โรควิตกกังวล

โรควิตกกังวล รู้เท่าทันอาการเบื้องต้นและบรรเทาความเครียดด้วยความเข้าใจ

             ใน1วันเราทุกคนไม่ได้รู้สึกดีอยู่ตลอดเวลา บางครั้งเราตกอยู่ในถานการณ์ที่ตึงเครียด กลัว หรือไม่สบายใจ ถ้ารู้สึกเป็นแค่บางครั้งมีโอกาสหายได้ แต่ถ้าเป็นมานาน ความไม่สบายใจเหล่านั้น จะส่งผลให้กลายเป็นโรควิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว จริงๆแล้วบางคนอาจจะเป็นมานานแต่ไม่รู้ตัว ลองสังเกตตัวเองดูสักครั้งนะครับ ว่ามีพฤติกรรมหรือความรู้สึกเข้าข่ายเป็นโรคนี้หรือเปล่า

สารบัญเนื้อหา

โรควิตกกังวลคืออะไร

สาเหตุของโรควิตกกังวล

อาการเตือน

วิธีรักษาโรควิตกกังวลเบื้องต้น

สรุป

โรควิตกกังวลคืออะไร

            เป็นสาเหตุ ของความผิดปกติทางจิตที่ทำปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อเจอความเครียด ความกังวลใจติดต่อกันมานาน6เดือน โรควิตกกังวลมักเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์เดิมๆได้ กังวลในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น คิดในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง

ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น งาน สุขภาพ เงิน หรือความปลอดภัย จะไม่สามารถหยุดความคิดพวกนั้นได้เลย หากรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ต้องรีบเข้ารับการรักษา ถ้าปล่อยไว้นานอาจส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างและการใช้ชีวิตประจำวันของเราเอง

กลับสู่สารบัญ

โรควิตกกังวลคืออะไร

ภาพจาก sanook.com

สาเหตุของโรควิตกกังวล

            หลายคนคิดว่าโรควิตกกังวล คือ เกิดจากความบกพร่องทางบุคลิกภาพ มันไม่ได้เกิดขึ้นเพียงปัจจัยเดียว ผลการวิจัยพบว่ามีอีกหลายสาเหตุ ที่เป็นตัวกระตุ้นคล้ายกับโรคทางจิตอื่นๆ  ทำให้สมองบางส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์บกพร่อง สะสมความเครียดเป็นเวลานาน ส่งผลต่อความจำ ความสัมพันธ์และความรู้สึกต่อตนเองและคนรอบข้าง ได้แก่

สาเหตุโรควิตกกังวล

 

  • ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เด็กที่มีพ่อแม่เป็นโรคนี้จะมีแนวโน้มโอกาสที่จะเป็นสูงกว่าคนปกติ
  • การใช้ชีวิตประจำวันพบเจอเหตุการณ์ สภาพแวดล้อม หรือประสบการณ์ที่ทำให้กระทบกระเทือนจิตใจ เครียด เช่น สูญเสียคนรัก ครอบครัว เป็นโรคร้าย ตกงาน ปัญหาด้านการเงิน การเรียนอยู่ใกล้ช่วงสอบ เป็นต้น
  • มีโรคประจำตัวที่ลักษณะคล้ายกับโรคนี้ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน หัวใจเต้นผิดปกติ หรือภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ร่างกายแข็งแรง

โดยเฉพาะผู้ที่มีพ่อแม่ป่วยเป็นโรควิตกกังวลจะมีปฏิกิริยาตอบสนองกระตุ้นจากสาเหตุ ดังกล่าวเร็วกว่ากลุ่มอื่น ต้องระมัดะวังเป็นพิเศษ เพื่อไมให้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลครับ

กลับสู่สารบัญ

อาการเตือน

         เราทุกคนต้องเคยมีเรื่องที่ทำให้กังวลใจบ้าง สักพักมันจะหายไปเอง แต่หากเป็นมานานจะติดต่อ6เดือนขึ้นไป  มันกลายเป็น โรควิตกกังวล โดยที่แสดงออกทั้งทางจิตใจและทางร่างกาย แต่ไม่รุนแรงมากนัก เรามาสังเกตอาการเบื้องต้นกันก่อนครับ

ลักษณะทางจิตของโรควิตกกังวล

  • ตื่นตระหนก กลัว ไม่สบายใจ
  • กระวนกระวาย กระสับกระส่าย
  • หวาดระแวง เครียด

ลักษณะทางร่างกายของโรควิตกกังวล

  • มือสั่น เขย่าขา นั่งงอเข่า
  • มือเท้าเย็น หรือเหงื่อแตก
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก
  • นอนไม่หลับ
  • ปวดหัว คลื่นไส้
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย
  • ปัสสาวะ ท้องเสียบ่อย

      อาการ ข้างต้นเป็นตัวสังเกตว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับตนเองหรือไม่? หากพบว่ามีความรู้สึกและกลัวว่าจะกลายเป็นโรควิตกกังวลให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา อย่างถูกวิธีให้เร็วที่สุด

