เมื่อผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็น วีลแชร์แล้วรู้สึกปวดเมื่อยร่างกาย รถเข็นไฟฟ้าปรับเอนนอนจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องทำกิจวัตรอยู่บนรถเข็นเป็นเวลานาน และต้องการวีลแชร์ปรับนอนได้เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยนท่าทาง ผ่อนคลายได้ ซึ่งหากอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานนอกจากปวดเมื่อยตัวแล้ว ยังมีโอกาสให้เกิดแผลกดทับได้ด้วย
รถเข็นไฟฟ้าปรับเอนนอนจำเป็นต่อใครบ้าง
รถเข็นไฟฟ้าปรับเอนนอนเหมาะกับผู้ใช้งานที่จำเป็นต้องนั่งอยู่บนรถเข็นวีลแชร์ประจำเป็นเวลานาน ไม่สามารถเดินได้ เป็นอัมพาตครึ่งซีกช่วงล่างและต้องการเคลื่อนที่ทำกิจกรรมด้วยตัวเอง หรือมีอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ปัญหาเกี่ยวกับหลัง ที่ไม่สามารถนั่งหลังตรงได้ ก็จะเลือกใช้เป็นวีลแชร์ปรับนอนได้มากกว่ารถเข็นทั่วไป
ประโยชน์วีลแชร์ไฟฟ้าปรับนอนได้
- สามารถเคลื่อนที่และช่วยเหลือตัวเองได้อย่างอิสระ
- ปรับเปลี่ยนท่าทาง ท่านั่งได้ตามต้องการ
- ไม่ต้องนั่งหลังตรงอยู่ตลอดเวลา
- ลดอาการปวดเมื่อย
- ช่วยลดการเกิดแผลกดทับ หากนั่งท่าเดิมนานๆ
- เบาะรองนั่งและพนักพิงหนาพิเศษ นุ่ม นั่งสบาย
- เพิ่มโอกาสทางสังคม สามารถนำไปใช้งานนอกสถานที่ได้ เช่น โรงเรียน ที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะหรือไปนั่งพูดคุยกับเพื่อนบ้านได้
“วีลแชร์ไฟฟ้าปรับนอนได้” ต่างจาก “รถเข็นไฟฟ้า” อย่างไร
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “รถเข็นไฟฟ้า” กันมาบ้าง รถเข็นไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเดิน สามารถบังคับรถเข็นเพื่อทำกิจวัตรได้สะดวก ส่วนรถเข็นไฟฟ้าปรับเอนนอนจะมีฟังก์ชั่นการใช้งานเพิ่มขึ้นจากรถเข็นไฟฟ้าทั่วไปก็คือ สามารปรับเอนนอนได้ ที่จะช่วยเปลี่ยนท่านั่งของผู้ใช้งานจากท่านั่งปกติ ปรับเปลี่ยนท่านอน นอนราบ หรือปรับเอนนอนได้ตามที่ต้องการ ผู้ใช้งานจะได้รู้สึกไม่เมื่อยหรือปวดหลังเมื่อนั่งเป็นเวลานาน
นอกจากฟังก์ชั่นปรับนอนที่เพิ่มขึ้นมาแล้ว ตัวเบาะรองนั่งของรถเข็นไฟฟ้าปรับเอนนอนยังออกแบบมาให้มีความหนาเพิ่มขึ้นพิเศษให้ผู้ใช้งานนั่งสบาย วัสดุของเบาะรองนั่งเป็นฟองน้ำหุ้มด้วยผ้าตาข่าย ช่วยระบายอากาศ ป้องกันแผลกดทับเมื่อนั่งเป็นเวลานาน อีกทั้งตัวเบาะรองนั่งยังถอดซักทำความสะอาดได้อีกด้วย
ปรับนอนมีแบบไหนบ้าง
การใช้งานของรถเข็นไฟฟ้าปรับเอนนอนเหมือนกับรถเข็นไฟฟ้า แต่มีเพิ่มขึ้นมาให้สามารถปรับเอนนอนได้ โดยการปรับเอนนอนจะมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือปรับเอนนอนแมนนวล และปรับเอนนอนไฟฟ้า
