โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าหรือแค่เศร้าซึม ปัญหาทางใจที่เกิดจากหลายสาเหตุ ควรเรียนรู้เพื่อรับมือกับวิธีรักษาที่ถูกต้อง

         ในแต่ละวันเราทุกคนต้องมีอารมณ์ขึ้นๆลงๆกันบ้าง และต่างคนต่างเคยมีความรู้สึกเศร้า ผิดหวัง เครียด ไม่ว่าจะเรื่องเรียน งาน หรือครอบครัว จนกลายเป็นสาเหตุ หนึ่งของโรคซึมเศร้า ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อยขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้มีวิธีการรักษา ได้ด้วยการใช้ยาและบำบัดสภาพจิตใจให้ดีขึ้นไปพร้อมๆกัน

สารบัญเนื้อหา

โรคซึมเศร้าคืออะไร

เกิดจากอะไร

สัญญาณแบบไหนที่บ่งบอกว่าเป็น

วิธีการรักษาที่ถูกต้อง

สรุปโรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร ทำไมต้องเป็น

โรคซึมเศร้าคืออะไร

การที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ ความรู้สึกหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความรู้สึกที่มาจากการสูญเสีย ความผิดหวัง หรือพบเจอเรื่องร้ายแรงที่คาดไม่ถึง จนทำให้กลายเป็นโรคซึมเศร้า แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะต้องมีอารมณ์แบบนี้อยู่มากกว่า 2 สัปดาห์ติดๆ และไม่มีทีท่าว่าจะหายเลย ส่งผลให้พฤติกรรมรวมถึงอารมณ์ต่างๆเริ่มรุนแรงขึ้น จนอาจจะทำให้คิดสั้นเลยก็ได้

กลับสู่สารบัญ

สาเหตุโรคซึมเศร้า

เกิดจากสาเหตุอะไร

              หลายคนคิดว่าคนที่มองโลกแง่ลบ คิดมาก อยากอยู่คนเดียวหรือไม่ชอบเข้าสังคม เป็นหนึ่งในปัจจัยของโรคซึมเศร้าเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้ว โรคนี้มีหลายปัจจัยประกอบด้วยกัน ส่วนหนึ่งมากจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติและกรรมพันธุ์ที่มาจากพ่อแม่ พี่น้อง และฝาแฝด หรือฝาแฝดคนใดคนหนึ่งเป็น อีกคนก็มีโอกาสสูงเช่นกัน

              หากเดิมปกติเป็นคนอ่อนไหวง่ายอยู่แล้ว ไปเผชิญกับเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต ไม่ว่าจะเรื่องเรียน งาน เงิน ครอบครัว หรือสุขภาพที่รู้ว่าตนเองกำลังเป็นโรคร้ายแรง เจ็บป่วยเรื้องรัง หรือเกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ที่ตนเองไม่สามารถทำใจยอมรับได้ ทำให้ส่งผลกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรงและเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้า

              นอกจากนี้อีกสาเหตุคือ การใช้ยาบางอย่างเช่นยานอนหลับบางตัว ยาอักเสบ ยาแก้ปวด สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์ ที่มีโอกาสให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียง ในลักษณะของอารมณ์ซึมเศร้าได้เช่นกัน

กลับสู่สารบัญ

สัญญาณแบบไหนที่บ่งบอกว่าเป็นโรคซึมเศร้า

ถ้ารู้สึกเก็บตัว อยากอยู่คนเดียว จนไม่สนใจคนรอบข้างนั่นเป็นสัญญาณเตือนส่วนหนึ่งของโรคนี้ เพราะในแต่ละช่วงวัยจะมีการแสดงออกของโรคซึมเศร้าในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะดังนี้

โรคซึมเศร้าอาการ
  • ไม่ชอบเข้าสังคม เก็บตัว อยากอยู่คนเดียว
  • เริ่มไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ไม่อยากทำอะไร อยากอยู่เฉยๆ
  • มีปัญหาการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เข้ากับผู้อื่นไมได้
  • คิดว่าตนเองเป็นคนไร้ค่า คิดว่าตนเองทำให้คนรอบข้างผิดหวัง รู้สึกสิ้นหวังและโทษตนเองตลอดเวลา
  • รู้สึกเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่าย หงุดหงิด หม่นหมอง กังวลใจ ไม่สบายใจ
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
  • นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ
  • ไม่มีสมาธิ ใจลอย
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • มีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง คิดถึงแต่ความตาย

 

            หากมีอาการ ตามข้างต้นอย่างน้อย 1 ข้อ และเป็นตลอดเวลา ทุกวันต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์ ไม่ใช่เป็นๆหาย หรือเป็นเพียงวันเดียวแล้วกลับมาเป็นใหม่ จนส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างทั้งครอบครัว พี่น้อง เพื่อน เพื่อนร่วมงาน และการใช้ชีวิตประจำวันในด้านอื่นๆ หากปล่อยไว้นานหรือตนเองไม่รู้ตัว อาจจะทำให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าและรุนแรงมากกว่า ซึ่งอารมณ์พวกนี้หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงระหว่างวัยรุ่นสู่วัยผู้ใหญ่

