สิทธิคนพิการ

สิทธิคนพิการ สิ่งดีๆที่ควรได้รับตามกฎหมาย 2562

           คนพิการส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องสิทธิประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับเพราะยังขาดความรู้และไม่ได้รับข่าวสารอย่างทั่วถึง ปัจจุบันคนพิการสามารถทำบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย ได้ฟรี และจะได้รับสิทธิคนพิการ 2562 ที่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ของรัฐโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นครอบครัวที่มีผู้พิการและคนพิการควรได้รับความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ เพื่อที่ตนเองจะได้ไม่เสียสิทธิ

สารบัญเนื้อหา

ใครสามารถทำบัตรคนพิการได้บ้าง

สิทธิคนพิการที่ได้รับตามกฎหมาย

คนพิการกับสิทธิประกันสังคม

สรุป

ใครสามารถทำบัตรคนพิการได้บ้าง

ก่อนที่จะได้รับสิทธิคนพิการ ต้องมีบัตรคนพิการก่อน 

สำหรับผู้พิการที่สามารถทำบัตรคนพิการได้ ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

  • บุคคลที่สัญชาติไทย
  • มีความผิดปกติหรือความบกพร่อง
    • ทางด้านการมองเห็น
    • การได้ยิน
    • การเคลื่อนไหว
    • จิตใจ
    • สติปัญญา
    • การเรียนรู้
    • ออทิสติก

      ก่อนอื่นต้องไปพบแพทย์ในรพ.รัฐหรือรพ.เอกชน(ที่เข้าร่วม) เพื่อให้แพทย์ประเมินความพิการและออกใบรับรองความพิการตามกฎหมาย เมื่อได้ใบรับรองความพิการจากรพ. ให้ไปทำบัตรคนพิการที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แค่นี้เสร็จเรียบร้อยครับ

เมื่อได้บัตรคนพิการมาแล้ว เรามีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิ่งอำนวยความสะดวก สวัสดิการและความช่วยเหลือของรัฐตามที่กล่าวมาข้างต้น

กลับสู่สารบัญ

อ่านขั้นตอนการทำบัตรคนพิการอย่างละเอียดได้ที่บทความนี้เลยครับ

สิทธิคนพิการที่ได้รับตามกฎหมาย

        คนพิการทั่วไปทั้งคนที่มีบัตรและไม่มีบัตรคนพิการสามารถรับสิทธิคนพิการได้ดังนี้

1.ได้รับเบี้ยคนพิการ

เฉพาะผู้ที่ขึ้นทะเบียนมีบัตรประจำตัวคนพิการถูกต้อง และมีสิทธิลงทะเบียนขอรับ “เบี้ยคนพิการ” 2562 คนละ 800 บาท/เดือน จะจ่ายเป็นเงินสดหรือจ่ายผ่านบัญชีธนาคารภายในวันที่ 10 ของทุกเดือนตลอดชีวิตและสิ้นสุดลงเมื่อคนพิการเสียชีวิต/แจ้งขอสละสิทธิ 

ถ้าเป็นคนพิการที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับสิทธิทั้ง “เบี้ยคนพิการ” และ “เบี้ยผู้สูงอายุ”

อ่านขั้นตอนและเงื่อนไข เพื่อรับสิทธิเงินคนพิการได้ที่นี่

ส่วนผู้พิการที่อายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถลงทะเบียนขอรับสิทธิเบี้ยผู้สูงอายุได้เพิ่ม

เบี้ยคนพิการตามกฎหมาย

ภาพจาก homenayoo.com

2.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์

       สิทธิคนพิการยังได้รับบริการทางสาธารณะสุข เพื่อการรักษาพยาบาลและช่วยเหลือให้คนพิการสามารถทำกิจกรรมทั่วไปได้ตามความต้องการ จำเป็นต้องฝึกฝนและทำอย่างต่อเนื่องให้เกิดความชำนาญและป้องกันความพิการที่จะเกิดเพิ่มขึ้น

