ยนถ่ายพาสมา เพื่อกำจัดแอนติบอดี้ที่ไปขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อ แต่วิธีให้ผลได้เพียงชั่วคราวและอาจเกิดผลข้างเคียงได้

หรืออีกวิธีหนึ่งคือ IVIG จะฉีดแอนติบอดี้ชนิด IgGเข้าไปเพื่อเพิ่มจำนวนแอนติบอดี้ให้มีริมาณเพียงพอต่อร่างกาย

วิธีนี้เสี่ยงน้อยกว่าพลาสม่าแต่จะเห็นผลใน3-6สัปดาห์และมีผลข้างเคียงไม่รุนแรง วิธีนี้ไม่ได้เป็นการกระตุ้นให้แอนติบอดี้ผลิตใหม่ ดังนั้นแต่ผู้ป่วยต้องทำการฉีดซ้ำๆทุกๆเดือน

นอกจากวิธีรักษากล้ามเนื้ออ่อนแรงทางการแพทย์แล้ว การดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะเรื่องอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันควรเลือกอาหารประเภทอ่อน หลีกเลี่ยงอาหารที่เคี้ยวยากหรือกลืนยา เช่น ผลไม้หรือผักสดเพื่อป้องกันการสำลัก

กลับสู่สารบัญ

ท่าบริหารสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง

      ในปัจจุบันผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ไม่มีวันรักษาหายขาดทำได้แค่เพียงชะลอความเจ็บปวดเท่านั้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ปกติ การออกกำลังก็เป็นสิ่งจำเป็นและควรทำเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อลีบและยังกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อข้างที่อ่อนแรงด้วย

      ผู้ป่วยที่เป็นระยะเริ่มต้นหรือยังเคลื่อนไหวร่างกายได้บ้างให้ฝึกท่าบริหาร เคลื่อนไหวร่างกายทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเอง เช่น ฝึกแต่งกาย อาบน้ำ รับประทานอาหาร ฝึกเดิน เป็นต้น

      ตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้นั่นคือ “ท่าบริหาร” สำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะคล้ายกับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต สามารถฝึกและทำตามคำแนะนำได้ตามคลิป

กลับสู่สารบัญ

การออกกำลังกายที่ไม่มีคำว่าสาย สำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงก็สามารถออกกำลังกายได้เช่นกัน โดยอ่านบทความนี้

สรุปวิธีการรักษาของกล้ามเนื้ออ่อนแรง

เมื่อเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีโอกาสหายกลับมาเป็นปกติได้ ขึ้นอยู่กับบุคคลการใช้ยาและวิธีบำบัดต่างๆเพียงตัวช่วยเพื่อบรรเทาการเจ็บปวดเท่านั้น สิ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยผ่านมันไปให้ได้คือ “กำลังใจ” ที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ย่อท้อเพื่อต่อสู้กับโรคนี้ต่อไป

กลับสู่สารบัญ