กระดูกพรุนในผู้สูงอายุ อันตรายมากแค่ไหน

เมื่อพูดถึงโรคประจำตัวของผู้สูงอายุแล้ว หลายคนจะนึกถึงเบาหวาน ความดัน หรือโรคหัวใจเป็นหลัก แต่ใครจะคาดคิดว่าโรคกระดูกพรุนก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องใกล้ตัว หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน สาเหตุจากอุบัติเหตุหกล้ม มีโอกาสที่กระดูกจะหักได้ง่าย ดังนั้นผู้สูงอายุจำเป็นต้องดูแลและเลือกทานอาหารหรือแคลเซียมที่ช่วยเสริมกระดูกให้แข็งแรงขึ้น และระมัดระวังในเรื่องการเดินมากเป็นพิเศษ

กระดูกพรุนอันตรายแค่ไหน

                เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้นทุกปีความแข็งแรงของกระดูกก็ย่อมเสื่อมถอยลง และหลายคนส่วนใหญ่คิดว่ากระดูกพรุนในผู้สูงอายุนั้นเป็นเรื่องไกลตัว จึงไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก แต่ความอันตรายของโรคนี้ หากรู้ตัวช้าเกินไปจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเดินหรือเดินไม่ถนัดร่วมด้วย เป็นสาเหตุหลักที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้สูง ที่มาจากการหกล้มในผู้สูงอายุและทำให้กระดูกสันหลัง สะโพก กระดูกข้อมือหัก จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด และหากมีอาการของกระดูกพรุนอยู่แล้วแต่เราไม่รู้สึกตัวก็จะเสี่ยงมากขึ้น หรือหากรักษาแล้วไม่หายก็มีโอกาสที่จะไม่สามารถกลับมาใช้งานอวัยวะนั้นได้ตามปกติ

กลับสู่สารบัญ

ปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสให้เป็นกระดูกพรุนได้เร็วขึ้น

  • รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลมปริมาณมากๆ ติดต่อกันนาน
  • ไม่ได้ออกกำลังกาย
  • อายุเพิ่มขึ้น
  • เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย
  • มีโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องรับประทานยาสเตียรอยด์นานๆ เช่น โรครูมาตอยด์

การรักษาและป้องกัน

วิธีการรักษาโรคกระดูกพรุนของผู้สูงอายุสามารถรักษาได้ 2 วิธี คือการรักษาโดยไม่ใช้ยา หรือใช้วิธีฉีดยา จะใช้วิธีไหนในการรักษาขึ้นอยู่กับอาหารของผู้ป่วย

การรักษาและป้องกันโดยไม่ใช้ยา

ให้ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร ให้เลือกอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาตัวเล็ก ชีส เป็นต้น หรือออกกำลังกายที่เน้นบริเวณกล้ามเนื้อ กระดูก ให้มีมวลกระดูกที่ดีขึ้น เช่น เต้นแอโรบิค เดินเร็ว เป็นต้น แต่หากเป็นผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวขา ข้อเท้า ข้อเข่า ไม่ควรออกกำลังกายบริเวณที่ต้องลงน้ำหนักไปที่เท้า ให้เปลี่ยนเป็นใช้วิธีเดินเร็ว หรือรำไทเก็กเป็นต้น

การรักษาโดยการใช้ยา

การรักษาโดยการใช้งานจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง แพทย์จะให้รับประทานยาหรือฉีดยา โดยต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง

กลับสู่สารบัญ

ถ้าไม่รักษาจะเกิดอะไรขึ้น

                หากปล่อยให้มีอาการเจ็บไว้นานแล้วไม่รีบรักษาให้หาย มีโอกาสที่กระดูกจะหัก ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ หกล้มหรือโดนกระแทก ก็มีโอกาสเสี่ยงสูงที่ทำให้กระดูกหักได้อีกครั้ง และยิ่งถ้ากระดูกที่หักเป็นส่วนที่อยู่บริเวณสะโพก ส่วนหลังหรือข้อเท้ามีอาการรุนแรงมากขึ้นจนไม่สามารถรักษาได้ ก็อาจทำให้ผู้ป่วยนั้นต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เหมือนเช่นเคย และเมื่อเป็นผู้ป่วยติดเตียงแล้วก็จะเกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ต้องมีคนดูแลอยู่ตลอดเวลา กลายเป็นภาระของลูกหลาน และเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง เกิดแผลกดทับ หรือเกิดการติดเชื้อก็ได้

