ร่างกายคนเรามีกระดูกมากกว่า200ชิ้น กระดูกแต่ละชิ้นเชื่อมต่อกันด้วยเนื้อเยื่อบุที่พันเข้ากับของเหลว ทำให้ข้อสามารถเคลื่อนไหวได้ปกติ แต่ถ้าเกิดเป็นโรครูมาตอยด์ขึ้นมาละ? การเคลื่อนไหวต่างๆจะรู้สึกปวดหรือไม่สามารถใช้งานได้เต็มที่ ปัจจุบันการรักษา นอกจากการออกกำลังกายแล้ว ยังมีการนวด ใช้ยา ที่สามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง หากปล่อยไว้นานเกินจนระยะสุดท้าย ไม่สามารถหายขาด แล้ว
สารบัญเนื้อหา
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรครูมาตอยด์
โรครูมาตอยด์คืออะไร?
เคยสังเกตไหมว่า? เวลาที่ออกกำลังกายหนักๆ ยกของ หรือทำกิจกรรมที่ใช้ข้อต่อมากๆ จะเริ่มรู้สึกมีอาการปวดบริเวณข้อต่อ หากเป็นมานานมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรครูมาตอยด์ได้ “ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังที่เยื่อบุบริเวณข้อต่อตามส่วนต่างๆทั่วร่างกาย ถ้าอักเสบเป็นเวลานานจะรู้สึกข้อแข็งหรือพิการได้ ส่วนใหญ่จะพบตรงข้อต่อทุกส่วน ถ้าเป็นหนักมากๆจะลามไปถึง ตา กล้ามเนื้อ ระบบประสาท”
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรครูมาตอยด์
ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุ ที่แน่ชัดของโรครูมาตอยด์ว่าเกิดจากอะไร อาจจะเป็นความสัมพันธ์มาจากพันธุกรรม หรือระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในช่องปาก หรือเชื้อไวรัสบางชนิด การสูบบุหรี่ก็เป็นความเสี่ยงส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคนี้เช่นเดียวกัน
ตัวไวรัสหรือแบคทีเรียที่เรามองไม่เห็น เป็นตัวกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายตอบสนองเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย ทำให้เกิดการอักเสบและบวมขึ้น ร้ายแรงที่สุดมันจะเข้าไปทำลายกระดูกอ่อน กระดูกข้อต่อ ข้อต่อจะเปราะบาง ขยายตัวออกจนทำให้กระดูผิดรูปหรือบิดเบี้ยว
จะรู้ได้อย่างไรว่ามีอาการ
- อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย
- อักเสบตามกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ
- บวมๆ ปวด แดงตามข้อ
- กระดูกผิดรูป บิดเบี้ยวไปจากเดิม
- มีปุ่มนิ่มๆบริเวณที่เสียดสีบ่อยๆ
ระยะแรกของโรครูมาตอยด์เริ่มมีอาการเป็นช้าๆ เริ่มจากรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดเมื่อย อักเสบตามกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อตามส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเริ่มจากข้อเล็ก ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ ข้อเข่า ข้อศอก ข้อไหล่ ไปจนถึงข้อใหญ่ จะรู้สึกบวมๆ ปวด แดง เป็นแรกๆเดี๋ยวก็หาย
แต่ถ้าเป็นมานานปวด บวมรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กระดูกผิดรูป บิดเบี้ยวไปจากเดิม หรือมีปุ่มนิ่มๆบริเวณที่เสียดสีบ่อยๆ
หรือบางคนอาจจะมีความรู้สึกอื่นๆร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลด มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มีปุ่มนิ่มๆ(รูมาตอยด์)ขึ้นใต้ผิวหนัง เป็นต้น
กลุ่มเสียงเป็นโรครูมาตอยด์
สามารถเป็นได้ทุกกลุ่มตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้สูงอายุ แต่ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ20-50ปี และเพศหญิงมีแนวโน้ได้มากกว่าผู้ชาย
เป็นแล้วรักษาหายขาดได้หรือไม่?
