ปกติเวลานอนเราจะไม่รู้สึกว่าตนเอง นอนกรน หรือนอนกัดฟัน แต่เมื่อตื่นนอนจะรู้สึกปวดบริเวณแก้ม หู ขมับ ขากรรไกรหรือปวดหัว ซึ่งเสียงกัดฟันยังเป็นเสียงน่ารำคาญสำหรับกับคนที่นอนด้วยกัน แต่ตนเองจะไม่ได้ยินเสียงและไม่รู้ตัว จึงไม่รู้สึกอะไร ไม่ว่าฟันจะแข็งแรงขนาดไหน เมื่อมีแรงกระทบกับฟันโดยตรงก็ทำให้ฟันสึกได้เช่นกัน แล้วปัญหานี้ เกิดจากอะไร และต้อง แก้ยังไง ไม่ให้เป็นเช่นนั้น
สารบัญเนื้อหา
วิธีสังเกตเมื่อนอนกัดฟัน
- ตื่นนอนรู้สึกปวดบริเวณแก้ม หู ขมับ ขากรรไกร
- ปวดฟัน
- เสียวฟัน
- ปวดหัว
- คนที่นอนข้างๆเป็นคนบอก
นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร
การนอนกัดฟันมีอยู่ 3 ปัจจัยหลัก ซึ่งมาจากอะไรบ้าง มาดูกัน
สาเหตุทางร่างกาย
- ฟันกรามงอกขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเด็กเป็นเรื่องปกติ ซึ่งจะเป็นไม่นานแล้วจะหายไปเอง
- ความผิดปกติของฟัน ปวดฟัน ฟันเก ซ้อน หรือฟันเรียงไม่เป็นระเบียบ มีฟันซี่ใดซี่หนึ่งสูงหรือเอนเอียง ซ้อนผิดปกติ อาจจะเป็นซี่ที่ไปกระแทกกับฟันตรงข้ามก่อน
- ความผิดปกติของขากรรไกร ขากรรไกรค้างบ่อยเวลานอนอาจทำให้ขากรรไกรเคลื่อนมาชิดกัน ทำให้ฟันกระแทกกัน
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคพาร์กินสัน
สาเหตุทางอารมณ์ และจิตใจ
นอนกัดฟันเกิดขึ้นกับคนที่มีความเครียด วิตกกังวล ทำระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ
สาเหตุทางพฤติกรรม
การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาบางประเภทที่ส่งผลข้างเคียงที่มีผลกระทบต่ออารมณ์ จิตใจ เช่น ยาโรคซึมเศร้า ยารักษาอาการทางจิต เป็นต้น
ผลเสียเป็นอย่างไร
ปกติฟันกรามจะต้องนูน เว้าตามร่องฟันทั้งบนและล่างให้พอดีในขณะเคี้ยวอาหาร แต่หากเป็นเวลานาน ฟันกรามจะมีลักษณะเรียบ ไม่มีส่วนนูน เว้าหรือสึกกร่อน ทำให้เคี้ยวอาหารได้ลำบากกว่าเดิม
ซึ่งบางคนนอนกัดฟันแค่บางซี่ ซี่ที่ถูกกระแทกแรงๆมานาน หากร้ายแรงมากอาจจะส่งผลให้ฟันตาย เจ็บปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกรโดยเฉพาะเวลาเคี้ยวอาหาร
หากถามว่า นอนกัดฟันเป็นอันตรายมั้ย? ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายถึงชีวิตครับ แต่จะกลายเป็นเสียงที่รบกวน สร้างความรำคาญกับคนที่นอนอยู่ข้างๆมากกว่าครับ
เริ่มแรกจะยังไม่แสดงอาการ แต่มันจะมีผลเสียโดยตรง ทำให้ฟันจะสึกกร่อน แตก ร้าวอย่างช้าๆ เวลาตื่นนอนจะรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณ แก้ม หน้า หู ส่งผลต่อข้อต่อขากรรไกร อ้าปากไม่ได้
หากปล่อยไว้นาน จะรู้สึกว่าการเคี้ยวอาหารเริ่มไม่ค่อยดี เคี้ยวอาหารเหนียวหรือแข็งได้ยากขึ้น รู้สึกปวดฟัน ฟันร้าวหรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่นอาการเสียวฟันตามมา และความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แก้ยังไง ให้เลิกนอนกัดฟัน
หลายคนรำคาญเสียงกัดฟันเวลานอน รู้สึกรำคาญ จึงอยากหาวิธีแก้ยังไงให้อาการนั้นหายไป จริงๆแล้วอาการนี้สามารถรักษาเบื้องต้นด้วยตนเอง โดยที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เป็นต้นเหตุ
แต่สำหรับคนที่นอนกัดฟันบ่อยมากขึ้นให้รีบรักษา เพื่อไม่ให้รุนแรงมากกว่าเดิม และไม่ควรปล่อยให้ปวดฟัน ฟันร้าว ฟันแตก ที่ส่งผลเสียต่อขากรรไกรหรือสร้างความเสียหายให้กับฟัน วิธีทำอย่างไรไม่ให้นอนกัดฟันสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดังนี้
- สังเกตการเปลี่ยนแปลงบริเวณช่องปาก หากมีฟันซี่ใดซี่หนึ่งที่ซ้อนเก หรืออุดฟันสูงเกินไป ไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขด้วยการจัดฟัน ปรับแต่ง แก้ไขฟันให้เรียงสวย กรอฟันใหม่ให้เป็นระเบียบ