        เช่น กายภาพบำบัด, กิจกรรมบำบัด(กลุ่มสันทนาการ ฝึกอบรม), การประเมิน/แก้ไขการพูด, จิตบำบัด, พฤติกรรมบำบัด, ฟื้นฟูการได้ยิน-การมองเห็น, ได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการ, การพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการใช้ชีวิต, บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก (ฝังเข็ม นวดไทย), บริการทันตกรรม เช่น การเคลือบหลุมร่องฟัน, บริการเกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมช่วยความพิการและแจ้งข้อมูลข่าวสารสุขภาพผู้พิการสามารถเข้าถึงได้

       จะได้สิทธิคนพิการบริการข้างต้นก็ต่อเมื่อ เปลี่ยนจากสิทธิบัตรทองธรรมดาเป็นสิทธิคนพิการ ท.74  (“สิทธิหลักประกันสุขภาพ” หรือที่เคยรู้จักกันในนาม“สิทธิ๓๐ บาท หรือสิทธิบัตรทอง”)

      แสดงบัตรท.74 ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อขอบริการรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือการรักษาพยาบาล อาการเจ็บป่วยและได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการที่หน่วยบริการที่ระบุในบัตรประกันสุขภาพทั่วประเทศได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สิทธิบัตรทอง

ภาพจาก gnews.apps.go.th

3.ได้รับการศึกษาฟรี

      โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่พบความพิการจนตลอดชีวิต เป็นอีกประโยชน์หนึ่งของสิทธิคนพิการ สามารถแจ้งรับบริการได้ที่ศูนย์การศึกษา พิเศษประจำจังหวัด โรงเรียนใกล้บ้าน หรือสถานศึกษา หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ของจังหวัดต่างๆ หรือหน่วยงานที่ประกาศกำหนด

       เพื่อได้รับสิทธิทางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 15 ปี 2562 พร้อมได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลือ โดยเลือกสถานที่ ระบบและรูปแบบทางการศึกษาคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้พิการแต่ละประเภท

สิทธิคนพิการทางการศึกษา

ภาพจาก blog.eduzones.com

4.คนพิการสามารถสมัครงาน

        สมัครงานได้ที่สถานประกอบการทั้งรัฐและเอกชน ซึ่งเป็นสิทธิคนพิการที่ควรได้รับ โดยสามารถแจ้งรับบริการจัดหางานที่ศูนย์จัดหางานหรือแจ้งองค์กรด้านคนพิการที่บริการจัดหางานให้ เช่น ศูนย์จัดหางานคนพิการพระมหาไถ่ พัทยา และมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย

         ถ้านายจ้างรับคนพิการเข้าทำงานอันตราส่วนพนักงานต่อคนพิการ 100:1 นายจ้างมีสิทธิได้รับข้อยกเว้นภาษีเงินได้จำนวนร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายในการจ้างคนพิการ นายจ้างสามารถนำค่าจ้างนั้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง หากสถานประกอบการใดที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงานต้องจ่ายเงินสมทบทุนเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อเป็นกองทุนช่วยเหลือดูแลคนพิการ

**แต่นายจ้างจะรับสิทธิประโยชน์เฉพาะการจ้างคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการเท่านั้น**

ผู้พิการคนไหนที่กำลังหางานอยู่ ผมได้รวบรวมแหล่งหาคนสำหรับคนพิการมาไว้ให้อ่านในบทความนี้แล้วครับ

5.บริการสิ่งอำนวยความสะดวก

       ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ เช่น ห้องน้ำทางลาด ที่จอดรถสำหรับคนพิการ เอกสารอักษรเบรลล์ ล่ามภาษามือ บริการคนส่งสาธารณะ ข้อมูลข่าวสารและบริการให้สัตว์นำทางกับคนพิการ เป็นต้น ให้แจ้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่รับผิดชอบ อบต. พมจ. สำนักงานเขต สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เป็นต้น