หากรู้ตัวว่าเป็นระยะเริ่มต้น หรือรู้สึกปวด ให้รีบทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด แต่เมื่อเป็นระยะสุดท้ายของโรคนี้ ไม่ว่าจะใช้วิธีการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์มาช่วยในบำบัด แล้วยังรู้สึกปวด บวม รูปร่างกระดูกข้อต่อบิดเบี้ยว หรือถึงขั้นไม่สามารถใช้งานได้อย่างปกติ นั่นคือไม่สามารถหายได้เป็นปกติ วิธีสุดท้ายที่แพทย์จะช่วยได้คือ การเข้าผ่าตัด แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้นเสมอไป
สรุปนะครับโรครูมาตอยด์ รู้เร็ว รักษา เร็ว หายเร็ว รู้ช้า รักษา ช้า ไม่หายขาด นั่นคือสิ่งที่ร้ายแรงที่สุดและต้องใช้ชีวิตอยู่กับมันไปให้ได้นะครับ
วิธีรักษาเบื้องต้น
มีหลายวิธีมาแนะนำให้ลองปฏิบัติดูนะครับ หากสงสัยว่าเริ่มมีโอกาสเสี่ยงที่เป็นโรครูมาตอยด์ ควรรีบดูแลทันที เพราะโรคนี้มีโอกาสหายขาด ได้ แต่ถ้าเป็นมานานแล้ววิธีนี้จะช่วยบรรเทาการเจ็บปวดให้น้อยลงเท่านั้น
การเลือกรับประทานอาหาร
ผู้ป่วยที่เป็นโรครูมาตอยด์ ควรบริโภคปลาที่มีโอเมก้า3 เช่น ปลาแซลม่อน ทูน่า ผักผลไม้ต่างๆ หรือสมุนไพร ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสี ขนมปังโฮลวีท ไม่ควรบริโภคข้าวขาว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลือง เพื่อช่วยระบบการทำงานภูมิคุ้มกัน ต่อสู้กับการอักเสบให้ปวดน้อยลง
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ประเภทต่างๆที่มีไขมัน รสเค็มจัด หวานจัด เช่น เนย มันมะพร้าว รวมถึงข้าวขาวหรือข้าวที่ขัดสีจนขาว
สมุนไพรช่วยชะลอการเจ็บปวด
ทางเลือกหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการ ได้โดยสมุนไพรเป็นที่ยาไม่ปนเปื้อนสารเคมีและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ฟ้าทะลายโจร กำยาน ราคาไม่แพง หาซื้อได้ทั้งแบบเม็ดและแคปซูลได้ที่ตามร้านขายยาทั่วไป ส่วนผลไม้กับผัก ผมแนะนำให้ทานสับปะรด ขิง พริก ชาเขียว ขมิ้น เป็นต้น
สมุนไพรที่กล่าวมาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่ช่วยชะลอโรครูมาตอยด์ที่หารับประทานได้ง่าย และยังมีคุณสมบัติต่างๆช่วยลดบรรเทาการปวดและอักเสบของข้อต่อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าบริโภคมากเกินไปอาจจะเป็นผลเสียแทนผลดี ควรปรึกษาและข้อคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การบริหารท่าออกกำลังกายเบื้องต้น
การออกกำลังกายก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยลดอาการความเจ็บปวดของโรครูมาตอยด์ เน้นการเคลื่อนไหวไม่ลงน้ำหนักที่ขา เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอโรบิกหรือแบบใช้อุปกรณ์ช่วยเสริมหลายๆรูปแบบ เพื่อป้องกันการกระแทกของข้อต่อ งดออกกำลังที่ได้รับการกระแทกโดยตรง เช่น จ๊อกกี้ วิ่ง เต้นแอโรบิก หลีกเลี่ยงท่าออกกำลังกายที่ใช้เคลื่อนไหวบริเวณที่ข้อต่ออักเสบและเจ็บปวด
เพิ่มการยืดหยุ่นของร่างกาย ยืดกล้ามเนื้อทั้งก่อนหลังออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ จะช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และช่วยลดการบาดเจ็บบริเวณข้อต่อ
เพิ่มความสมดุล ด้วยการฝึกทรงตัว เพราะคนป่วยโรคนี้ขาดการสมดุล เพื่อให้ระบบประสาท กล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวสัมพันธ์กันปกติ ไม่ทำให้ล้มหรือบาดเจ็บ เช่น การเดินบนเส้นตรง ยืนขาเดียวเป็นต้น
ไม่ว่าจะเป็นว่ายน้ำ เดิน ปั่นจักรยาน ช่วยลดการกระแทกของข้อต่อ และยังช่วยป้องกันการอักเสบ ล้วนเป็นผลดีทั้งสิ้น แต่วิธีการบริหารที่ปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้ส่งผลเสียต่อร่างกายมากขึ้นกว่าเดิม
นวดดี ได้ผลดี
การนวด ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดการเจ็บปวดของโรครูมาตอยด์ตามร่างกาย ขณะที่ท่านกำลังบีบนวด บริเวณแล้วรู้สึกปวดให้หยุดทันที อย่าบีบบริเวณข้อต่อที่ปวดหรือบวม ใช้น้ำมัน โลชั่นเป็นตัวช่วย หากไม่รู้วิธีการที่ถูกต้อง ผมไม่แนะนำให้ทำเองนะครับ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเป็นทางเลือก ดีกว่าให้เป็นระยะสุดท้าย
สรุปการดูแล บรรเทาอาการของโรครูมาตอยด์
โรครูมาตอยด์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เกิดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เกิดจากสาเหตุ ที่ไม่แน่ชัด เป็นโรคที่สร้างความทรมานต่อผู้ป่วยมาเป็นเวลาหลายปี ไม่สามารถหายขาด ได้ แต่มีวิธีที่ช่วยลดบรรเทาอาการการเจ็บปวดได้ ทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การกินอาหาร ที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงบางประเภท
แต่ต้องเริ่มตั้งแต่เมื่อเป็นระยะแรกๆ ถ้าปล่อยปะละเลยซึ่งอาจจะทำให้พิการไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ปกติ ทั้งนี้ทั้งนั้นควรทำตามคำแนะนำจากแพทย์เพิ่มเติมดีกว่านะครับ