- การปรับเอนนอนแมนนวล จะใช้วิธีการปรับนอนด้วยมือต้องมีผู้ดูแลช่วยปรับเอนพนักพิงหลังให้
- การปรับเอนนอนไฟฟ้า จะมีรีโมทไฟฟ้าไว้สำหรับปรับเอนนอนหรือปรับเหยียดขา โดยที่ผู้ใช้งานสามารถกดปุ่มบังคับรีโมทไฟฟ้าให้เอนนอนได้ด้วยตัวเอง
หากที่บ้านมีผู้ดูแลหรือครอบครัวอยู่ด้วยก็สามารถเลือกรถเข็นปรับเอนนอนได้แบบแมนนวลได้ ราคาจะถูกกว่า แต่หากผู้ใช้งานต้องการเอนนอนด้วยตัวเองหรือไม่มีผู้ดูแลอยู่ด้วย ก็เลือกเป็นรถเข็นไฟฟ้าปรับนอนแบบไฟฟ้าได้
วิธีการใช้งาน
หลายคนอาจคิดว่ารถเข็นไฟฟ้าปรับเอนนอนมีขั้นตอนใช้งานยุ่งยาก โดยเบื้องต้นผู้ใช้งานควรอ่านคำแนะนำและคู่มือ แล้วเริ่มฝึกบังคับทิศทางด้วยคันโยกจอยสติ๊กในพื้นที่โล่ง ทิศทางเคลื่อนที่ของรถเข็นปรับเอนนอนได้จะอยู่กับการดันคันโยกไปตามที่ต้องการ เริ่มจากฝึกเดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย-ขวาในพื้นที่โล่งและมีผู้ดูแลอยู่ด้วย
วิธีการปรับเอนนอน
- รุ่นที่ปรับเอนนอนด้วยมือ (รุ่น CM-102PlusB, CM-102PlusM) บริเวณมือจับผู้ช่วยเข็นจะมีเบรกสำหรับปรับเอนนอน ให้ผู้ดูแลกำเบรกแล้วเลื่อนปรับพนักพิงหลังได้สูงสุด 180 องศา(นอนราบ) ส่วนที่วางเท้ายกขึ้นปรับได้ 5 ระดับสูงสุด 90 องศา(เหยียดขาได้ตรง)
- รุ่นที่ปรับเอนนอนด้วยไฟฟ้า (รุ่น CM-102Plus) จะติดตั้งรีโมทไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาไว้สำหรับปรับเอนนอน โดยที่ผู้ใช้งานสามารถกดรีโมทเพื่อเอนนอนได้ด้วยตัวเอง บนรีโมทจะมีปุ่มกดทั้งหมด 6 ปุ่ม ปุ่มปรับพนักพิงหลังขึ้น-ลง (สูงสุด 150 องศา ซึ่งอยู่ในองศาที่พอเหมาะ) ปุ่มปรับเหยียดขาข้างซ้ายขึ้น-ลง, ปุ่มปรับเหยียดขาข้างขวาขึ้น-ลง (สูงสุด 90 องศา ปรับเหยียดขาตรง)
พับเก็บได้หรือไม่
สามารถพับเก็บได้เหมือนรถเข็นวีลแชร์แมนนวลทั่วไป แต่รถเข็นไฟฟ้าปรับเอนนอนจะมีขั้นตอนที่เยอะกว่า โดยเริ่มจากถอดแบตเตอรี่ ที่วางศีรษะ ที่วางเท้าออกก่อน แล้วจึงค่อยพับเก็บได้
สรุปรถเข็นไฟฟ้าปรับเอนนอนดีอย่างไร
อีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้ใช้งานที่จำเป็นต้องอยู่บนรถเข็นวีลแชร์ทั้งวันเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต แต่ก็มีอาการปวดเมื่อย ปวดหลังเพราะต้องนั่งหลังตรงตลอดเวลา รถเข็นไฟฟ้าปรับเอนนอนได้จึงตอบโจทย์ให้ผู้ใช้งานได้ผ่อนคลาย เปลี่ยนท่าทางได้ อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับ วีลแชร์ปรับนอนได้เหมาะกับการใช้งานภายในบ้านมากกว่า เพราะตัวรถมีน้ำหนักเยอะและมีอุปกรณ์เยอะกว่า หากต้องการใช้งานนอกบ้านเป็นประจำควรเลือกรถเข็นไฟฟ้าน้ำหนักเบาจะตอบโจทย์มากที่สุด