ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงใช้รถเข็นไฟฟ้า

ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงใช้รถเข็นไฟฟ้าได้หรือไม่

เมื่อนึกถึงผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาพแรกที่นึกถึงคือ เป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องมีผู้ดูแลคอยช่วยอยู่ตลอดเวลา แต่ผู้ป่วยเหล่านั้น ก็มีความรู้สึกที่ว่า “อยากทำสิ่งต่างๆ อยากไปไหนได้เอง ไม่ต้องเป็นภาระใคร” ถ้าได้มีสิ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำสิ่งต่างๆได้ง่ายขึ้นอย่างเช่น รถเข็นไฟฟ้า ก็จะทำให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสและได้ลองทำในสิ่งที่อยากทำได้ด้วย  

สารบัญเนื้อหา

ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงใช้รถเข็นไฟฟ้าได้หรือไม่

ความปลอดภัยรถเข็นไฟฟ้ากับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง

สรุปผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงใช้งานรถเข็นไฟฟ้าได้จริงหรือไม่

ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ใช้รถเข็นไฟฟ้าได้หรือไม่

                สำหรับรถเข็นไฟฟ้าเป็นสิ่งที่หลายท่านกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานและการใช้งานจะยุ่งยากหรือไม่ ไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้เลยครับ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงอายุ หรือผู้พิการก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน และคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งานมาเป็นอันดับแรกอยู่เสมอ แล้วความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมีอะไรบ้างไปดูกันเลยครับ

ความปลอดภัยรถเข็นไฟฟ้ากับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การบังคับทิศทาง

                รถเข็นไฟฟ้าจะใช้มอเตอร์เป็นตัวขับเคลื่อนและมีแบตเตอรี่เป็นตัวจ่ายพลังงาน ส่วนการบังคับทิศทางนั้นจะขึ้นอยู่กับคันบังคับ หรือ จอยสติ๊กที่ออกแบบมาให้ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถใช้งานได้ เพียงแค่กดปุ่มเปิดทำงาน และดันคันโยกบังคับไปซ้าย ขวา หน้า หลังได้ง่าย เพียงผู้ใช้งานดันคันโยกเบาๆ รถก็เคลื่อนที่ได้

กลับสู่สารบัญ

จอยสติ๊ก

แขนอ่อนแรง หรือใช้งานได้ข้างเดียว

                 แต่หากผู้ใช้งานบางท่านที่ใช้งานได้ข้างซ้ายหรือขวาได้ข้างเดียว ก็สามารถเลือกเปลี่ยนข้างติดตั้งจอยสติ๊กไว้ข้างซ้ายหรือขวาได้เพื่อให้ใช้งานได้ถนัด และนอกจากนั้นยังมีปุ่มแตรอยู่ในจอยสติ๊ก ซึ่งไว้สำหรับส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ หรือขอทาง ส่วนความเร็วผู้ใช้งานสามารถเลือกปรับได้ จะมีให้ทั้งหมด 5 ระดับ โดยมีความเร็วต่ำสุดอยู่ที่ 1.5 กม./ชม.(ความเร็วเท่ากับคนเดิน) และความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 6 กม./ชม.(ความเร็วเท่ากับคนวิ่งเหยาะๆ

กลับสู่สารบัญ

สามารถเลือกข้างติดตั้งคันบังคับไว้ซ้ายหรือขวาได้ตามถนัด

เลือกข้างติดตั้งซ้ายขวา

ทรงตัวไม่ค่อยได้ ขาอ่อนแรง

                ความปลอดภัยอีกสิ่งที่สำคัญที่แม้กระทั่งรถยนต์ยังมีก็คือ “เข็มขัดนิรภัย” หากซื้อรถเข็นไฟฟ้าต้องดูสิ่งนี่ด้วยว่ามีหรือไม่ เพราะผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงส่วนใหญ่จะทรงตัวไม่ค่อยได้ เมื่อใช้งานทุกครั้งต้องรัดเข็มขัดนิรภัยให้เรียบร้อย และยังมีสายรองน่องหรือสายรองส้นเท้า เพื่อป้องกันให้ขาหล่นจากตัวรถในขณะขับเคลื่อน เพราะผู้ป่วยบางท่านมีอาการขาอ่อนแรงชั่วคราวร่วมด้วยก็ยังสามารถใช้งานได้เช่นกัน

กลับสู่สารบัญ

อุปกรณ์เสริมสำหรับการบังคับ

                หากผู้ใช้งานที่ไม่สามารถใช้งาน หรือบังคับรถเข็นไฟฟ้าไม่ได้เลย ยังมีอุปกรณ์เสริมที่มาช่วยให้ผู้ดูแลสามารถบังคับวีลแชร์แทนผู้ใช้งานได้ นั่นคือ Back Controller เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ที่ด้านหลังรถเข็น ฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆจะเหมือนกับจอยสติ๊ก มีปุ่มเปิด-ปิดการทำงาน ปุ่มเพิ่ม-ลดระดับความเร็ว และคันโยกบังคับทิศทาง หากต้องการส่งสัญญาณเตือนหรือปุ่มแตร เพียงแค่กดตัวบังคับคันโยกลงไป

                ส่วนวิธีการติดตั้งก็ง่าย เพียงแค่เพียงแต่เสียบขั้วของ Back Controller เข้ากับจอยสติ๊กหลักที่อยู่ด้านหน้าของรถเข็นไฟฟ้า แล้วกดเปิดการทำงานของจอยสติ๊กหลักก่อน หลังจากนั้นกดเปิดการทำงานที่ตัวของ Back Controller เพียงเท่านี้ผู้ดูแลก็สามารถขับเคลื่อนวีลแชร์แทนผู้ใช้งานได้แล้ว

กลับสู่สารบัญ

สรุปผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงใช้งานรถเข็นไฟฟ้าได้จริงหรือไม่

                นวัตกรรมรถเข็นไฟฟ้าออกแบบมาด้วยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดกับผู้ใช้งานทุกท่าน ทั้งผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้พิการ และมีการใช้งานที่ง่ายต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่มีข้อจำกัดต่างๆเช่น แขนอ่อนแรง ใช้แขนได้ข้างเดียว ก็ย้ายตัวบังคับไว้ซ้ายหรือขวาก็ได้ หรือมีอาการขาอ่อนแรง ก็ยังมีสายรองน่องหรือสายรองส้นเท้า ป้องกันไม่ให้เท้าหล่นลงจากตัวรถ ซึ่งถ้าได้ลองใช้รถเข็นไฟฟ้าจะทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันและได้ลองทำสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น

กลับสู่สารบัญ