เก๊าท์

เก๊าท์เกิดจากอะไร? เข้าใจเตรียมรับมือกับอาการและเมนูอาหารที่ห้ามกิน

หากพูดถึงโรคเก๊าท์หลายคนคิดว่ามีสาเหตุมาจาก “ไก่” แต่ความจริงแล้วโรคนี้เกิดจาก กรดยูริกที่สะสมอยู่ในร่างกายในปริมาณมากและเป็นเวลานานจนตกตะกอนอยู่บริเวณข้อต่อทำให้รู้สึกปวด บวมและอักเสบทำให้ผู้ป่วยทรมานจากโรคนี้คล้ายกับรูมาตอยด์ ดังนั้นหากใครที่เป็นโรคนี้ต้องทราบวิธีการรักษาและเมนูอาหาร ที่ผู้ป่วยสามารถทานได้และห้ามกินนั้นมีอะไรบ้าง

สารบัญเนื้อหา

โรคเก๊าท์เกิดจากอะไร

ปัจจัยเสี่ยง

พบมากในช่วงอายุเท่าใด

ตำแหน่งที่พบได้บ่อย

อาการเป็นอย่างไร

ร้ายแรงแค่ไหน

วิธีการรักษา

วิธีการป้องกัน

ผู้ป่วยต้องทานอะไร

สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเก๊าท์

เก๊าท์เกิดจากอะไร

โรคเก๊าท์เกิดจากอะไร

โรคเก๊าท์ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่เกิดขึ้นจากในร่างกายมีกรดยูริกอยู่สูงมากและสะสมเป็นเวลานานหลายปี จนทำให้กรดยูริกไปสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อ กระดูก ผนังหลอดเลือดและไต

ซึ่งกรดยูริกเป็นสิ่งที่ร่างกายจะสร้างขึ้นมาเองอยู่แล้วส่วนใหญ่และจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ แต่ผู้ป่วยที่เป็นเก๊าท์จะมีความผิดปกติในการขับปัสสาวะหรือไม่สามารถขับออกมาได้หมด และอีกสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งคือมาจากการรับประทานอาหาร ที่มีสารฟิวรีนสูงมากจนเกินไปที่พบได้ในสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักและสัตว์ทะเลบางอย่างเป็นต้น

กลับสู่สารบัญ

ปัจจัยเสี่ยงโรคเก๊าท์

  • มีกรดยูริกสะสมในร่างกายเป็นเวลานาน
  • มาจากกรรมพันธุ์มีโอกาสเสี่ยงเป็นถึง 1ใน15
  • รับประทานอาหาร ที่มีสารพิวรีนสูง
  • คนที่เป็นโรคอ้วน หรือน้ำหนักเกินมาตรฐานก็เสี่ยงเป็นโรคนี้เช่นเดียวกัน
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลปริมาณมาก
  • การทำงานผิดปกติของไตซึ่งไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะออกมาได้หมด ทำให้ปัสสาวะตกค้าง
  • มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ความผิดปกติของไขกระดูก เป็นต้น
  • ดื่มน้ำอัดลมในปริมาณที่เยอะเกินไป เพราะในน้ำอัดลมจะมีน้ำตาลฟรุตโตส รวมถึงผลไม้และน้ำผลไม้บางชนิดด้วย

กลับสู่สารบัญ

พบในช่วงอายุเท่าไหร่

โรคเก๊าท์จะพบได้ตั้งแต่เด็ก แต่ส่วนใหญ่จะพบในช่วงอายุ 30-40 ปี และผู้ชายมีโอกาสเป็นเร็วและเป็นมากกว่าผู้หญิง เพราะผู้ชายมักดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลมากกว่า

ส่วนผู้หญิงจะเป็นเก๊าท์ในช่วงหมดประจำเดือน เพราะเมื่อยังมีประจำเดือนอยู่จะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เป็นตัวช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกาย

แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อหมดประจำเดือนแล้วจะเป็นเก๊าท์ทันทีเพียงแต่มันมีโอกาสเสี่ยงมากกว่า แล้วจะเป็นหลังหมดประจำเดือนไปแล้วนานถึง 5-10 ปี