กลับสู่สารบัญ

วิธีรักษาเบื้องต้น

            หากรู้ตัวว่าเป็นโรควิตกกังวลแน่นอน ให้รีบเข้ารับการบำบัดอย่างเร็วที่สุดเพราะมีโอกาสหายได้ วิธีการบำบัดมีหลายแบบ สำหรับบางท่านที่บำบัดมานานแล้วไม่หายสักที ให้ลองทุกวิธีหรือใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้ผลที่ดีกว่า

วิธีรักษาโรควิตกกังวล

วิธีรักมือจากโรควิตกกังวล

วิธีแรก เริ่มจากที่ตัวเองปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม รู้จักแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ เช่น

  • พักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนให้เป็นเวลา
  • งดดื่มเครื่องดื่มที่คาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เนื่องจากจะกระตุ้นให้รู้สึกแย่ลงก็ได้
  • ทำสมาธิ ตั้งสติ ทำจิตใจให้สงบ ผ่อนคลาย รู้จักปล่อยวางเรื่องที่ไม่จำเป็น ช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล
  • ออกกำลังกายเบาๆเดิน วิ่ง เล่นโยคะ นอกจากช่วยให้ความแข็งแรง ยืดหยุ่นกล้ามเนื้อแล้ว การฝึกโยคะต้องมีสมาธิจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออกของตัวเอง ทำให้สมองปลอดโปร่ง ไม่จมอยู่กับเรื่องเดิม ส่งผลให้ความเครียดผ่อนคลายล

วิธีที่สอง พูดคุยให้คำปรึกษา รับฟังความคิดเห็นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด จะให้คำแนะนำเพื่อรับมือแก้ปัญหาได้ดีและถูกวิธีที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยโรควิตกกังวลได้เรียนรู้และรับมือกับปัญหา เข้าปรึกษาได้ที่โรงพยาบาลหรือถ้าอาย ไม่กล้า โทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด24ชม.

วิธีที่สาม บำบัดตามธรรมชาติ โดยมีแพทย์เป็นผู้ควบคุม

  • บำบัดด้วยกลิ่น ใช้น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากลาเวนเดอร์ งานวิจัยระบุว่ากลิ่นของมันทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย ลดความเครียด แม้ว่าลาเวนเดอร์จะไม่มีอันตราย หลีกเลี่ยงใช้สารสกัดที่เข้มข้นเกินไปและเก็บให้มิดชิดเด็ก
  • สมุนไพรจากต้นเซนต์จอนห์นเวิร์ต รากวอเลอเรียน รากคาวา ถูกนำมาใช้เพื่อชะลอโรควิตกกังวล ปัญหานอนไม่หลับ
  • ฝังเข็มแพทย์แผนจีน เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยชะลอ หรือหายได้ จากโรควิตกังวล แต่ถ้าอยากได้ผลดี เร็วกว่าเดิมให้ทำควบคู่กับวิธีบำบัดอื่นๆด้วย แต่การฝังเข็มก็มีข้อห้าม ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงคือ สตรีตั้งครรภ์ ผู้ที่เพิ่งผ่าตัด เป็นโรคมะเร็ง ก่อนจะใช้วิธีการฝังเข็มควรศึกษาข้อห้ามและโรงพยาบาลที่น่าเชื่อถือ
  • ยาเพื่อลดความวิตกกังวล รับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างครบถ้วนต่อเนื่อง หากมีความจำเป็นต้องซื้อยารักษา โรคหรือสมุนไพรต่างๆตามร้านขายยาทั่วไปควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน

           มีหลายวิธีที่ช่วยให้คลายความกังวล ผ่อนคลาย สบายใจลงได้บ้าง มีโอกาสหายได้ ค่อนข้างสูง แนะนำให้ใช้วิธีเริ่มปรับเปลี่ยนตัวเองก่อน หากไม่ได้ผลก็ใช้วิธีอื่นต่อไปเรื่อยๆ สุดท้ายการใช้ยาควรทานยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรลองยาสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อตนเองได้

กลับสู่สารบัญ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จะรู้สึกว่าตนเองนอนไม่หลับ เพราะเกิดจากความเครียด วิตกกังวล หากใครยังนอนไม่หลับอยู่ อ่านวิธีการทำให้นอนหลับได้บทความนี้เลยครับ

สรุปสาเหตุและอาการของโรควิตกกังวล

                เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรควิตกกังวลก่อนว่าคืออะไร อาการ เป็นยังไง มีพฤติกรรมอย่างไร เพราะโรคนี้สามารถหายได้ ให้รีบแก้ปัญหาที่ต้นเหตุไม่ควรพึ่งยาอย่างเดียว โดยเริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่คิดเล็กคิดน้อย รู้จักปล่อยวาง หากใช้วีบำบัดตามธรรมไม่ได้ผลควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น คนรอบข้างช่วยเข้าอกเข้าใจและให้กำลังใจผู้ที่เป็นโรคนี้ เพื่อให้มีโอกาสกลับมาเป็นคนที่มีร่าเริงเหมือนเดิมด้วยนะครับ

กลับสู่สารบัญ