กลับสู่สารบัญ

ปัจจัยเสี่ยงที่ผู้สูงอายุหกล้ม

  • อาการเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว เช่น ข้อเข่าเสื่อม โรคทางสมอง
  • เดินไม่ถนัด เดินได้ไม่สะดวก
  • พื้นในบ้าน หรือในห้องน้ำ ลื่น เปียก
  • พื้นที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ทำให้สะดุดสิ่งของที่อยู่ด้านหน้า
  • ขั้นบันไดสูงเกินไป หรือมีทางต่างระดับ

กลับสู่สารบัญ

อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุหกล้ม

                สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาในเรื่องของการเดิน ที่ทำให้เดินไม่ถนัด เดินได้ลำบาก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับกระดูก ควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่จะมาช่วยทำให้เดินได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น อย่างเช่น ไม้เท้า โรเลเตอร์ วีลแชร์ หรือรถเข็นไฟฟ้า เป็นต้น

  • ไม้เท้ามีหลายแบบให้เลือก มีแบบขาเดียว 3 ขา หรือ 4 ขา
  • วอร์คเกอร์ walker เป็นเครื่องช่วยเดินแบบ 4 ขา ผู้ใช้งานใช้มือยึดจับได้ทั้ง 2 ข้าง การออกแบบจะมั่นคงกว่า ไม้เท้าที่มีผู้ใช้งานยึดจับได้ข้างเดียว แต่มีลักษณะใหญ่กว่าไม้เท้า
  • โรเลเตอร์ Rollator มีลักษณะคล้ายวอร์คเกอร์ แต่ติดตั้งล้อเพิ่มขึ้นมาทั้ง 4 ล้อ
  • วีลแชร์หรือรถเข็นผู้ป่วย เป็นเก้าอี้ที่ติดล้อไว้เพื่อให้เข็นผู้ใช้งานได้ มีให้เลือกแบบล้อเล็กและล้อใหญ่ ถ้าเป็นรถเข็นที่มีล้อหลังเล็กจำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเข็นอยู่ด้านหลังจึงจะสามารถเคลื่อนที่ได้ หรือรถเข็นล้อหลังใหญ่ ผู้ใช้งานจะสามารถใช้มือหมุนล้อด้วยตัวเองได้
  • รถเข็นไฟฟ้ารูปร่างคล้ายรถเข็น วีลแชร์ทั่วไป แต่ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่ม เช่น มอเตอร์ แบตเตอรี่และคันบังคับ ที่ผู้ใช้งานสามารถขับเคลื่อนรถเข็นไฟฟ้า ไปไหนมาไหนได้เองและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องมีผู้ดูแลคอยดูแลอยู่ตลอดเวลา

การเลือกใช้อุปกรณ์แบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ใช้งาน สำหรับผู้สูงอายุที่ยังสามารถเดินได้บ้าง ให้เลือกใช้เป็นไม้เท้าไว้ช่วยพยุง แต่ถ้าเดินไม่ได้ หรือต้องการรักษาข้อเท้า ข้อเข่า หรือเพิ่มความปลอดภัยก็จะเลือกใช้เป็นวีลแชร์ หรือรถเข็นไฟฟ้าแทนก็ได้ เพราะอุปกรณ์ 2 ตัวนี้ ผู้ใช้งานไม่ต้องลงแรงบริเวณขาโดยตรง

กลับสู่สารบัญ

สรุปหลีกเลี่ยงและวิธีป้องกันกระดูกพรุน

                อย่างที่ได้อธิบายไปข้างต้นแล้วว่าสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้กระดูกพรุนไม่ได้เกิดจากอายุเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงพฤติกรรมการกิน เช่นดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลมในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานาน สิ่งเหล่านี้จะทำให้กระดูกมีความแข็งแรงน้อยลง เริ่มเปราะบาง และจะเป็นปัญหาต่อผู้สูงอายุเกี่ยวกับการเดิน ที่เมื่อหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ อาจทำให้กระดูกบริเวณสะโพก บริเวณหลัง หรือข้อมือ ข้อเท้าหักได้ หากร้ายแรงอาจทำให้พิการหรือกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงไปเลย

             ดังนั้นการป้องกันคือทางออกที่ดีที่สุด สำหรับคนทั่วไปควรเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกำลังกาย ส่วนผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาในการเดินไม่ควรลงน้ำหนักที่เท้าโดยตรงมากเกินไป อาจจะเลือกใช้อุปกรณ์เสริมช่วยให้เดินสะดวกขึ้นก็ได้เช่นกัน

กลับสู่สารบัญ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.cmu.ac.th/th/article/8b9ddbcb-fc29-4d7b-aca8-85e3b2833017