6.คนพิการมีสิทธิขอกู้เงิน

      สิทธิคนพิการมีสิทธิขอกู้เงิน ไว้เพื่อประกอบอาชีพได้ที่พมจ. กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน กรุงเทพมหานคร หรือหน่วยงานที่ประกาศกำหนด

กู้ได้เป็นรายบุคคลไม่เกินรายละ 60,000 บาท ถ้าประสงค์กู้เงินเกินวงเงินที่กำหนดให้พิจารณาเป็นรายๆไม่เกิน 120,000 บาท

กู้เป็นกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพกลุ่มละไม่เกิน 1,000,000 บาท

**ไม่มีดอกเบี้ยแต่ต้องผ่อนส่งภายใน 5 ปี**

ผู้กู้ต้องอายุ20ปีขึ้นไปและมีบัตรผู้พิการและบัตรดูแลผู้พิการ กรอกข้อมูลว่าจะนำทุนไปประกอบอาชีพด้านใด โดยมีผู้ค้ำประกันที่เงินเดือนมั่นคง 1 คน ยื่นเรื่องขออนุมัติเงินไม่เกิน 2 สัปดาห์

 

7.แจ้งรับบริการสวัสดิการสังคม

      ได้ที่ อบต. พมจ. สำนักงานเขต  ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน กรุงเทพมหานคร หรือหน่วยงานที่ประกาศกำหนด เพื่อคุ้มครองสิทธิคนพิการอย่างทั่วถึง เช่น ผู้ช่วยคนพิการ (สำหรับคนพิการระดับรุนแรง) ค่าใช้จ่ายสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานที่พักอาศัย สถานที่เลี้ยงดูสำหรับผู้พิการไร้ที่พึ่ง

8.บริการล่ามภาษามือ

       เฉพาะคนหูหนวกมีสิทธิยื่นคำขอเพื่อขอรับบริการล่ามภาษามือในกรณีต่างๆแจ้งรับบริการได้ที่สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย อบต. พมจ. สำนักงานเขต ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน กรุงเทพมหานคร  หรือหน่วยงานที่ประกาศกำหนด เช่น การใช้บริการทางการแพทย์และสาธารณะสุข กาสมัครงาน การร้องทุกข์ การกล่าวโทษหรือเป็นพยาน การเข้าร่วมประชุม สัมมนา ฝึกอบรมรวมทั้งเป็นผู้บรรยาย

9.ลดหย่อนภาษีเงินได้

สิทธิคนพิการยังสามารถขอลดหย่อนภาษีเงินได้ โดยแจ้งหน่วยงานของกรมสรรพากรที่ไปเสียภาษี

  • สำหรับผู้ดูแลที่เลี้ยงดูคู่สมรส ลูก หรือพ่อแม่ที่พิการหรือทุพพลภาพ สามารถนำไปใช้ลดหย่อนแบบเหมาได้คนละ 60,000 บาทต่อปี
  • แต่ถ้าผู้พิการหรือทุพพลภาพที่ดูแลอยู่ไม่คู่สมรส ลูก หรือพ่อแม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้แบบเหมา 60,000 บาทต่อเพียงคนเดียว
  • ถ้าคู่สมรสไม่มีรายได้และมีความพิการด้วย สามารถรถหย่อนภาษีคู่สมรสได้ 60,000 บาท และลดหย่อนผู้พิการได้อีก 60,000 บาท รวมเป็นเงินลดหย่อนทั้งสิ้น 120,000 บาท

