ข้อแตกต่างรถเข็นเคลื่อนย้าย

เปรียบเทียบข้อดี-เสียรถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย EM-103&EM-104 แบบไหนดีกว่ากัน

สำหรับผู้ดูแลหลายท่านที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงเป็นเวลานาน และจำเป็นต้องอุ้มผู้ป่วยไปเข้าห้องน้ำ ทานข้าว หรือนั่งรถเข็นวีลแชร์ ซึ่งแต่ละครั้งที่เคลื่อนย้ายต้องออกแรงจำนวนมาก ดังนั้นนวัตกรรมรถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย จึงออกแบบมาให้ช่วยผ่อนแรง และช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อีกด้วย

ซึ่งรถเข็นเคลื่อนย้ายสำหรับผู้ป่วยติดเตียงของเรามีอยู่ทั้งหมด 2 รุ่น คือ EM-103 และEM-104 โดยทั้ง 2 รุ่นนี้มีความแตกต่างอะไรบ้างและต้องเลือกรุ่นไหนให้เหมาะกับการใช้งานมากที่สุด

สารบัญเนื้อหา

รถเข็นเคลื่อนย้ายรุ่น EM-103 เป็นแบบไหน

รถเข็นเคลื่อนย้ายรุ่น EM-104 เป็นแบบไหน

ควรเลือกแบบไหนดี

สรุปข้อแตกต่างรถเข็นเคลื่อนย้าย

รถเข็นเคลื่อนย้ายรุ่น EM-103 เป็นแบบไหน

รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รุ่น EM-103 เป็นรถเข็นเคลื่อนย้ายที่มีการใช้งานอเนกประสงค์ ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ใช้เป็นรถเข็นนั่งถ่าย และอาบน้ำผู้ป่วยได้บนตัวรถ

“แต่รุ่นนี้ไม่สามารถปรับระดับความสูงในขณะที่ผู้ใช้งานนั่งอยู่บนตัวรถได้”

กลับสู่สารบัญ

ลักษณะโครงสร้าง

ตัวโครงสร้างผลิตจากคาร์บอนสตีล ที่มีความแข็งแรง เหนียวสามารถรองรับน้ำหนักผู้ใช้งานสูงสุด 120 กก. น้ำหนักตัวรถโดยรวมอยู่ที่ 18 กก. หากต้องการเคลื่อนย้ายก็สามารถถอดชิ้นส่วนและนำใส่ท้ายรถยนต์ได้

โดยที่นั่งของรถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอเนกประสงค์รุ่น EM-103 จะมีช่องว่างอยู่ตรงกลางและถังสำหรับขับถ่าย ผู้ป่วยสามารถขับถ่ายในขณะที่อยู่บนตัวรถได้เลย หรือหากไม่ต้องการให้ขับถ่ายใส่ถัง เพียงแค่ดึงถังขับถ่ายออก แล้วเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปคร่อมบนตัวชักโครกได้เช่นเดียวกัน

กลับสู่สารบัญ

รถเข็นเคลื่อนย้าย รุ่น EM-103 สีเหลือง

ถังสำหรับขับถ่ายใต้ที่นั่ง

รถเข็นเคลื่อนย้ายเข้าชักโครก

ใช้คร่อมชักโครกได้

ฟังก์ชั่นการใช้งาน

  • ปรับระดับความสูงได้ทั้งหมด 10 ระดับ เหมาะแก่การเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่างๆ
  • ความสูงจากที่นั่งถึงพื้นอยู่ที่ระหว่าง 40-60 ซม. เลือกปรับความสูงให้เหมาะกับที่นั่ง
  • ขนาดความกว้างของตัวรถเพียง 54 ซม. สามารถเข็นเข้า-ออกประตูได้สะดวก (มาตรฐานความกว้างประตู 80 ซม.)
  • เบาะรองนั่งหนานุ่ม นั่งสบาย
  • ใต้ที่นั่งมีช่องตรงกลาง และถังสำหรับขับถ่าย สามารถใช้รถเข็นคร่อมชักโครกหรือขับถ่ายใส่ถังใต้ที่นั่งได้เลย
  • เบรกล็อคล้อทั้ง 4 ล้อ เพิ่มความปลอดภัยระหว่างใช้งาน

