ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูง ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโดยตรง โดยเริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดูแลตัวเองไม่ให้อาการแย่ลง แต่สำหรับอัมพาตเป็นโรคที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเพียงคนเดียว ส่งผลกระทบไปถึงญาติพี่น้อง คนใกล้ชิด คนดูแลต้องคอยดูแลเสียทั้งเวลา ค่ารักษาที่เกิดขึ้นมากมาย แต่ไม่ต้องกังวลโรคนี้สามารถป้องกัน ได้โดยดูแลตัวเองให้ดี เพียงเท่านี้ช่วยลดอัตราการเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้
สารบัญเนื้อหา
การดูแลผู้ป่วยอัมพาตง่ายๆได้ที่บ้าน
อัมพาตคืออะไร
หลายคนสงสัยว่าอัมพาตกับอัมพฤกษ์ อันเดียวกันหรือเปล่า?
ทั้ง2มีความคล้ายคลึงกันแต่มันไม่เหมือนกันสักทีเดียว100%
ร่างกายอ่อนแรง ซึ่งบางคนอาจจะขยับไม่ได้ทั้งตัวหรือขยับได้แค่ครึ่งซีก ที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง คือ สมอง ไขสันหลัง เรียกว่า“อัมพาต”
ส่วนอัมพฤกษ์ อาการจะไม่รุนแรง แขนขาสามารถใช้งานได้บ้าง แต่จะรู้สึกชา อ่อนแรงซึ่งเป็นผลจากการถูกดทับ หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน
สังเกตอาการเบื้องต้นของอัมพาต
ที่เห็นได้ชัดเลยให้สังเกตที่ใบหน้า
- มุมปากตกหนึ่งข้างเวลาอยู่เฉยๆหรือเวลายิ้ม
- ยกแขนไม่ขึ้นหรืออ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง
- ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ได้หรือฟังไม่รู้เรื่อง
หากมีอาการดังกล่าวให้รีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ภายใน4ชั่วโมง
เกิดจากอะไร
การทำงานผิดปกติของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกายคือ ”สมอง” เกิดภาวะขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทันทำให้เซลล์สมองไม่สั่งการ ทำงานช้าลงหรือหยุดทำงาน เนื่องจากผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุ กระทบกระเทือนทางสมอง ไขสันหลังหรือเส้นประสาท อาจจะเป็นอัมพาตบางจุด เช่น ใบหน้า แขน ขา หรือทั้งร่างกาย
มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมีดังนี้
- การบาดเจ็บของสมอง ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน มีเลือดออกในสมอง ที่มาจากอุบัติเหตุรถคว่ำ รถชน ศีรษะกระแทกสิ่งของอย่างแรก
- มีโรคประจำตัวหรือครอบครัวมีสาเหตุมาจากเส้นเลือดในสมองตีบ เส้นเลือดสมองอุดตัน เส้นเลือดฝอย โรคความดันโลหิต หลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน
- สมองอักเสบ เป็นฝีในสมอง หรือมีเนื้องอกในสมอง มีอาการไข้สูงโดยไม่รู้สึกตัว แขนขาเกร็ง สูญเสียการควบคุมอวัยวะบางส่วน
- การรับประทานของดิบ ของที่ไม่สะอาดทำให้มีพยาธิตัวจี๊ดไชขึ้นสมอง
ป้องกันได้ง่ายเริ่มที่ตัวเรา
ผู้ที่มีอายุมากกว่า45ปี ชอบดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สูบหรี่จัด มีโรคประจำตัวหรือประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ ต้องคอยสังเกตอาการและทำความเข้าเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเรา เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราดังนี้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ30นาที 3-5วัน/สัปดาห์ ช่วยลดภาวการณ์แทรกซ้อน กล้ามเนื้อแข็งแรง ฟื้นฟูอวัยวะและระบบร่างกาย
- บริโภคอาหารให้ครบ5หมู่ เน้นทานผักและผลไม้ให้มากๆ
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม หรืออาหารที่มีน้ำตาลและแคลอรี่สูง
- ควบคุมไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมน้ำหนัก
- งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ รวมถึงการสูดดมควันบุหรี่
- ตรวจเช็คสุขภาพประจำปี
- ถ้ามีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อหลอดเลือดสมอง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ลิ้นหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคอ้วน ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะลดโอกาสการเสี่ยงอัมพาตได้
การดูแลผู้ป่วยอัมพาตง่ายๆได้ที่บ้าน
ผู้ป่วยบางคนสามารถขยับร่างกายได้บางส่วนหรือขยับไม่ได้เลย ซึ่งมีวิธีดูแลที่คล้ายกันดังนี้
วิธีดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
- จัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสมเพราะการนอนทับแขนหรือขาข้างที่เป็นเคลื่อนไหวไม่ได้นานนานๆ จะทำให้ข้อต่อบวม และช่วยไม่ให้เกิดแผลกดทับ กระดูกผิดรูป เริ่มจากจัดศีรษะให้นอนตรง ใช้หมอนรองแขน ขาข้างที่เคลื่อนไหวไม่ได้หรืออ่อนแรง ให้มืออยู่สูงกว่าศอกเพื่อไม่ให้มือบวม ต้องเปลี่ยนท่าทุก2ชม.