กลับสู่สารบัญ

ตำแหน่งที่พบได้บ่อย

ระยะแรกจะพบมากโดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าจึงลุกลามไปยังข้อส่วนต่าง เช่น ข้อเท้า หัวเข่า ข้อนิ้ว ข้อต่อกระดูก ข้อมือ ข้อศอก เป็นต้น

หากปล่อยให้เป็นซ้ำหลายๆครั้งจะแย่ลงกว่าเดิมเพราะความเจ็บปวดจะลุกลามไปทั่วร่างกายบริเวณเส้นเอ็น พังผืด กระดูกอ่อน เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง เนื้อไต นิ่วในกรวยไตหรือทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

กลับสู่สารบัญ

อาการเป็นยังไง

ในระยะเฉียบพลันความรู้สึกใน 4-12ชั่วโมงแรกจะเจ็บปวดที่สุด อยู่ดีๆก็ปวดขึ้นมาโดยเฉพาะบริเวณที่นิ้วและข้อเท้าแต่หลังจากนั้นจะดีขึ้นและหายสนิทภายใน 7-10วัน

ส่วนระยะแรกผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะไม่แสดงอาการ ออกมาทันทีและไม่แสดงล่วงหน้า อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าสาเหตุหลักของโรคนี้เกิดจาก ที่กรดยูริกสะสมหรือตกค้างในร่างกายเป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะรู้สึกปวด บวมเพียงบริเวณใดบริเวณหนึ่งและเป็นแค่ชั่วคราวสักพักก็จะหายไป

แต่ถ้าเมื่อไหร่ไม่ได้รับการดูแลรักษาหรือป้องกันอย่างถูกต้อง ความเจ็บปวดจะลุกลามไปยังจุดอื่นจนทั่วร่างกาย และผู้ป่วยจะรู้สึกปวด อักเสบข้ออักเสบ ปวดแดงร้อนที่ข้อ มีปุ่มนูนขึ้นตามผิวหนัง หากโชคไม่ดีกรดยูริกไปตกตะกอนบริเวณไตจะทำให้เกิดนิ่วในไตและไตเสื่อมได้

ผู้ป่วยบางคนอาจมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น ข้อต่ออักเสบ เกิดการติดเชื้อ เป็นได้ข้อต่อเดียวหรือหลายข้อต่อ เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ผิวหนังลอก

หรือมีปุ่มก้อนขึ้นบริเวณที่อักเสบบ่อยๆ และก้อนจะโตขึ้นเรื่อยๆ และแตกออกมีสารขาวๆคล้ายแป้งดินสอพอง เมื่อเป็นแผลที่แตกออกมาจะหายช้ามากและเป็นแผลเป็น

กลับสู่สารบัญ

อาการเจ็บปวดตามข้อต่างๆอาจจะไม่ใช่เป็นโรคเก๊าท์เพียงเดียว

ซึ่งมีโอกาสเป็นรูมาตอยด์ก็ได้

โรคเก๊าท์ร้ายแรงแค่ไหน

ผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะรู้สึกปวดบวมหรืออักเสบบริเวณข้อต่อต่างๆคล้ายกับรูมาตอยด์เพียงแต่มีสาเหตุต่างกัน และโรคนี้มีวิธีรักษาให้หายได้แต่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกเช่นกัน หากปล่อยไว้นานจะทำให้เคลื่อนไหวร่างกายลำบากหรือเดินไม่ได้คล้ายอัมพาตและบางรายอาจเป็นไตวายร่วมด้วย

กลับสู่สารบัญ

วิธีการรักษา

วิธีการรักษาโรคเก๊าท์จะใช้ยารักษาเป็นหลัก โดยการกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก ซึ่งใช้ได้ผลเมื่อเป็นในระยะเฉียบพลันหรือระยะแรกที่รู้สึกปวดบวมเท่านั้น และต้องทานยาเพื่อควบคุมไม่ให้ระดับของกรดยูริกสูงขึ้น แต่มันไม่สามารถหายขาดได้ทันทีหากยังทำพฤติกรรมเสี่ยงแบบเดิมอยู่

ข้อห้ามที่สำคัญเมื่อผู้ป่วยรู้สึกปวด ห้ามบีบหรือนวดบริเวณนั้นเป็นอันขาด เพราะจะทำให้กรดยูริกวิ่งมาอยู่บริเวณนั้นมากขึ้น แต่ให้ใช้ประคบน้ำแข็งบริเวณที่ปวดและหากปวดบริเวณข้อเท้าให้ยกเท้าสูงขึ้นแทน

หากกินยาหรือเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงเป็นสาเหตุของโรคเก๊าท์แล้วยังไม่หายดี อาจจะต้องผ่าตัดนิ่วหรือตัดไตทิ้งไปข้างใดข้างหนึ่ง

โรคเก๊าท์มีโอกาสรักษาหายได้แต่ต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอและไปพบแพทย์ทุกครั้งตามที่นัด ซึ่งไม่ได้หายไปทันทีต้องใช้เวลาดูแลรักษาด้วยยานานหลายปีและควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม

กลับสู่สารบัญ

วิธีการป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม รวมถึงน้ำผลไม้หรือผลไม้บางอย่างที่มีฟรุตโตสสูง
  • รับประทานอาหาร ที่มีสารฟิวรีนให้น้อยลงเพื่อควบคุมไม่ให้ระดับของกรดยูริกสูงเกินไป ซึ่งอยู่ในจำพวกเครื่องในสัตว์ สัตว์ทะเล สัตว์ปีก ถั่วบางชนิด สารสกัดจากยีสต์ แต่อาจทดแทนด้วยโปรตีนที่ได้จากผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ
  • เปลี่ยนจากการปรุงประเภททอดหรือผัดที่ใช้น้ำมันมาก ให้ใช้วิธีนึ่ง ตุ๋น ต้ม ย่าง
  • ดื่มน้ำเยอะๆเพื่อช่วยขับกรดยูริกออกมาก
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน
  • ไม่ควรออกกำลังกายที่เน้นบริเวณข้อมากเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้ข้อเสื่อมได้
  • พักการใช้งานของข้อ ให้พักผ่อน หยุดการทำงานของข้อ พักผ่อนไม่ใช้งานทำงานข้อหนักเกินไป

กลับสู่สารบัญ

ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ต้องทานอะไร

เมนูอาหารโรคเก๊าท์

เมนูห้ามกิน (มีปริมาณสารฟิวรีนสูง) เช่น

  • สัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด
  • สัตว์ทะเล เช่น กุ้ง หอย
  • เครื่องในสัตว์ ตับ ม้าม หัวใจ สมอง กึ๋น
  • ปลาดุก ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคโคเรล ปลาอินทรีย์ ไข่ปลา
  • ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
  • ผักยอดอ่อนบางประเภท เช่น กระถิน ชะอม สะเดา ยอดมะพร้าวอ่อน
  • น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน เห็ด
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลไม้ น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน

กลับสู่สารบัญ

เมนูที่ควรลด (มีปริมาณสารฟิวรีนปานกลาง) เช่น

  • เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว
  • สัตว์ทะเล เช่น ปู หมึก
  • ปลาน้ำจืด ยกเว้นปลาดุก
  • ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้, หน่อไม้ฝรั่ง, ดอกกะหล่ำ, ผักโขม, สะตอ, ใบขี้เหล็ก
  • ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง ถั่วลันเตา
  • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ เหล้าองุ่น

กลับสู่สารบัญ

เมนูที่ทานได้ไม่จำกัด (ไม่มีสารฟิวรีนอยู่เลย) เช่น

  • ข้าว ธัญพืชทุกชนิด ยกเว้นข้าวโอ๊ต
  • ผลไม้ทุกชนิด
  • นมสด นมขาดมันเนย นมพร่องมันเนย ไข่
  • ขนมปัง ขนมหวาน
  • ผักทุกชนิด เช่น ถั่วงอก คะน้า ยกเว้นยอดผัก
  • ไขมันจากพืช และสัตว์

กลับสู่สารบัญ

สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไรบ้าง

จริงๆแล้วโรคเก๊าท์เกิดขึ้นจากกรดยูริกที่สะสมอยู่ในร่างกายปริมาณมากและเป็นเวลานานที่มาจากการกินสัตว์ปีก สัตว์ทะเลและเครื่องในสัตว์ที่มีสารฟิวรีนสูง โรคนี้มีโอกาสรักษาหายได้แต่ต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอและไปพบแพทย์ทุกครั้งตามที่นัด ที่สำคัญต้องใช้เวลาดูแลรักษาควบคู่กับไปกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง

กลับสู่สารบัญ