กลับสู่สารบัญ

รถเข็นเคลื่อนย้ายจากโซฟา

เคลื่อนย้ายไปโซฟา

รถเข็นเคลื่อนย้ายเข้าประตู

เข้า-ออกประตูห้องน้ำสะดวก

วิธีการใช้งาน

หากต้องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ให้ปลดล็อคที่นั่ง ยกตัวผู้ป่วยขึ้นทั้งนั่งทั้ง 2 ฝั่งให้เรียบร้อย แล้วจึงประกบที่นั่งพร้อมล็อคพนักพิงด้านหลังเพื่อป้องกันไม่ให้หล่นจากตัวรถ แล้วจึงเคลื่อนย้ายไปยังที่นั่งที่ต้องการได้เลย

*ข้อควรระวังในระหว่างที่ผู้ดูแลยกผู้ป่วยขึ้นบนตัวรถเข็นเคลื่อนย้าย ให้เบรกล็อคล้อทั้ง 4 ล้อไว้ทุกครั้งป้องกันการเลื่อนไถล

กลับสู่สารบัญ

รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รุ่น EM-104

รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วยรุ่นนี้เหมาะกับการใช้งานที่เน้นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเป็นหลักจากเตียงนอน ไปยังเก้าอี้ โซฟาหรือที่ต่างๆ เป็นตัวช่วยที่ช่วยผ่อนแรงผู้ดูแลที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในวันละหลายๆครั้ง เพราะตัวรถสามารถปรับระดับความสูงได้ตามต้องการ แม้ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่บนตัวรถก็สามารถปรับสูง-ต่ำให้เหมาะกับที่นั่งที่ต้องการเคลื่อนย้ายได้

“โดยที่รุ่นนี้สามารถปรับระดับความสูงแม้ผู้ใช้งานนั่งอยู่
ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นรถยนต์ได้ด้วย”

กลับสู่สารบัญ

ย้ายผู้ป่วยขึ้นรถยนต์

ลักษณะโครงสร้าง

วัสดุโครงสร้างผลิตจากคาร์บอนสตีล และรองรับน้ำหนักผู้ใช้งานสูงสุด 120 กก. เช่นเดียวกับรุ่น EM-103 จะแตกต่างกันที่นั่งของรุ่นนี้เป็นผ้าใบรองนั่ง โดยจะมี 2 ชิ้น คือผ้าใบรองนั่งสำหรับเคลื่อนย้าย และผ้าใบสำหรับขับถ่าย โดยชิ้นส่วนผ้าใบขับถ่ายจะมีช่องตรงกลาง โดยที่เคลื่อนย้ายตัวรถเข็นไปคร่อมบนชักโครกแล้วใช้ขับถ่ายได้เลย และความพิเศษอีกอย่างของรุ่นนี้คือผู้ป่วยสามารถใช้อาบน้ำได้อีกด้วย อีกทั้งไม่ต้องกังวลเรื่องการเกิดสนิม เพราะรุ่นนี้ได้ออกแบบมาให้เคลือบสีที่ป้องกันการเกิดสนิมเป็นอย่างดี

กลับสู่สารบัญ

ฟังก์ชั่นการใช้งาน

  • สามารถปรับความสูงได้ตั้งแต่ 45-80 ซม. หากต้องการปรับให้ต่ำกว่านี้ ให้ทำการปรับสายรองนั่งให้ยาวขึ้นเพื่อให้เบาะรองนั่งหย่อนลงต่ำกว่าเดิม
  • เนื่องจากปรับความสูงได้ถึง 80 ซม. สามารถเคลื่อนย้ายผู้ใช้งานขึ้นรถยนต์ได้ด้วย
  • ความกว้างของฐานด้านล่างมี 2 ขนาด ฐานในกว้าง 60 ซม. ใช้เข็นเช้าประตูได้สะดวก และฐานข้างในกว้าง 70 ซม. ใช้คร่อมวีลแชร์ได้
  • และความสูงของฐาน 15 ซม. ทำให้สอดใต้ที่นั่ง โซฟา เตียง หรือใช้คร่อมรถเข็นทั่วไปได้
  • มีผ้าใบ 2 ชิ้น ผ้าใบรองนั่งสำหรับเคลื่อนย้าย และผ้าใบขับถ่ายสำหรับใช้ขับถ่าย
  • ปลอดภัยด้วยเบรกล็อคล้อทั้ง 4 ด้าน และที่กั้นด้านหลัง