- ไม่ใช้ฟันเคี้ยวอาหารที่แข็งหรือเหนียวเกินไป รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้ฟันกรามกัดสิ่งของ เช่น ปากกา ดินสอ ของแข็ง หากอยากเอาอะไรเข้าปากเคี้ยวเล่นๆ ให้เปลี่ยนมาลองเคี้ยวหมากฝรั่งหรือลูกอมแทน
- ใช้อุปกรณ์เสริมช่วย คือ ยางกัดฟัน ใส่ฟันยางหรือที่ครอบฟันขณะนอนหลับ เพื่อไม่ให้ฟันล่างกับฟันบนถูกทำลายจากการถูกบดเคี้ยว ขบฟันโดยตรง และช่วยลดอาการปวดฟัน เกร็ง ตึงบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร
- ใส่เผือกสบฟัน มี 2 ชนิด คือ ชนิดนุ่มและแข็ง ถ้าใช้แบบนุ่มอาจทำให้ฉีกขาดได้ ส่วนแบบแข็งใช้ไปสักระยะอาจเกิดรอบสึกดังนั้นควรไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อปรับแต่ง
- รับประทานยาหรือฉีดยาเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดการทำงานกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกรลดลง อาการนอนกัดฟันก็จะลดลงไปด้วย
- ฉีดโบท็อก เข้าบริเวณกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคี้ยวอาหาร เพื่อช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังสามารถเคี้ยวอาหารได้ใกล้เคียง
- Bio Feedback เป็นเครื่องมือที่ส่งสัญญาณในรูปแบบเสียงหรือกระแสไฟฟ้าที่ไม่เป็นอันตราย เพื่อช็อตให้สะดุ้งตื่นเพราะเมื่อรู้สึกตัวจะหยุดนอนกัดกรามทันที
- พยายามไม่เครียด ทำจิตใจให้เบิกบาน แจ่มใส ไม่เครียด หากิจกรรมที่ชอบเพื่อช่วยคลายเครียด หรือทำสมาธิเพราะเป็นวิธีช่วยให้เราสามารถกำจัดความเครียดได้ดีที่สุด
- งดสูบบุหรี่ รวมถึงดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ช็อคโกแลต เพราะคาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นที่ทำให้จิตใจและกล้ามเนื้อขากรรไกรผ่อนคลายได้ยาก และยังทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิทอีกด้วย
ที่สำคัญหมั่นสังเกตว่าเวลานอนกัดฟัน เกิดจากอะไร เพื่อจะได้แก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ตรงจุด ถามคนที่นอนข้างๆว่าในขณะที่ตนเองหลับได้มีอาการนอนกัดฟันหรือเปล่า หากมีควรรีบแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเร็ว
สำหรับผู้ที่จัดฟันอยู่แล้ว ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่อุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันเครื่องจัดฟันนั้นด้วย
ความแตกต่างเมื่อใส่ฟันยาง
ความแตกต่างนอนกัดฟันช่วงเวลานอนหลับ
“ระหว่างไม่ใส่ตัวช่วยกับใส่ฟันยาง เป็นอย่างไร?”
จะเห็นได้ว่า หากไม่ใส่ตัวช่วยอะไรเลย ในขณะที่นอนกัดฟันทั้งฟันล่างและฟันบนจะถูกเสียดสีกันโดยตรง แต่เมื่อใส่ฟันยางเข้าไป ฟันจะเสียดสีกับฟันยาง โดยที่ไม่กระทบกับฟันของเรา
ดังนั้นการใส่ฟันยางขณะนอนหลับก็เป็นอีกทางออกหนึ่งและยังไม่เป็นอันตรายด้วย หากเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองไม่ได้
รักษาที่ไหนดี
หากมีอาการนอนกัดฟันมาเป็นเวลานานให้ลองปรึกษาทันตแพทย์ที่คลินิกหรือในโรงพยาบาลได้ทุกที่เลยนะครับ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยว่า มีสาเหตุเกิดจากอะไร ต้องแก้ยังไง เพื่อจะได้ช่วยรักษาทันทีก่อนที่ฟันจะสึกกร่อนไปมากกว่าเดิม
สรุปวิธีทำอย่างไรไม่นอนกัดฟัน
ให้เริ่มจากสังเกตตนเองพร้อมกับหาสาเหตุว่าอะไรเป็นต้นเหตุ โดยเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะนอนกัดฟันจะมาชั่วคราวแล้วหายไป แต่หากยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม ยังใช้ชีวิตเหมือนเดิมนานๆ ก็จะกลับมาเป็นอีก และจะส่งผลเสียต่อฟันและมีโอกาสทำให้ขากรรไกรเสื่อมได้
หรือในขณะนอนหลับให้ใช้อุปกรณ์เสริมช่วย เช่น ฟันยางเพื่อไม่ให้ฟันกระแทกกันโดยตรง และที่สำคัญไม่เป็นการรบกวนกับคนที่นอนข้างๆด้วย