- ฝึกเคลื่อนไหวบนเตียง เริ่มจากค่อยๆหมุนศีรษะ ลำตัวและสะโพกตามลำดับเป็นท่าพื้นฐานสำหรับลุกนั่ง ช่วยการทรงตัวทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่นการรับประทานอาหาร ใส่เสื้อผ้าเอง
- ฝึกการทำงานของแขนและมือข้างที่เป็นอัมพาต ค่อยๆเริ่มจากการขยับข้อมือ คว่ำ-หงายมือสลับกันไป มีอุปกรณ์ช่วยเช่น การพลิกกระดาษ หลังจากนั้นให้ใช้มือเคลื่อนย้ายวัตถุ โดยเริ่มจากวัตถุที่จับง่าย ขนาดใหญ่ไปหาเล็ก
- การทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูการทำงานระบบประสาทกล้ามเนื้อ หัดนั่ง หัดยืน ฝึกทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ด้วยวิธีการที่เหมาะสมและได้รับคำแนะนำดูแลจากแพทย์นักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง หรือใช้อุปกรณ์เสริมช่วยเหลือการเคลื่อนไหว เช่นรถเข็น(วีลแชร์) เหมาะสำหรับผู้เป็นอัมพาตท่อนล่าง หรือสวมอุปกรณ์ที่ช่วยกล้ามเนื้อบริเวณมือ-ข้อมือ เท้า-ข้อเท้า เพื่อช่วยบังคับการเคลื่อนไหวในส่วนที่เคลื่อนไหวไม่ได้
- จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ป้องกัน ไม่ให้สะดุด ไม่ให้บาดเจ็บเนื่องจากผู้ป่วยสูญเสียระบบประสาทสัมผัส ทำให้ไม่มีรับรู้ ไม่มีความรู้สึก ต้องระมัดระวังเรื่องน้ำร้อน ระหว่างการขนย้ายไม่ให้แขนขายื่นออกมาจากเตียงอาจจะไปโดนสิ่งของได้
วิธีดูแลผู้ป่วยอัมพาตทั้งตัว
ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ บางคนต้องใช้ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยประเภทนี้ต้องดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษ ดังนี้
- พลิกตัวผู้ป่วยทุก2ชมเพื่อลดอาการแผลกดทับ
- ทำความสะอาดร่างกาย เช็ดตัว แปรงฟันให้ผู้ป่วย
- จัดเตรียมปรุงอาหารเหลวที่สะอาด หรือบางรายต้องให้อาหารทางสายยาง
การดูแลผู้ป่วยอีกอย่างที่อยากแนะนำคือ ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่บ้านหรือช่วยเหลือตัวเองเพียงคนเดียว เพราะบางครั้งอาจจะเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด หรือมีอาการแย่ลง ดังนั้นควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดคอยให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นและฝึกให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้เบื้องต้น
สรุปอาการ สาเหตุและวิธีรักษาอัมพาต
ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตบางคนสามารถขยับร่างกายไม่ได้ทั้งตัวหรือขยับได้ครึ่งซีก สังกตเห็นได้ง่ายจากบริเวณใบหน้าความเสี่ยงส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม หรือเกิดจากสาเหตุที่ไม่ดูแลสุขภาพหรือเกิดอุบัติเหตุ เมื่อเป็นโรคนี้ขึ้นมาโอกาสให้หายขาดมีน้อยมาก
แต่เมื่อเป็นแล้วควรทำตามวิธีดูแลผู้ป่วยที่แนะนำไป เริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองหันมาออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ควบคู่กับทำกายภาพบำบัด ต้องได้รับการดูแล อย่างใกล้ชิดจากคนในครอบครัว เพียงแค่นี้ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคนี้และโรคอื่นๆที่อาจเกิดการแทรกซ้อนขึ้นมาอีกด้วย