สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญพอๆกับหัวใจ เปรียบเสมือนศูนย์กลางที่ควบคุมระบบการทำงานทุกส่วนในร่างกาย คอยรับคำสั่ง เก็บความทรงจำต่างๆ แต่สำหรับผู้สูงอายุนั้นได้ใช้สมองมาเป็นเวลานาน ใช้งานหนัก ทำให้สมองเริ่มเสื่อมล้าลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสาเหตุ หนึ่งที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เรามาทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือกับวิธีการดูแล กันดีกว่าครับ
สารบัญเนื้อหา
โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร
มักพบในผู้สูงอายุตั้งแต่65ปีขึ้นไป เกิดขึ้นจากการทำงานของสมองบางส่วนช้าลงหรือมีความผิดปกติเพราะใช้งานมานาน ทำให้เซลล์สมองค่อยๆเริ่มสูญเสียไปทีละนิดๆ โดยเริ่มจากส่วนเล็กๆ โดยที่จะไม่มีอาการ แสดงออกชัดเจนทันที แต่ค่อยๆลุกลามไปส่วนอื่นๆซึ่งใช้เวลานานกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็รักษา ไม่หายแล้ว
ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีทางรักษา หายขาด แต่สามารถช่วยชะลอความกังวลของโรคสมองเสื่อมนี้ได้
สาเหตุของโรคสมองเสื่อม
อายุหรือพันธุกรรมไม่ได้เป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ แต่มีปัจจัยอีกหลายอย่างที่เราไม่รู้เลยว่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมได้
ภาพจาก kapook.com
มาดูกันดีกว่าครับว่า มีสาเหตุ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยง มาจากปัจจัยอะไรบ้าง
เซลล์สมองเสื่อม
หลังจากใช้สมองเป็นเวลานาน เซลล์สมองเริ่มเสื่อมและค่อยๆตายลงไป โดยที่ไม่มีเซลล์ใหม่มาทดแทน ทำให้เซลล์สมองที่เหลืออยู่ทำงานได้ไม่เต็มที่ หากปล่อยไว้นานเกินไป อาจกลายเป็นอัลไซเมอร์
ไขมันอุดตันหลอดเลือด
ปัญหาของหลอดเลือดที่มีลิ่มหรือไขมันสะสมอยู่จนเกิดการอุดตัน การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เต็มที่ จนเกิดภาวะสมองขาดเลือด สมองจะค่อยๆตายไป และความสามารถทางสมองก็จะลดลงไปด้วย ผู้ป่วยที่มีโรคประตัว โรคความดันเลือดสูง ไขมันสู เบาหวาน ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมด้วยครับ
เนื้องอกในสมอง
ความผิดปกติที่เกิดในสมองที่มีเนื้องอก เกิดภาวะน้ำเลี้ยงในสมองคั่ง ค่อยๆขยายใหญ่จนเบียดเนื้อสมอง ผู้ที่เป็นมักจะเดินไม่ถนัด หรือเดินไม่เป็น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ความจำลดลง หรืออาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่เปลี่ยนไป
การติดเชื้อในสมอง
ที่เกิดจาก เชื้อไวรัส HIV, Japanese B แบคทีเรียบางชนิด หรือมีเชื้อราขึ้นอยู่บริเวณรอบๆเยื่อหุ้มสมองจนทำให้เกิดการอักเสบ ทำให้เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส ที่เป็นส่วนหนึ่งของโรคสมองเสื่อม
ขาดสารอาหาร
โดยเฉพาะวิตามินB1และB12 (ส่วนใหญ่พบอยู่ในเมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ขนมฟังโฮลวีท ถั่ว เครื่องในสัตว์ นม ผักใบเขียว เป็นต้น) ผู้ที่ขาดวิตามินB1ส่วนใหญ่พบในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง ส่วนผู้ที่ขาดวิตามินB12พบในผู้ที่กินมังสวิรัติ ไม่ทานเนื้อสัตว์ เป็นเวลานานทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จนเซลล์สมองทำงานไม่ได้ตามปกติหรือถึงขั้นเซลล์สมองตาย
ศีรษะถูกกระแทก
จากอุบัติเหตุหัวฟาดพื้น กระแทกกับของแข็ง หรือนักกีฬาบางประเภทที่มีความเสี่ยงในการเล่นกีฬาที่ต้องระมัดระวังเรื่องศีรษะกระแทก เช่น นักมวย นักฟุตบอล ขี่ม้า ยิมนาสติก สมองส่วนที่ได้รับกระทบกระเทือนซ้ำแล้วซ้ำอีก จะทำให้สมองส่วนนั้นตาย
การใช้ยาหรือสารเสพติด
เช่น สุรา บุหรี่ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด ถ้าได้รับในปริมาณสูง และเป็นเวลานานอาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง หากใช้ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมอาจจะทำให้ผู้ป่วยสับสน เพราะฉะนั้นไม่ควรซื้อยามาทานเอง ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น หรือหากเกิดอาการ แพ้ให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที
โรคประจำตัวอื่นๆ
เช่น โรคฮันติงตัน(เกิดจากพันธุกรรม ความผิดปกติทางสมอง แต่พบได้น้อยมาก)โรควัวบ้า(บริโภคเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนจากเชื้อวัวบ้า สามารถติดต่อจากวัวสู่คนได้) เป็นต้น
สาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุบางอย่างเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาดูแล ตนเองและออกกำลังกายให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง หรือมีที่มาจากพันธุกรรม หมั่นไปตรวจสุขภาพบ่อยๆด้วยนะครับ
อาการเตือนของโรคสมองเสื่อม
สัญญาณเตือน!!โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่จะเริ่มค่อยๆสังเกตุเห็นได้ ลูกหลานที่อยู่กับท่านควรสังเกตว่ามีอาการ แบบนี้เกิดขึ้นหรือไม่?