กลับสู่สารบัญ

EM-104_เคลื่อนย้ายเข้าโซฟา

ปรับความสูงได้ในขณะที่นั่งอยู่

เคลื่อนย้ายไปยังรถเข็นไฟฟ้า

วิธีการใช้งาน

ส่วนวิธีการใช้งานเพียงแค่ผู้ดูแลสอดผ้าใบใต้ตัวผู้ป่วย แล้วนำสายแขวนล็อคกับรถเข็นทั้ง 4 ด้าน หลังจากนั้นก็เคลื่อนที่ไปยังที่ต้องการได้เลย ระหว่างที่แขวนล็อคผ้าใบเกี่ยวกับรถเข็นให้ทำการล็อคเบรกล้อทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเลื่อนไถล และต้องล็อคที่กั้นหลังทุกครั้งเมื่อใช้งาน

กลับสู่สารบัญ

ควรเลือกแบบไหนดี

เปรียบเทียบรถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รุ่น EM-103&104

รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเตียงทั้ง 2 รุ่น มีการใช้งานที่คล้ายๆกัน แต่จุดประสงค์หลักของแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องสำรวจดูว่า เราต้องการใช้งานแบบไหนมากกว่ากัน หากเน้นเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังเก้าอี้ โซฟา เตียงนอน รถยนต์หรือใช้คร่อมบนรถเข็นวีลแชร์ รถเข็นไฟฟ้า แนะนำเป็นรุ่น EM-104 จะเหมาะสมมากกว่า เนื่องจากรุ่นนี้สามารถปรับระดับความสูงแม้ในขณะที่ผู้ใช้งานอยู่บนตัวรถได้มากถึง 110 ซม. ทำให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยขึ้นรถยนต์ได้ และมีฐานด้านล่างกว่าจึงใช้คร่อมรถเข็นวีลแชร์ได้ ตัวโครงสร้างสามารถใช้อาบน้ำได้ และอีกทั้งยังมีผ้าใบ 2 ชิ้น คือผ้าใบรองนั่ง ใช้สำหรับเคลื่อนย้าย และผ้าใบขับถ่าย ใช้คร่อมชักโครกสำหรับขับถ่ายได้เลย

ส่วนรถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วยรุ่น EM-103 จะเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการให้ผู้ใช้งานขับถ่าย หรืออาบน้ำอยู่บนตัวรถ เพราะความกว้างของรุ่นนี้จะแคบกว่า จึงทำให้การเข็นเคลื่อนย้ายไปเข้าห้องน้ำได้สะดวกยิ่งกว่า และตัวโครงสร้างถูกออกแบบมาให้กันน้ำได้อีกด้วย ส่วนข้อเสียคือต้องปรับระดับความสูงก่อนที่ผู้ป่วยจะอยู่บนตัวรถ  ไม่สามารถระดับความสูงในขณะที่ผู้ใช้งานนั่งอยู่บนตัวรถ

กลับสู่สารบัญ

สรุปข้อแตกต่างรถเข็นเคลื่อนย้าย

ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดของรถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทั้ง 2 รุ่นคือ EM-103 ไม่สามารถปรับระดับความสูงในขณะที่ผู้ใช้งานนั่งอยู่บนตัวรถ และยังปรับได้สูงสุดเพียง 60 ซม. ส่วนรุ่น EM-104 จะปรับความสูงได้ตลอดแม้ผู้ใช้งานจะนั่งอยู่บนตัวรถ ซึ่งปรับได้สูงสุด 80 ซม.

นอกจากนั้นทั้ง 2 รุ่น ยังใช้งานอาบน้ำ ขับถ่าย และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้เหมือนกัน

กลับสู่สารบัญ