เมื่อเริ่มเข้าช่วงฤดูร้อนประเทศไทยจะมีสภาพอากาศที่ร้อนจัด จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เป็นโรคฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด ซึ่งเป็นได้ทั้งคนในทุกเพศทุกวัย สุนัข หรือแมวโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน หากไม่หลีกเลี่ยงอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ฮีทสโตรก เกิดจากอะไร
จากในสถิติที่ผ่านมาหลายๆปีเมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าร้อน ประเทศไทยมีผู้ป่วยที่มีสาเหตุมากจากอากาศร้อนมาก จนทำให้เป็นฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด เฉลี่ยประมาณปีละหลายพันคน เป็นโรคที่อันตรายและพบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน สาเหตุหลักๆเกิดจากการที่อยู่ในบริเวณที่มีอากาศร้อนจัดนานเกินไป จนทำให้ร่างหายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ และส่งผลกระทบต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง อาจทำให้ถึงอันตรายแก่ชีวิตได้
ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
- ผู้ที่ทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน
- ผู้ที่ออกกำลังกายหนักเกินไป หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง
- ผู้สูงอายุและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
- โรคอ้วน
- ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัด
- ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
สังเกตอาการเบื้องต้น ด้วยตัวเอง
เพราะสาเหตุของโรคนี้เกิดจากอากาศที่ร้อนจัด ผู้ป่วยที่เป็นจะมีอุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส คล้ายเป็นไข้สูง หากเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือต้องอยู่ในที่แจ้งเป็นเวลานานควรสังเกตตัวเองว่ามีอาการเบื้องต้นเหล่านี้หรือไม่
- มีไข้สูง ตัวร้อน ที่จู่ๆอุณหภูมิในร่างกายก็สูงขึ้นผิดปกติอย่างรวดเร็ว
- รู้สึกเมื่อยล้า อ่อนเพลีย
- หายใจเร็วและถี่ผิดปกติ
- ปวดหัว จนหน้ามืด
- คลื่นไส้ อาเจียน
- กระหายน้ำมาก
- ไม่มีเหงื่อออก แม้อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนจัด
- ชัก เป็นลม หรือหมดสติ
ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือด
ถ้าไม่ได้รับการรักษาและแก้ไข้ในถูกท้อง อาจจะทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
วิธีการป้องกัน
สำหรับผู้ที่ต้องทำงานอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน เช่น เกษตรกร กรรมกร วิศวกรก่อสร้าง หรือนักกีฬาที่ต้องฝึกซ้อม ไม่ควรอยู่บริเวณที่มีอุณหภูมิสูงหลายชั่วโมง ควรหาเวลาเข้ามาอยู่ในร่มบ้าง แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องป้องกันไม่ให้ตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เป็นฮีทสโตรกได้
- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง หรือแดดจัดเป็นเวลานาน
- ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หากอยู่ในบ้านให้เปิดหน้าต่าง หรือเปิดประตู
- ทาครีมกันแดด หรือพกอุปกรณ์กันแดด เช่น หมวก ร่ม แว่นตากันแดด
- ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป
- สวมเสื้อผ้าปลอดโปร่ง สีอ่อน ที่ช่วยระบายอากาศได้ดี
- ดื่มน้ำให้มากและบ่อยๆ อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำหรือกะหายน้ำ
- เลือกออกกำลังกายในช่วงเช้า-เย็น หรือช่วงที่ไม่มีแดด
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ไม่ให้เด็กหรือผู้สูงอายุต้องอยู่กลางแดด
- อย่าอยู่ในรถที่จอดกลางแจ้ง
การปฐมพยาบาลเมื่อเจอผู้ป่วยฮีทสโตรก
หากพบผู้ป่วยที่หมดสติ เป็นลม ที่เปิดจากฮีทสโตรก สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือนำผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในร่ม และพยายามทำให้อุณหภูมิในร่างกายต่ำลงโดยเร็วที่สุด
- โดยให้ผู้ป่วยนอนราบ และยกเท้าขึ้นสูงทั้ง 2 ข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- คลายเสื้อผ้าให้หลวม หรือถอดเสื้อผ้าบางส่วนที่ไม่จำเป็นออก เช่น เสื้อคลุม เสื้อกันหนาว หรือถุงเท้า เพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนได้
- ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว ในตามซอกลำตัว คอ รักแร้ และขาหนีบ โดยเช็ดย้อนขึ้นมาทางหัวใจเพื่อให้รูขุมขนเปิดและจะช่วยระบายความร้อนออก
- ใช้พัดลมหรือพัดแรงๆ เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายให้ต่ำโดยเร็ว
- หากมีผู้ป่วยยังมีสติอยู่ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ หรือน้ำเกลือมากๆ
- หากยังไม่ฟื้นให้รีบโทรแจ้ง 1669 เพื่อนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
สรุปโรคฮีทสโตรก หรือลมแดด ต้องป้องกันอย่างไรไม่ให้เป็นอันตราย
นอกจากคนแล้ว สุนัข แมว กระต่ายหรือสัตว์ชนิดอื่นๆ ยังสามารถเป็นโรคฮีทสโตรกได้ด้วย เพราะสาเหตุหลักเกิดจากที่ต้องอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง อากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน หรือทำกิจกรรมที่หนักเกินไป จนรู้สึกเหนื่อย หอบ หายใจถี่ หรือมีอาการรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อต้องออกไปในที่ที่มีอากาศร้อนๆควรป้องกันตัวเองไว้ก่อน และดื่มน้ำมากๆเป็นประจำ หรือหากพบเจอคนที่หมดสติควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำส่งโรงพยาบาลทันที