- จำไม่ค่อยได้
- นั่งเหม่อลอย
- พูดไม่รู้เรื่อง นึกคำพูดไม่ได้
- ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้
- อารมณ์เปลี่ยนแปลง หงุดหงิดง่าย
- รู้สึกหวาดระแวง
- เกิดภาพหลอน
- ทักษะความจำเริ่มลดลง จำคำพูด หรือเรื่องที่เพิ่งพูดไม่ได้ พูดเรื่องเดิมๆซ้ำๆ เพราะคิดว่าตนเองยังไม่ได้พูด จำหน้าบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลรอบข้างไม่ได้ จำเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมาระยะสั้นๆไม่ได้ เช่น จำไม่ได้ว่าตัวเองทานข้าวหรือยัง? อาบน้ำหรือยัง? หรือเดินมาที่นี่ทำไม? วางของไว้ตรงไหน? เป็นต้น
- พฤติกรรมบางอย่างเปลี่ยนไป เช่น นั่งเหม่อลอย คิดถึงแต่เรื่องในอดีต พูดไม่รู้เรื่อง นึกคำพูดไม่ออกหรือใช้คำพูดที่คนอื่นไม่เข้าใจ
- ทักษะการแก้ไขปัญหาเรื่องง่ายๆลดลง รวมถึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง เช่น เข้าห้องน้ำ อาบน้ำเอง ใส่เสื้อผ้าเองไม่ได้ กินข้าวเองไม่ได้ เป็นต้น
- อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย รู้สึกฉุนเฉียว โกรธ หงุดหงิด กระสับกระส่าย อยู่ดีๆก็หัวเราะ หรือร้องไห้ขึ้นมา
- เกิดภาพหลอน รู้สึกหวาดระแวง เช่น เห็นคนที่เสียชีวิตไปแล้วมาอยู่ด้วย เห็นคนบุกรุกเข้ามาในบ้าน คิดว่าคนในครอบครัวเป็นคนอื่น ทั้งๆที่ไม่ได้มีเหตุการณ์แบบนั้นเกิดขึ้น แต่ทำให้คนรอบข้างรู้สึกหวาดกลัวไปด้วย
การดูแลผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง5หมู่ เน้นผักและผลไม้ อาหารที่มีโอเมก้า3 เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง ปลา ลดความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม ช่วยให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน สารเสพติดทุกชนิด รวมถึงยาอันตรายบางชนิด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เริ่มต้นจากเดินแกว่งมือเบาๆ เดินบ่อยๆ แอโรบิก รำมวยจีนเป็นต้น
- หากิจกรรมผ่อนคลายที่ช่วยฝึกสมองบ่อยๆ เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ วาดรูป คิดเลข เป็นต้น
- ฝึกสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ มีสติตลอดเวลา ไม่คิดมาก ไม่ฟุ้งซ่าน ทำอารมณ์แจ่มใสตลอดเวลา หากรู้สึกเครียด ไม่สบายใจ ให้ออกไปทำกิจกรรมคลายเครียดข้างนอกสักพัก
- พูดคุย ออกไปพบปะกับคนในครอบครัว เพื่อนๆ ญาติ หรือผู้อื่น นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคสมองเสื่อม รวมถึงโรคซึมเศร้า และช่วยสร้างความสัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้น
- ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุ โดยเฉพาะการหกล้ม หัวฟาดพื้น ระวังไม่ให้ศีรษะไปกระแทกกับสิ่งของ
- หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีบ่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น ต้องติดตามอาการ อย่างใกล้ชิดเพราะเป็นสาเหตุ ส่วนหนึ่งที่อาจจะทำให้เกิดอาการ สมองเสื่อม พร้อมทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
สรุปวิธีการสังเกตโรคสมองเสื่อมและรักษา
หลังจากที่ทราบแล้วนะครับว่า สมองเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานทุกอย่างของร่างกาย คอยสั่งงาน เคลื่อนไหวต่างๆ แต่เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น สมองก็เริ่มเสื่อมไปตามวัยและมีอีกหลายอย่างที่ทำให้เป็นโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุจึงยิ่งต้องคอยสังเกตอย่างใกล้ชิด
หากมีความเสี่ยงให้รีบไปปรึกษาแพทย์ และทำตามคำแนะนำ เพราะวิธีการดูแล ที่ผมแนะนำ มันสามารถช่วยชะลอของสมองเสื่อมได้ก่อนที่โรคจะลุกลามเกินกว่าจะรักษา ให้หายได้ครับ แต่ไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้