กลับสู่สารบัญ

สิทธิคนพิการกับสิทธิประกันสังคม

       นอกจากสิทธิคนพิการที่ได้รับไปเบื้องต้นผู้พิการสามารถขอใช้สิทธิการรักษาพยาบาล ได้ทั้ง   บัตรทองหรือเลือกสิทธิประกันสังคม ก็ได้ แต่เลือกได้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นและ สามารถเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้ง (ตั้งแต่1 มกราคม-31มีนาคมของทุกปี ยกเว้นกรณีมีความจำเป็น เช่น ย้ายที่พัก ที่ทำงาน จึงจะขอเปลี่ยนสถานพยาบาลระหว่างปีได้ ภายใน30วันนับตั้งแต่วันที่ย้ายที่พักหรือที่ทำงาน)

       หากต้องการใช้สิทธิประกันสังคม สามารถแจ้งความประสงค์พร้อมยื่นแบบเลือกสถานพยาบาลได้ที่สำนักงานประกันสังคม ทั่วประเทศหรือยื่นผ่านออนไลน์ sso.go.th สำหรับผู้พิการที่สามารถทำงานได้ต้องจ่ายเงินประกันสังคม เอง5% ของค่าจ้าง แต่ถ้าเป็นผู้พิการที่ไม่สามารถทำงานได้จะได้รับข้อยกเว้นจ่ายเงินสมทบ

สิทธิคนพิการประกันสังคม

ภาพจาก khaosod.co.th

สิทธิคนพิการที่เป็นผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิเหมือนกับผู้ประกันตนทั่วไปเลย ทั้ง 7 กรณี ได้แก่

  • เจ็บป่วย ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาล ที่เลือกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • ได้สิทธิเบิกเงินค่าคลอดบุตรครั้งละ 13,000 บาทไม่จำกัดจำนวนครั้งและเงินสงเคราะห์การหยุดงาน
  • เงินสงเคราะห์บุตร ได้คราวละไม่เกิน3คน รับเดือนละ 600 บาทต่อบุตรหนึ่งคน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ6ปี
  • ได้สิทธิรับเงินจากการว่างงาน ถ้าไม่ได้ออกจากงานเพราะทำผิดกฎหมายหรือทำให้บริษัทเสียหาย
  • เงินชราภาพ จะได้รับเมื่อเกษียณ ซึ่งมาจาก3%ของฐานเงินเดือน ตัวอย่าง ถ้าเราจ่ายประกันสังคม 5% อยู่ที่เดือนละ 750 บาท เงินจำนวน 450 บาทจะถูกหักเข้าเป็นเงินออมชราภาพ
  • ทุพพลภาพ เฉพาะผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบครบ3เดือน ระยะเวลา15เดือนก่อนทุพพลภาพ
     จะได้ค่ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลของรัฐทั้งผู้ป่วยในและนอกไม่เสียค่าใช้จ่าย ทางสถานพยาบาลจะเป็นผู้มาเบิกกับสำนักงานประกันสังคมเอง
    • ค่ารถรับ-ส่งเหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท
    • เข้ารับการฟื้นฟูในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานของสำนักงานประกันสังคมจะมีค่าฟื้นฟูอีก 40,000 บาท
    • ในกรณีที่เป็นสถานพยาบาลเอกชนจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท แต่ผู้ป่วยในได้ค่ารักษาพยาบาลไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาท

กลับสู่สารบัญ

อ่านเงื่อนไขและสิทธิเพิ่มเติมของประกันสังคม
ที่เป็นประโยชน์ต่อสิทธิคนพิการ

สรุปสิทธิคนพิการ

            คนพิการก็เหมือนคนทั่วไปที่ต้องได้รับสิทธิและประโยชน์พื้นฐานเพื่อช่วยให้การใช้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น สำหรับคนพิการ“บัตรประจำตัวคนพิการ” มีความสำคัญพอๆกับบัตรประชาชน เพื่อรับสิทธิคนพิการ 2562 ซึ่งจะได้รับประโยชน์ต่างๆ เช่น เบี้ยคนพิการ กู้เงินเพื่อช่วยให้การแบ่งเบาภาระการใช้จ่ายในชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น

กลับสู่สารบัญ