แต่เมื่อเป็นโรคนี้ ไม่ได้หมายความว่าคนในครอบครัวจะต้องเป็นโรคนี้ด้วยเช่นกัน ในทางตรงข้ามากคนในครอบครัวมีอาการ ดังนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นโรคนี้ได้ เพราะไม่ใช่โรคที่สามารถติดต่อทางสัมผัส แต่ขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจของแต่ละคนที่พบเจอเหตุการณ์มากกว่า

กลับสู่สารบัญ

หากใครที่กำลังสงสัยว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า
เรามาหาคำตอบได้ที่นี้ด้วยกันดีกว่าครับ 

 

 

วิธีการรักษาที่ถูกต้อง

เพราะโรคนี้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนอยู่โรงพยาบาล แต่ขั้นแรกแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เพราะแต่ละคนแสดงอาการ โรคซึมเศร้าออกมาไม่เหมือนกัน โดยที่แพทย์จะเริ่มสอบถามการใช้ชีวิตประจำวันและผลกระทบ ประวัติบุคคลในครอบครัวใครเคยเป็นโรคนี้อยู่บ้าง รวมถึงยาที่กินยาเพราะยางบางชนิดอาจส่งผลข้างเคียงให้เป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน แล้วนำมาประเมินว่าผู้ป่วยต้องได้รับการบำบัดแบบไหน

การรักษาโดยการใช้ยา

มียาหลายชนิดเพื่อช่วยลดความกังวลและช่วยให้หายจากความเศร้า หายซึมเศร้าจริงๆ ผู้ป่วยต้องกินยาเพื่อบรรเทาโรคซึมเศร้าอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือนเพราะยาชนิดจะออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า มีทั้งทำให้ง่วงและไม่ทำให้ง่วง เมื่อเข้าสู่สภาวะปกติควรหยุดกินยาได้ แต่ก่อนจะหยุดกินควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง และกินบ่อยๆไม่ทำให้เกิดการเสพติด

***หากผู้ป่วยเคยบำบัดและหายมาก่อน แล้วกลับมาเป็นอีกครั้ง
มีโอกาสทำให้เกิดการดื้อยา ทำให้แพทย์ต้องเปลี่ยนยาเป็นชนิดใหม่***

กลับสู่สารบัญ

เข้ารับการพูดคุยปรึกษากับแพทย์

การได้เข้าไปปรึกษาและพูดคุยกับแพทย์เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งได้ผลดี ซึ่งวิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยได้ปรับมุมมอง และมองหาสาเหตุ “อะไรเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เพื่อนำไปแก้ไขปัญหา และเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง

แพทย์จะช่วยปรับความคิด หรือพฤติกรรมของผู้ป่วยที่ส่งผลเสียในแง่ลบเพื่อหาทางแก้ไขและช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น ถ้าผู้ป่วยยังหาต้นตอที่แท้จริงไม่ได้ ต้องจมปกอยู่ความเศร้านั้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะดีขึ้น แต่ในช่วงเสลาต่อมาอาจจะมีความคิดสักครู่ที่ทำให้ฉุกคิดขึ้นมาแล้วกลับไปซึมอีกครั้ง

กลับสู่สารบัญ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

           ส่วนใครที่กำลังรู้สึกเศร้า หมดหวัง ไม่อยากทำอะไร ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆไม่หาอะไรทำยิ่งจะทำให้คิดเรื่องอื่นๆ คิดวกวนจนอาจจะทำให้โรคซึมเศร้าแย่กว่าเดิม วิธีแก้คือ การหาอะไรทำ อาจจะเป็นงานที่ไม่จำเป็น เช่น จัดของ ทำความสะอาด อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง หรือทำตัวให้ยุ่งๆเพื่อที่สมองจะได้ไม่ว่างและไม่รู้สึกคิดมาก เพื่อลดความคิดฟุ้งซ่านและอารมณ์ก็จะดีขึ้นด้วย

หลักๆคือการให้คำปรึกษาจากแพทย์เชี่ยวชาญ การทำจิตบำบัด หากเป็นมานานอาจจะต้องมีความจำเป็นใช้ยาช่วย ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อใช้วิธีนี้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการ ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตประจำวันกับคนรอบข้างได้อย่างปกติ แต่หากปล่อยไว้นานอาจจะทำให้หายยากกว่าเดิม

กลับสู่สารบัญ

หากใครมีคนใกล้ชิดที่มีแนวโน้มหรือกำลังเป็นโรคนี้อยู่

ลองดูวิธีการดูแล และอยู่อย่างไรเมื่อคนใกล้ชิดมีภาวะซึมเศร้า

สรุปโรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร ทำไมต้องเป็น

            อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยที่เป็นหนักมาก ครอบครัวและคนรอบข้างต้องให้ความสำคัญและคอยดูแล ควรหมั่นสังเกตตนเองและคนรอบข้าง เพราะโรคซึมเศร้าไม่มีระยะเวลาป่วยที่แน่นอน

            เพราะบางคนอาจจะเป็นมาหลายปีแต่เพิ่งแสดงออก หรือบางคนป่วยแค่เดือนสองเดือน ก็รู้ตัวและรีบรักษา ให้หายได้ เพราะเมื่อปล่อยไว้นาน ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ป่วยคิดสั้นสูงมาก และผู้ป่วยยังไม่สามารถใช้วิธีทานยาให้หายได้ จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าแต่ค่อนข้างเป็นอันตรายมากเช่นกัน

กลับสู่สารบัญ